พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6497/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายเช่าซื้อ และเขตอำนาจศาล กรณีข้อตกลงทำสัญญาที่สำนักงานใหญ่
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่รถยนต์ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมราคานอกเหนือจากการที่จำเลยใช้รถยนต์นั้นโดยชอบ ป.พ.พ.บรรพ 3. ลักษณะ 5ว่าด้วยเช่าซื้อ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้โดยตรง แต่การที่จำเลยในฐานะผู้เช่าซื้อเป็นแต่เพียงเช่าทรัพย์นั้นไป โดยมีคำมั่นของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อว่าจะขายทรัพย์นั้นให้เท่านั้น จึงต้องนำมาตรา 562 ในลักษณะเช่าทรัพย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนได้วันที่ 23 มีนาคม 2537กรณีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 7 กันยายน 2537ยังไม่เกินกำหนด 6 เดือน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาต่อโจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องโจทก์กล่าวว่าโจทก์ได้ทวงถามค่าเช่าซื้อจากจำเลยผู้เช่าซื้อแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานจำเลยใช้รถยนต์อันเป็นทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลย ยังคงครอบครองรถยนต์ของโจทก์อยู่ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
เขตอำนาจศาลว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง ย่อมเป็นไปตามสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและต้องปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตศาล ตามมาตรา 2 ด้วย
ขณะโจทก์จำเลยทำข้อตกลงกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร ว่าตกลงให้ฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง ขณะนั้นป.วิ.พ.ที่แก้ไขแล้ว มาตรา 4 (1) ซึ่งใช้บังคับอยู่ได้บัญญัติให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลได้ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ และมาตรา 5 บัญญัติว่า คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดีเพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดีหรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดีถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้เช่นนี้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลขึ้นไปคือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลและศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ทั้ง ป.วิ.พ.ที่แก้ไขแล้วก็ได้ยกเลิกบทบัญญัติตาม มาตรา 7 (4) เดิม ว่าด้วยข้อตกลงที่คู่สัญญาตกลงที่คู่สัญญาตกลงกันล่วงหน้าให้ฟ้องคดีที่ศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ เมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีขึ้นและอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ฉะนั้น การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาข้างต้นจึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาต่อโจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องโจทก์กล่าวว่าโจทก์ได้ทวงถามค่าเช่าซื้อจากจำเลยผู้เช่าซื้อแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานจำเลยใช้รถยนต์อันเป็นทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลย ยังคงครอบครองรถยนต์ของโจทก์อยู่ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
เขตอำนาจศาลว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง ย่อมเป็นไปตามสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและต้องปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตศาล ตามมาตรา 2 ด้วย
ขณะโจทก์จำเลยทำข้อตกลงกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร ว่าตกลงให้ฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง ขณะนั้นป.วิ.พ.ที่แก้ไขแล้ว มาตรา 4 (1) ซึ่งใช้บังคับอยู่ได้บัญญัติให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลได้ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ และมาตรา 5 บัญญัติว่า คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดีเพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดีหรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดีถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้เช่นนี้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลขึ้นไปคือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลและศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ทั้ง ป.วิ.พ.ที่แก้ไขแล้วก็ได้ยกเลิกบทบัญญัติตาม มาตรา 7 (4) เดิม ว่าด้วยข้อตกลงที่คู่สัญญาตกลงที่คู่สัญญาตกลงกันล่วงหน้าให้ฟ้องคดีที่ศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ เมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีขึ้นและอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ฉะนั้น การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาข้างต้นจึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: เขตอำนาจศาลอยู่ที่สถานที่ทำข้อตกลง
จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1520 และมาตรา 1566 (6)เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินและการบังคับชำระหนี้: การผิดนัดและดอกเบี้ย
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน แต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่า ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมด ยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 192
ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5758/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเป็นนายหน้าซื้อที่ดิน: สิทธิรับค่าบำเหน็จ แม้รายละเอียดไม่ชัดเจนหรือมีข้อโต้แย้ง
คำฟ้องของโจทก์ แม้มิได้บรรยายรายละเอียดให้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ดำเนินการอย่างไรในฐานะส่วนตัวและแสดงออกอย่างไรในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ให้ซื้อที่ดินแปลงใด เนื้อที่เท่าใด ที่ดินตั้งอยู่บริเวณไหนโจทก์อ้างว่าที่ดินมี 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีข้อตกลงแตกต่างกันอย่างไร ใครเป็นผู้ตกลงในเงื่อนไขอย่างไร เหตุใดจึงเรียกค่านายหน้าจำนวน 182 ไร่ เป็นเงิน1,456,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะตัวแทนจำเลยที่ 2 ร่วมกันตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อซื้อที่ดินบริเวณติดและใกล้กับแม่น้ำป่าสัก ตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ตกลงจะให้ค่าบำเหน็จตอบแทนไร่ละ 8,000 บาทโจทก์จึงรับเป็นนายหน้าและจัดการให้จำเลยทั้งสองซื้อและรับโอนที่ดินจากผู้มีชื่อจำนวน 182 ไร่เศษ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่บรรยายรายละเอียดดังกล่าวมาในฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากับโจทก์มีใจความว่า จำเลยที่ 1ให้โจทก์เป็นผู้จัดหาที่ดินมาให้จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับเจ้าของที่ดินในราคาไร่ละไม่เกิน 250,000 บาท และให้โจทก์จัดหาทางเข้าออกเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เมตร เป็น 10 เมตร ทั้งนี้ต้องจัดการให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือนแล้วจำเลยที่ 1 จะให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราไร่ละ 8,000 บาท ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับเจ้าของที่ดินผู้ขายเกิดจากการชี้ช่องของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าเมื่อจำเลยที่ 1 ตกลงจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ และโจทก์ได้ดำเนินเป็นผลสำเร็จให้จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินผู้ขายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะดำเนินการล่าช้าไปบ้างและที่ดินบางแปลงจะมีราคาเกินกว่า250,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ก็ยินยอมเข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินผู้ขาย โดยไม่ทักท้วงหรือถือเป็นข้อสาระสำคัญ ทั้งเหตุที่ล่าช้าบางส่วนก็เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 เองที่เข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินล่าช้า จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องเรียกเอาบำเหน็จนายหน้าไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากับโจทก์มีใจความว่า จำเลยที่ 1ให้โจทก์เป็นผู้จัดหาที่ดินมาให้จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับเจ้าของที่ดินในราคาไร่ละไม่เกิน 250,000 บาท และให้โจทก์จัดหาทางเข้าออกเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เมตร เป็น 10 เมตร ทั้งนี้ต้องจัดการให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือนแล้วจำเลยที่ 1 จะให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราไร่ละ 8,000 บาท ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับเจ้าของที่ดินผู้ขายเกิดจากการชี้ช่องของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าเมื่อจำเลยที่ 1 ตกลงจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ และโจทก์ได้ดำเนินเป็นผลสำเร็จให้จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินผู้ขายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะดำเนินการล่าช้าไปบ้างและที่ดินบางแปลงจะมีราคาเกินกว่า250,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ก็ยินยอมเข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินผู้ขาย โดยไม่ทักท้วงหรือถือเป็นข้อสาระสำคัญ ทั้งเหตุที่ล่าช้าบางส่วนก็เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 เองที่เข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินล่าช้า จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องเรียกเอาบำเหน็จนายหน้าไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ, ข้อตกลงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย, การลดเบี้ยปรับ, ค่าทนายความ
ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่โจทก์กับพวกฟ้องจำเลยรวม 11 คดี ภายในกำหนด 3 วันนับแต่วันทำสัญญา และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้คืนแก่จำเลยภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และจำเลยตกลงจะชำระเงินแก่โจทก์จำนวน18,000,000 บาท ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 ปรากฏว่าสำนวนคดีที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 จำนวน 6 คดี และเป็นคดีฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในทางแพ่งจำนวน 5 คดี ทั้ง 11 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน ฉะนั้นข้อตกลงในส่วนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 แม้ข้อตกลงในส่วนที่ให้จำเลยถอนฟ้องและไม่ดำเนินคดีในข้อหาฟ้องเท็จตามคดีอาญาที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสาร จ.1 ข้อ 1 (ฏ) เป็นคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตาม ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่จำเลยจะต้องชำระเงินเพื่อตอบแทนแก่โจทก์ในการที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีทั้ง11 สำนวน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษาคดีก่อน ไม่เป็นข้อหาเดิม
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยให้การว่า หลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือ แต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่า ตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้น จำเลยไม่สามารถรื้อได้ ขอให้ศาลยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ได้หรือไม่ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้บังคับตามข้อตกลงได้
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลังแห่งข้อหาว่า โจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยให้การว่า หลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือ แต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่า ตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้น จำเลยไม่สามารถรื้อได้ขอให้ศาลยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ได้หรือไม่ ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษาเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยให้บังคับตามข้อตกลงได้ แม้คดีก่อนฟ้องแบ่งแยกที่ดิน
ในคดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลังแห่งข้อหาว่าโจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกันส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข3ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยให้การว่าหลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้วส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือแต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่าตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้นจำเลยไม่สามารถรื้อได้ขอให้ศาลยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข3ได้หรือไม่ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่งฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงภาระจำยอมไม่สมบูรณ์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินเกินขอบเขต
พ.และจำเลยที่ 2 ร่วมกันก่อสร้างตึกแถวขายโดยมีข้อตกลงว่าผู้ซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวมีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะและใช้เป็นที่จอดรถโดยจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมในภายหลัง ข้อตกลงดังกล่าวย่อมเป็นบุคคลสิทธิซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ตามที่ตกลงกันไว้แต่ข้อตกลงเช่นว่านั้นเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้ไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพย์สิทธิที่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคหนึ่ง และเมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเฉพาะเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะและใช้เป็นที่จอดรถเท่านั้น ดังนี้ การก่อสร้างหลังคาคลุมที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่จอดรถและประกอบกิจการอุตสาหกรรม ย่อมเป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะกระทำเช่นว่านั้นได้ แม้จำเลยที่ 2 เจ้าของที่ดินเดิมอนุญาตให้ พ.สร้างหลังคาคลุมที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่จอดรถได้ แต่การอนุญาตดังกล่าวก็หาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 2 มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไป ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ถอนการอนุญาตดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยอมแพ้ตามคำท้า: ศาลต้องวินิจฉัยตามคำท้าเท่านั้น
คำท้ามีว่าหาก ส.เบิกความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยยอมแพ้ หาก ส.เบิกความว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ยอมแพ้ แต่คำเบิกความของ ส.มิได้เบิกความว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงรับฟังไม่ได้ว่า ส.เบิกความตรงตามคำท้าแล้ว ศาลย่อมไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามคำท้าของโจทก์จำเลยดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยถือเอาข้อเท็จจริงอื่นซึ่งไม่ได้อยู่ในข้อท้าของคู่ความมาวินิจฉัยนั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน