พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: การคุ้มครองกรณีผู้ขับมีใบอนุญาต แต่เกิดประมาท และข้อยกเว้นการไม่คุ้มครองผู้ขับที่ไม่มีใบอนุญาต
จำเลยยื่นคำขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จเพื่อแสดงว่าเอกสารท้ายฟ้องที่แสดงรายละเอียดของรายการซ่อมรถยนต์ของโจทก์ ตลอดถึงราคาว่าซ่อมอะไรราคาเท่าไรนั้นเป็นเอกสารปลอม เมื่อจำเลยได้นำสืบบุคคลอื่นเป็นพยานแล้วว่าราคาตามรายการต่างๆ สูงเกินไป และค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์ของโจทก์นี้แม้จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดให้ตามสมควรอยู่แล้วการที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือปลอม จึงไม่เป็นการอ้างพยานหลักฐานเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและไม่จำเป็นต้องสืบพยานที่ขออ้างเพิ่มเติมนั้น ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายการมีเงื่อนไขดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอันจะทำให้จำเลยที่ 1 จะต้องเสี่ยงภัยมากขึ้นม.ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ ม. จึงเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมาย ม. ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 1 รับประกันไว้จากจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสอง
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายการมีเงื่อนไขดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอันจะทำให้จำเลยที่ 1 จะต้องเสี่ยงภัยมากขึ้นม.ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ ม. จึงเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมาย ม. ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 1 รับประกันไว้จากจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยรถยนต์: การคุ้มครองเมื่อผู้ขับขี่มีใบอนุญาต แต่เกิดประมาท และข้อยกเว้นเรื่องผู้ขับขี่ที่ไม่มีคุณสมบัติ
จำเลยยื่นคำขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จเพื่อแสดงว่าเอกสารท้ายฟ้องที่แสดงรายละเอียดของรายการซ่อมรถยนต์ของโจทก์ตลอดถึงราคาว่าซ่อมอะไรราคาเท่าไรนั้นเป็นเอกสารปลอมเมื่อจำเลยได้นำสืบบุคคลอื่นเป็นพยานแล้วว่าราคาตามรายการต่างๆสูงเกินไปและค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์ของโจทก์นี้แม้จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างศาลก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดให้ตามสมควรอยู่แล้วการที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือปลอมจึงไม่เป็นการอ้างพยานหลักฐานเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและไม่จำเป็นต้องสืบพยานที่ขออ้างเพิ่มเติมนั้นศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายการมีเงื่อนไขดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอันจะทำให้จำเลยที่1จะต้องเสี่ยงภัยมากขึ้นม.ลูกจ้างของจำเลยที่2ที่3ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ม.จึงเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายม.ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่1รับประกันไว้จากจำเลยที่2ที่3โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่1จึงไม่เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้เล่นการพนันที่เป็นเจ้ามือ ต้องลงโทษทั้งจำและปรับ แม้มีข้อยกเว้นสำหรับผู้เล่นทั่วไป
พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 12 (1) มีความหมายว่า ผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นต้องลงโทษทั้งจำคุกและปรับด้วยหาใช่ลงโทษจำคุกและปรับเฉพาะแต่ผู้จัดให้มีการเล่นเท่านั้นไม่ เพียงแต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่เรียกว่าลูกค้าจะลงโทษปรับอย่างเดียวก็ได้ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่า จำเลยเป็นผู้เข้าเล่นการพนันอันเป็นความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวที่เรียกว่าเจ้ามือ ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะลงโทษปรับอย่างเดียวได้ต้องลงโทษทั้งจำคุกและปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายโดยผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้รับประกันภัย และข้อยกเว้นการรับผิด
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่2กับจำเลยที่1ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียวยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยอีกจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้วจุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่1(ผู้รับช่วงสิทธิ)เรียกร้องไม่เกิน50,000บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่6)พ.ศ.2518มาตรา6ข้อที่จำเลยที่2ที่3ฎีกาว่าค่าเสียหายของโจทก์ที่1จำนวน23,495บาทไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่2ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 12 ที่นั่ง ไม่ต้องขออนุญาตประกอบการขนส่ง
การที่จำเลยนำรถยนต์ตู้มาแล่นรับส่งคนโดยสารเพื่อสินจ้างอันมีลักษณะเป็นการประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่บริษัทขนส่ง จำกัด ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางนั้น เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ของจำเลยดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน ซึ่งมีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 5(2) บัญญัติไว้ว่าเป็นรถยนต์ที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถยนต์ส่วนบุคคลที่ไม่เข้าข่ายรถโดยสารประจำทาง ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก
การที่จำเลยนำรถยนต์ตู้มาแล่นรับส่งคนโดยสารเพื่อสินจ้างอันมีลักษณะเป็นการประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่บริษัทขนส่งจำกัดได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางนั้นเมื่อปรากฏว่ารถยนต์ของจำเลยดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคนซึ่งมีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522มาตรา5(2)บัญญัติไว้ว่าเป็นรถยนต์ที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522มาตรา23.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการฟ้องคดีเด็กและเยาวชนเมื่อพนักงานสอบสวนอยู่นอกเขตอำนาจศาล และการไม่ผูกพันตามกำหนดระยะเวลาฟ้อง
จำเลยมีถิ่นที่อยู่ตามปกติอยู่ในเขตอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาแต่จำเลยกระทำความผิดและถูกจับกุมที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24ทวิ วรรคสุดท้าย พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้ยื่นฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ในกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันจับกุมหรือผัดฟ้องตามมาตรา24ทวิ วรรค 1,2 และ 3 ดังนั้น การฟ้องคดีนี้จึงไม่มีกำหนดระยะเวลาตามที่มาตรา 24 ทวิ กำหนดไว้และไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 24 จัตวาพนักงานอัยการประจำศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการคุ้มครองแรงงานของการท่าอากาศยานฯ และอำนาจฟ้องของลูกจ้าง
พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2522 มาตรา 6 บัญญัติให้กิจการของการท่าอากาศยานไม่ตกอยู่ใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อันเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งหมาย จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อคดีนี้ไม่มีข้อโต้แย้งว่าข้อบังคับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยกำหนดสิทธิของโจทก์ให้ได้รับความคุ้มครองแรงงานน้อยกว่าที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบัญญัติไว้โจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายเมื่อผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด และข้อยกเว้นความรับผิด
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท และที่ว่าการประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันยอมรับตามสัญญาซึ่งความรับผิดนั้นจะไม่เกิดขึ้นหากปราศจากสัญญานั้น เป็นการป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น แต่กรณีเป็นฝ่ายผิด จะเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทำงานในวันหยุดของลูกจ้างผู้บริหาร: การพิจารณาอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างและข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงแรงงาน
โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของจำเลย การที่โจทก์มีอำนาจออกคำเตือนพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นหนังสือและพนักงานที่ถูกคำเตือน 3 ครั้ง จะไม่ได้ขึ้นเงินเดือนก็ตาม แต่เมื่อหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ เป็นเพียงมีผลให้ผู้ถูกคำเตือนอยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนจากผู้มีอำนาจในการนี้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีอำนาจทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษ และแม้โจทก์จะเป็นผู้เสนอขอเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ก็มิใช่เป็นผู้มีอำนาจที่จะเลื่อนชั้นเงินเดือน 2 ขั้น จึงถือไม่ได้อีกว่าโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการให้บำเหน็จ ส่วนกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนในการจ้างลูกจ้างนั้น โจทก์ต้องมีอำนาจทำการแทนนายจ้างโดยตรง มิใช่เป็นกรณีผ่านการพิจารณาโดยผู้มีอำนาจมาก่อนซึ่งผู้มีอำนาจในการรับลูกจ้างเข้าทำงานนี้ได้แก่คณะกรรมการของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้างดังนั้น โจทก์มิใช่ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ทำการแทนนายจ้าง ตามข้อ 36(1)แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677-1678/2526)
เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด การที่จำเลยมีระเบียบกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไม่มีผลบังคับ
โจทก์เบิกค่าทำงานในวันหยุด จำเลยให้โจทก์คืนเงินโดยอ้างว่าเบิกไม่ถูกต้อง โจทก์จึงคืนเงินนั้นแก่จำเลย ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่อง จงใจผิดนัดในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดที่คืนไป จำเลยตอบปฏิเสธ ถือได้ว่า จำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้า ต่อปีตามข้อ 31 วรรคแรก นับแต่วันที่ จำเลยตอบปฏิเสธ
เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด การที่จำเลยมีระเบียบกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไม่มีผลบังคับ
โจทก์เบิกค่าทำงานในวันหยุด จำเลยให้โจทก์คืนเงินโดยอ้างว่าเบิกไม่ถูกต้อง โจทก์จึงคืนเงินนั้นแก่จำเลย ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่อง จงใจผิดนัดในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดที่คืนไป จำเลยตอบปฏิเสธ ถือได้ว่า จำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้า ต่อปีตามข้อ 31 วรรคแรก นับแต่วันที่ จำเลยตอบปฏิเสธ