คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: บทบัญญัติที่ใช้บังคับและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกา
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ หากศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้ หาใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา225 ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง หากศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ปรากฏว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2529 ซึ่งมี พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา41 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนี้ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนี้จึงได้แก่บทบัญญัติมาตรา 41 (1) ดังกล่าว อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่บทบัญญัติมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั้น ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามิได้เป็นคู่ความในคดี กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามคำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่งและขอบเขตการเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาประกันภัย
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องมีเพียง 194,114.18 บาทจึงไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เหตุพิพาทคดีนี้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 2 แม้ศาลจะฟังว่ารถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋งก็เป็นเหตุสุดวิสัย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ขับรถโดยประมาท มิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทมาตราดังกล่าวข้างต้น
ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 46, 157 รัฐเป็นผู้เสียหายจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว ในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า รถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใด ศาลจึงกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 การที่โจทก์ไปตกลงค่าเสียหายกับผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าเสียหายไปโดยไม่ปรากฏว่าค่าเสียหายจริงมีเพียงใด โจทก์จะเรียกร้องเอาเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวเต็มจำนวนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คัดค้านเจตนาทุจริตในคดีเบียดบังทรัพย์สิน: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต เป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์แล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ เป็นการเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต เท่ากับโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การทำแทนบุคคลอื่นต้องมีหลักฐานเช่นกัน การนำสืบจึงมีข้อจำกัด
การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญการตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญากู้แทนจึงต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา798วรรคสองจำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยลงชื่อในสัญญากู้แทน ล. เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่าสัญญากู้ฉบับลงวันที่ 14 ตุลาคม 2529 ระหว่างโจทก์กับจำเลยมีอยู่จริง การที่ศาล-อุทธรณ์มิได้หยิบยกเอาพยานเอกสารมาวินิจฉัยประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์และจำเลย กลับฟังแต่คำเบิกความของพยานบุคคลเท่านั้น ไม่ชอบด้วยเหตุผลและ ป.วิ.พ.ในเรื่องการรับฟังพยานก็ดี หรือเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าสัญญากู้มีอยู่จริง โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาล จึงต้องฟังว่าสัญญากู้มีอยู่จริงก็ดี หรือค่าเสียหายไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท ก็ดี ล้วนเป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามบทบญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การรุกล้ำที่ดิน, และความรับผิดของกรรมการบริษัท
คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อกำแพงของจำเลยที่ปิดกั้นที่ดินโจทก์และให้รื้อหลังคาที่คร่อมที่ดินโจทก์ออกไป เป็นคดีที่โจทก์ใช้สิทธิการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เรียกร้องให้ขจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไป ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังก่อความเดือดร้อนรำคาญอยู่โจทก์ย่อมฟ้องร้องขอให้บังคับได้ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งการแสดงออกย่อมกระทำโดยทางกรรมการ ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกให้บังคับตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยตัวแทน เมื่อหลังคาโรงงานของจำเลยที่ 1รุกล้ำเป็นละเมิดต่อที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจจึงต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง และการพิจารณาอำนาจฟ้องในคดีแพ่ง
จำเลยฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ไม่ว่าผลจะเป็นประการใด ก็เป็นแต่เพียงชี้ขาดว่าคำพิพากษาชอบด้วยกฎหมายแล้วหรือถ้าไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกานั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาได้ จำเลยเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1(2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.จึงถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ปัญหาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ก็เป็นฎีกาที่ชอบ จึงไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา ให้แก่โจทก์โดยกำหนดทุนทรัพย์ 3,000 บาทจำเลยที่ 1 คัดค้าน โจทก์กับจำเลยที่ 1 รับกันว่าที่ดินตามฟ้องราคา 150,000 บาทจึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเป็นเงิน 150,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงขอให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 เนื้อที่ครึ่งหนึ่งของที่โจทก์ฟ้องคือเนื้อที่2 ไร่ 55 ตารางวา อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองนำรถยนต์โดยสารเข้ามาจอดหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่าของโจทก์และขอให้ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ20,000บาทจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาเช่ามิใช่ละเมิดโดยเดิมจำเลยที่2เคยเช่าโดยค่าเช่าเดือนละ10,000บาทต่อมาโจทก์ขอขึ้นค่าเช่าเป็นเดือนละ20,000บาทจึงไม่เช่าต่อดังนั้นจุดประสงค์ของคดีคือพิพาทกันเรื่องค่าเช่าที่ค้างและเงินค่าเสียหายส่วนคำขอของโจทก์ที่ห้ามจำเลยทั้งสองมิให้กระทำการดังกล่าวเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากความประสงค์สำคัญที่ขอให้ศาลกำหนดเงินค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่โต้แย้งประเด็นสำคัญเดิม และข้อจำกัดในการอุทธรณ์เรื่องพยานหลักฐาน
โจทก์มิได้ฎีกาโต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญา ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ปัญหาตามฎีกาโจทก์ที่ว่าสัญญายังไม่เลิกกันจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีเพราะไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การประกอบคำแถลงของทนายโจทก์แล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงแห่งคดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานโจทก์จำเลยโจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ปัญหาเรื่องพยานหลักฐานในสำนวนครบถ้วนหรือไม่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1152/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอนุญาตถอนฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าศาลไม่ควรอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นเป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248
of 55