พบผลลัพธ์ทั้งหมด 616 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและผลกระทบต่อฟ้องแย้ง: ศาลยังต้องพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีแรงงานนัดแรก ทนายจำเลยมาศาลส่วนโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัด-พิจารณา แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องแย้งและโจทก์เดิมจึงตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้งมาศาลแล้ว และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติว่า ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.โดยอนุโลม แม้การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวน-พิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไปจึงมีคู่ความครบถ้วนทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด รวมทั้งคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยออกเสียจากสารบบความเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ขาดนัด และผลกระทบต่อคดีฟ้องแย้ง: ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีแรงงานนัดแรก ทนายจำเลยมาศาลส่วนโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องแย้งและโจทก์ เดิมจึงตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้ง มาศาลแล้ว และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติว่า ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวัดนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่ง แสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาด ตัดสิน คดีนั้นไปฝ่ายเดียว ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การ ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโดยอนุโลม แม้การที่ ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิม ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไปจึงมีคู่ความครบถ้วน ทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด รวมทั้งคดี ตามฟ้องแย้งของจำเลยออกเสียจากสารบบความเพราะเหตุโจทก์ ขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและผลต่อการนำสืบพยาน
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คำเบิกความของจำเลยที่อ้างตนเองเป็นพยาน เป็นเพียงเสนอข้อเท็จจริงที่จะเป็นการหักล้างพยานโจทก์ มิได้ก่อให้เกิดประเด็นแห่งคดีในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาใหม่หลังขาดนัด - เหตุป่วยไข้และข้อโต้แย้งนอกเหนือจากชั้นอุทธรณ์
จำเลยร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยระบุในคำขอว่า ในวันนัดจำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ มีอาการปวดศีรษะมากจนไม่สามารถลุกเดินไปไหนได้สะดวก คำพิพากษาคลาดเคลื่อน เพราะโจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่เคยร่วมกันเป็นนายหน้าซื้อขายที่ดินตามฟ้องหากจำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีแล้วย่อมมีโอกาสชนะคดีอันจะทำให้ผลของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปดังนี้ พอถือได้ว่า คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้ง ซึ่งเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสองแล้ว ปัญหาว่าจำเลยป่วยจริงหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยป่วยจริง โจทก์ทั้งสองมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นโต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์ จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่หรือไม่นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งดังกล่าวแล้วมาพิจารณาหาได้ไม่ฎีกาของโจทก์ที่ว่า จำเลยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าหลังจากหายป่วยแล้วจำเลยได้พยายามแจ้งเหตุให้ศาลทราบนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้ว จึงเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายที่ไม่ชอบทำให้โจทก์ไม่ทราบวันนัด ไม่ถือเป็นการขาดนัดตามกฎหมาย และไม่ต้องยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน
โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดเพราะโจทก์ไม่ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์อันเนื่องจากการส่งหมายไม่ชอบ ย่อมไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะยกฟ้องได้ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 166 และมาตรา 181
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทขอพิจารณาคดีใหม่หลังจำเลยมรณะ: คดีขาดนัดพิจารณาไม่ตัดสิทธิ
ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เป็นการพิจารณา โดยการขาดนัด หากจำเลยไม่มรณะก็ย่อมมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 147 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตาม มาตรา 42 และ 43 นั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ ส่วนที่มาตรา 42 บัญญัติว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดีให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะจะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะนั้น เป็นกรณีที่ศาลให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดีหากคู่ความมรณะภายหลังศาลพิพากษาคดีแล้วก็ไม่มีกรณีที่จะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณา ในระหว่างนี้หากคดียังไม่ถึงที่สุดทายาทของผู้มรณะก็ยังคงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ มิใช่ว่าเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะสิ้นไปด้วย คดีนี้โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับจำเลย หากทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมดย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของจำเลย จึงเป็นกรณีสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทายาทของจำเลยร้องขอเข้ามาแทนที่จำเลยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำขอพิจารณาใหม่เกินกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้มีเหตุสุดวิสัยหลังการยึดทรัพย์
คำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยอ้างว่า จำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านในระหว่างถูกฟ้องเพราะเดินทางไปประเทศซาอุดีอาระเบีย แสดงว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาอยู่ตามที่ระบุในฟ้อง เจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนคำบังคับให้จำเลยตามภูมิลำเนาดังกล่าว จึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยจะต้องยื่นภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209ทั้งนี้ แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่เมื่อมีการยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้ว ก็ไม่อาจยื่นคำขอล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันยึดทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีอาญา: เหตุสมควร และความรับผิดชอบของโจทก์
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 และ 181 ได้กำหนดหน้าที่ของโจทก์ว่า ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดี โจทก์จะต้องมาศาลตามนัดมิฉะนั้นก็ให้ศาลยกฟ้องเสีย เว้นแต่จะมีเหตุสมควรศาลจึงจะให้เลื่อนคดีไป บทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะเร่งรัดการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วมิให้มีการประวิงคดี จึงกำหนดมาตรการดังกล่าวเพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไม่มาศาลเพราะทนายความจำเลยขอเลื่อนคดีไปโดยโจทก์ตกลงยินยอมกับทนายจำเลยไว้และโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีได้เป็นการคาดคะเนของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่ศาลจะอนุญาตให้มีการพิจารณาคดีใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินอย่างชัดเจน
ข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลในคำขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวแต่เพียงว่า ถ้าจำเลยทั้งสองทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีก็จะต้องแต่งตั้ง ทนายความเพื่อว่าต่างแก้ต่างคดีแทนเพราะหลักฐาน การแสดงภาระหนี้สินของจำเลยทั้งสองที่มีอยู่ กับโจทก์ยังมีข้อโต้เถียงในประเด็นสำคัญ เช่นการ คิดดอกเบี้ยและการปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองเคยขอตรวจสอบถึงภาระหนี้สิน แต่โจทก์ ไม่ยอมให้แผ่นบัญชีเงินกู้และชี้แจงการคำนวณดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองทราบ ข้อความดังกล่าวไม่ได้ คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ถูกต้องอย่างไรและไม่ได้แสดงเหตุผล ว่าหากมีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่ จำเลยทั้งสองจะ ชนะคดีได้อย่างไรคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การเนื่องจากระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย และการไม่อนุญาตขยายเวลาโดยไม่มีเหตุผล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสองกำหนดให้เวลาล่วงเลย 15 วัน จึงจะมีผล ปรากฏว่าทำการปิดหมายแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2531 การนับเวลาล่วงพ้น 15 วันจึงเริ่มนับแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2531 แล้วเริ่มนับกำหนด ยื่นคำให้การภายใน 8 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคแรก ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน2531 ครบกำหนดในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2531 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องยื่นคำให้การต่อศาลชั้นต้นภายใน กำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1ยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่น คำให้การในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 โดยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัย ที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่จะยื่น คำให้การได้ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ชอบที่ศาลชั้นต้น จะสั่งยกคำร้องได้.