พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์จากผู้โอนสิทธิเช่า แม้มีข้อพิพาทเรื่องค่าเช่า
จำเลยโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทให้ก.และได้ส่งมอบตึกพิพาทให้ ก. แล้ว ก. ว่าจ้างโจทก์ซ่อมแซมตึกพิพาทและอนุญาตให้โจทก์กับครอบครัวเข้าอยู่อาศัยในตึกดังกล่าว แม้ต่อมา ก. ไม่ชำระค่าโอนสิทธิการเช่าส่วนที่ค้าง ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวกับ ก. ในทางแพ่ง การที่จำเลยใช้กุญแจใส่ประตูตึกพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถเข้าไปใช้ตึกพิพาทได้อีก จึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3) แต่ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโจทก์ หรือกระทำด้วยประการใดให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 310 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประเด็นข้อพิพาท และการสืบพยานเพื่อวินิจฉัยประเด็นเดียวที่เหลือ
คดีมีประเด็นข้อพิพาทหลายข้อ ต่อมาระหว่างพิจารณาคู่ความขอสละประเด็นข้ออื่น คงเหลือประเด็นข้อเดียวว่า โจทก์รังวัดเข้ามาในที่ดินของจำเลยหรือไม่ ดังนี้ ย่อมแสดงว่าจำเลยสละข้อต่อสู้อื่น ๆ ทั้งหมด คงให้ศาลสืบพยานและวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวข้อเดียวเป็นข้อแพ้ชนะ ฉะนั้นหากฟังได้ว่าโจทก์รังวัดเข้าไปในที่ดินของจำเลย ศาลต้องพิพากษายกฟ้องแต่ถ้าฟังได้ว่าไม่ได้รังวัดเข้าไปในที่ดินของจำเลย ก็ต้องพิพากษาบังคับให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จะอ้างว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจบังคับตามกฎหมายให้โจทก์ได้หาได้ไม่ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นดังกล่าวต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประเด็นข้อพิพาทและการกำหนดประเด็นแพ้ชนะ ศาลต้องสืบพยานเฉพาะประเด็นที่เหลือ
คดีมีประเด็นข้อพิพาทหลายข้อ ต่อมาระหว่างพิจารณาคู่ความขอสละประเด็นข้ออื่น คงเหลือประเด็นข้อเดียวว่า โจทก์รังวัดเข้ามาในที่ดินของจำเลยหรือไม่ ดังนี้ ย่อมแสดงว่าจำเลยสละข้อต่อสู้อื่น ๆ ทั้งหมด คงให้ศาลสืบพยานและวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวข้อเดียวเป็นข้อแพ้ชนะ ฉะนั้นหากฟังได้ว่าโจทก์รังวัดเข้าไปในที่ดินของจำเลย ศาลต้องพิพากษายกฟ้องแต่ถ้าฟังได้ว่าไม่ได้รังวัดเข้าไปในที่ดินของจำเลย ก็ต้องพิพากษาบังคับให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จะอ้างว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจบังคับตามกฎหมายให้โจทก์ได้หาได้ไม่ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นดังกล่าวต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานเมื่อข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์บ้านไม่ได้เป็นคดีแรงงาน
โจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องขับไล่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างออกจากห้องพักคนงาน ซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยอันเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาทในชั้นบังคับคดีผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทโดยเป็นผู้ก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างในที่ดินริมคูสาธารณะจึงมีสิทธิในบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ เมื่อผู้ร้องกับโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างกัน กรณีของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานอันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสิทธิที่ดิน: คำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง
ในคดีอาญาที่โจทก์ร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทและเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทยังโต้เถียงสิทธิกันอยู่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นของใคร แม้จำเลยจะเข้าไปไถที่ดินพิพาท ก็ขาดเจตนาบุกรุกจำเลยไม่มีความผิดฐานบุกรุก ดังนี้ ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของใครข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่มีผลผูกพันถึงคดีแพ่งซึ่งพิพาทกันภายหลังเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องร้องค่าชดเชยก่อนเกิดข้อพิพาท: กรณีเกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 11 บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเช่น พนักงานยาสูบที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ 2530 พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ อันหมายถึงสิ้นเดือนกันยายน 2530 ซึ่งจำเลยจะต้องดำเนินการให้พนักงานยาสูบผู้นั้นออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2530 เป็นต้นไป และทำให้พนักงานยาสูบดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนับแต่วันเลิกจ้าง หากจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ก็ต้องถือว่าพนักงานยาสูบผู้นั้นถูกโต้แย้งสิทธินับแต่วันดังกล่าว แต่ขณะที่สหภาพแรงงานโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่มีพนักงานยาสูบซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์คนใดถูกโต้แย้งสิทธิในกรณีเช่นว่านี้ ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าตามคำขอของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้เป็นชาวต่างชาติ แต่ลูกจ้างในไทยมีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน หากมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น
แม้การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 6 จ้างแรงงานก็ตาม แต่ลักษณะและพฤติการณ์แห่งการจ้างดังกล่าวนั้นก็หาพ้นความหมายของคำว่า 'นายจ้างลูกจ้างลูกจ้างประจำ' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่ แม้โจทก์เป็นชาวต่างประเทศแต่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยที่ 1 ในประเทศไทย สถานประกอบการอยู่ในประเทศไทย มีข้อพิพาทแรงงานกันในประเทศไทยจึงชอบที่จะฟ้องร้องและบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายไทยทุกฉบับที่เกี่ยวข้องเมื่อประเทศไทยประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นการเฉพาะอยู่แล้วการจะหวนกลับไปใช้ ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายทั่วไปแต่ฉบับเดียวหาชอบไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: ข้อพิพาทเงินบำเหน็จจากข้อตกลงสภาพการจ้าง ไม่ใช่จากสัญญาเช่า
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันเป็นข้อผูกพันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่า และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาทำงานและวันหยุดงานค่าจ้างเงินชดเชยเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพและบำเหน็จพนักงานและคนงานโรงงานสุราพ.ศ.2501 ก็มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าดังกล่าว หากแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าวมิได้มีมูลฐานมาจากสัญญาเช่า แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรักษาเงินจากการขายทรัพย์ของจำเลย: ห้ามหักชำระหนี้ที่มีข้อพิพาท
ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทรัพย์ของจำเลยไว้เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินของจำเลยที่ผู้ร้องเก็บรักษาไว้แทนศาล ผู้ร้องจะนำไปหักชำระหนี้ของผู้ร้องไม่ได้เพราะเงินจำนวนนี้มิใช่หนี้ที่ถือว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ผู้ร้อง ทั้งหนี้ดังกล่าวก็อยู่ในระหว่างดำเนินคดี เป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้อยู่ จึงไม่เป็นกรณีที่จะหักกลบลบหนี้ได้เมื่อเงินจำนวนนี้ยังเป็นของจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน & การร้องสอดคดี: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเจ้าของที่ดินเดิม & ยกคำร้องสอดที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท
โจทก์จำเลยต่างอ้าง อ.เป็นพยานร่วมกันในฐานะคนกลางแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องไม่ติดใจสืบพยานปากนี้ก็ตาม แต่เป็นเวลาภายหลังที่พยานเบิกความแล้ว จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงน้ำหนักคำพยานดังกล่าวในฐานะพยานร่วมให้เสียไปแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำเจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ และในการทำแผนที่พิพาท โจทก์ได้นำชี้ที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทว่าเป็นของโจทก์ด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลย เจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าในฐานะเป็นจำเลยร่วมหรือคู่ความฝ่ายที่สาม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำเจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ และในการทำแผนที่พิพาท โจทก์ได้นำชี้ที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทว่าเป็นของโจทก์ด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลย เจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าในฐานะเป็นจำเลยร่วมหรือคู่ความฝ่ายที่สาม