คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยถูกพนักงานอัยการฟ้องตามที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวร้องทุกข์ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและฉ้อโกงกับขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 1 ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายและจำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวตามลำดับ ทั้งความรับผิดทางแพ่งคดีนี้เกิดจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ มาตรา 46 โดยต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 นั้น ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว ศาลจะรับฟังข้อวินิจฉัยส่วนอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อเท็จจริงอันคดีแพ่งต้องถือตามหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาเป็นหลัก หากจำเลยไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญา ศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่นำสืบ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยถูกพนักงานอัยการฟ้องตามที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวร้องทุกข์ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและฉ้อโกง กับขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา ยกฟ้องเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 1 ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวตามลำดับ ทั้งความรับผิดทางแพ่งคดีนี้ เกิดจากการ กระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดี ส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 นั้น ไม่ได้เป็นคู่ความ ในคดีอาญาดังกล่าว ศาลจะรับฟังข้อวินิจฉัยส่วนอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อเท็จจริงอันคดีแพ่ง ต้องถือตามหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เป็นที่พอใจว่าต้นฉบับเอกสารสัญญากู้ยืมเงินได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ศาลจึงรับฟังคู่ฉบับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้และเมื่อโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 653 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, การรับรองพยาน, และการเปลี่ยนแปลงตั๋วสัญญาใช้เงินในคดีแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามความตกลงการขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยกำหนดวงเงินสินเชื่อตามสัญญาซึ่งมีจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยได้กล่าวถึงรายละเอียดของตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับว่า เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด อัตราดอกเบี้ยเท่าใด ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อใด ฉบับใดที่จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว และจำเลยที่ 1 เริ่มผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดตั้งแต่เมื่อใด และเมื่อครบกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงค้างชำระต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่พิพาทเป็นเงินเท่าใด ซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดที่จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์แล้วหรือเมื่อถึงกำหนดใช้เงินแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ให้โจทก์แทนแล้วนั้นไม่จำต้องกล่าวในฟ้องอีก เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องโจทก์เพียงฉบับเดียว ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินอีก 5 ฉบับ จำเลยไม่ปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสามเข้าใจฟ้องของโจทก์ดีแล้วไม่ได้หลงข้อต่อสู้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา172 วรรคสอง จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงการขายลดตั๋วเงินและสัญญาวงเงินสินเชื่อกับโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร มูลคดีจึงเกิดในเขตอำนาจของศาลแพ่ง จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง-ธนบุรี จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินที่จังหวัดระยองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1โจทก์จึงอาจยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามได้ที่ศาลแพ่งหรือศาลแพ่งธนบุรีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และถ้าถือว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามที่จำเลยทั้งสามฎีกา โจทก์ก็อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดระยองได้อีกศาลหนึ่ง เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นขึ้นไป และคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคำฟ้องที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งซึ่งมีเขตศาลดังที่กล่าวข้างต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 5 ดังนี้ ศาลแพ่งไม่จำต้องใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็มีอำนาจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้
เอกสารหมาย จ.34 เป็นใบแจ้งหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม โดยหักจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนออกแล้วการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 มอบแก่โจทก์โดยระบุจำนวนเงินเท่ากับยอดหนี้ในเอกสารหมาย จ.34 ให้โจทก์ไว้ จึงถือได้ว่าเป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมที่ถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับเงินจากโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมายจ.14 ตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 ก็มีมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม และแม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการคืนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมแก่จำเลยที่ 1 มาแสดง พยานหลักฐานโจทก์ก็รับฟังได้ และเมื่อจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.14 แก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจนำตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมมาฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 อีก
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกถึงวันนัดครั้งสุดท้ายเป็นเวลา 7 เดือนเศษ พยานจำเลยทั้งสามมีจำเลยที่ 2 เบิกความเพียงปากเดียวยังไม่สิ้นกระแสความ ส่วนจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้เข้าเบิกความเพราะจำเลยที่ 2และที่ 3 ต่างขอเลื่อนคดี อ้างเหตุเจ็บป่วยบ้าง มีธุรกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศบ้าง และเปลี่ยนทนายจำเลยบ้าง หลายครั้งหลายหน ทั้ง ๆ ที่ทนายจำเลยทั้งสามได้ให้คำรับรองต่อศาลว่าจะนำพยานมาสืบให้เสร็จ หากไม่มีพยานมาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ การขอเลื่อนคดีของจำเลยทั้งสามมีพฤติการณ์ประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีอีก และถือว่าหมดพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
ในระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามฉ้อโกงโจทก์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการพิจารณาสำนวนสอบสวนแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้อง แต่เมื่อคดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาและข้อเท็จจริงตามสำนวนสอบสวนก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความในชั้นศาลปัญหาว่าจำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ย่อมอาศัยข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยทั้งสามนำสืบในคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงในสำนวนสอบสวนคดีอาญา การที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมอ้างผลคดีอาญาในสำนวนการสอบสวนดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีแพ่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการฟ้องซ้ำและความชอบด้วยกฎหมาย
คดีก่อนจำเลยที่2คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยไว้ว่าจำเลยที่2รับโอนที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตจำเลยที่2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทโดยมิได้วินิจฉัยว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คดีถึงที่สุดแล้วสำหรับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มีว่าโจทก์หรือจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทหากฟังว่าจำเลยที่1เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์จำเลยที่1ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ไม่มีสิทธินำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโอนให้แก่จำเลยที่2ไม่ว่าจะโอนโดยสุจริตหรือไม่สุจริตและยังมีประเด็นอีกว่าโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2หรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของหรือให้ชดใช้ราคาแทนหรือไม่ประเด็นดังกล่าวเป็นคนละประเด็นกันกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อนการพิจารณาคดีนี้จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำส่วนประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีก่อนว่าจำเลยที่2ในคดีนี้ได้รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยไม่สุจริตอันเป็นเหตุให้ฟังได้ว่าจำเลยที่2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้นหากในคดีนี้ศาลฟังว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่1ในประเด็นต่อไปอาจจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่2รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโดยสุจริตหรือไม่ซึ่งหากจะมีการพิจารณาประเด็นดังกล่าวก็จะเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144ประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียวที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำทั้งหมดทุกประเด็นจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(2)ประกอบมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดจากละเมิดของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกลักทรัพย์โจทก์ไปครั้งเดียวข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 และมาตรา 44 และในการพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังกล่าวป.วิ.อ.มาตรา 40 และมาตรา 47 กำหนดว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.และกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อศาลสั่งให้จำเลยที่ 1และที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ ป.วิ.อ.มาตรา 50 ให้ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 249 ฉะนั้น การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาและในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้มีคำขอให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีส่วนอาญาดังกล่าวด้วย ดังนั้น โจทก์จะรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 148 จำเลยที่ 3 ละทิ้งหน้าที่เฝ้ายามไปเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแพ่งหลังคดีอาญา และความรับผิดของยามต่อการลักทรัพย์จากความประมาทเลินเล่อ
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์โจทก์ในคดีแพ่งเรื่องหลังซึ่งเป็นผู้เสียหายไป โดยพนักงานอัยการได้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ดังนั้น โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคาทรัพย์ที่จำเลยลักไปอีก ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นยามมีหน้าที่เฝ้าดูแลรถตักดิน การที่คนร้ายถอดเอาอะไหล่รถตักดินของโจทก์ไปหลายรายการในเวลากลางคืนเพราะจำเลยที่ 3 ละทิ้งหน้าที่ไปเป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดจากละเลยหน้าที่ยาม
จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกลักทรัพย์โจทก์ไปครั้งเดียวข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และมาตรา 44 และในการพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 และมาตรา 47กำหนดว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อศาลสั่งให้จำเลยที่ 1และที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50 ให้ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249ฉะนั้น การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นคดีอาญาและในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้มีคำขอให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีส่วนอาญาดังกล่าวด้วย ดังนั้นโจทก์จะรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 3ละทิ้งหน้าที่เฝ้ายามไปเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9734/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องไม่ผูกพันข้อเท็จจริงจากคดีอาญาหากไม่ใช่คู่ความเดียวกัน หรือประเด็นไม่ตรงกัน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46ที่จะต้องถือเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญามาพิจารณาคดีส่วนแพ่งนั้น คดีแพ่งและคดีอาญาดังกล่าวจะต้องเป็นคู่ความเดียวกัน สำหรับสำนวนคดีแรกโจทก์ที่ 2 ฟ้องในฐานะเป็นเจ้าของรถบรรทุกและเป็นผู้เสียหายจากการเสื่อมเสียของรถและขาดประโยชน์รายได้อันเป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 2 เองโดยเฉพาะหาได้รับช่วงมีสิทธิมาจากการที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ส. จำเลยที่ 1 แต่ประการใดไม่ ทั้งโจทก์ที่ 1ในฐานะผู้รับประกันภัยจากโจทก์ที่ 2 ก็เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัย ฉะนั้นโจทก์ทั้งสองจึงเป็นบุคคลภายนอกในคดีอาญาที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วดังกล่าวรวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้เคยเป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นบุคคลภายนอกในคดีอาญาดังกล่าวจึงจะนำหลักตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ที่ว่าให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญามาใช้ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งบังคับใช้ในคดีนี้หาได้ไม่สำหรับสำนวนคดีหลัง โจทก์จำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว ทั้งประเด็น ในคดีแพ่งคดีนี้มีว่า น. จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือไม่ เป็นคนละประเด็นกันกับคดีอาญาดังกล่าวซึ่งมีประเด็น ว่า ส. จำเลยที่ 1 คดีนี้ เป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือไม่จึงไม่มีเหตุที่จะต้องนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาใช้ใน การพิจารณาคดีแพ่งเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่อ้างคำเบิกความของพยานขึ้นมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานไม่ถูกต้องเป็นการดึงปัญหาข้อเท็จจริงเข้ามาสู่ปัญหาข้อกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายใหม่ว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมาทหรือไม่ อันเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9371/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และผลของการวินิจฉัยในคดีอาญาต่อคดีแพ่ง
คดีอาญาโจทก์ที่ 2 ถูกพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษตามป.อ.มาตรา 291 ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า เหตุที่รถยนต์โดยสารที่โจทก์ที่ 2 ขับชนรถยนต์ที่ อ.ขับนั้น จุดชนอยู่ในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 2โจทก์ที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ซึ่งในคดีอาญาดังกล่าวต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ อ.ด้วย คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้ฟ้องคดีนี้ขอให้โจทก์ที่ 2ใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดให้ อ.ถึงแก่ชีวิตและทรัพย์สินเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 ในการพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46
of 122