พบผลลัพธ์ทั้งหมด 210 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีชำเรา ความพิรุธของคำให้การ และหลักการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นความผิด 2 กระทง กระทงแรกกระทำในขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 13 ปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) กระทงที่ 2 กระทำผิดในขณะผู้เสียหายอายุเกิน 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้กระทงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) จะต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาซึ่งครอบคลุมไปถึงความผิดดังกล่าว ยังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวด้วยหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องไปถึงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10288/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน, การชี้ตัวผู้ต้องหา, และการเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากชิงทรัพย์เป็นรับของโจร
คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนและบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพก็เป็นพยานบอกเล่า และจำเลยนำสืบปฏิเสธว่ามิได้เกิดจากความสมัครใจเช่นนี้ คำให้การดังกล่าวโดยลำพังไม่อาจรับฟังเพื่อลงโทษจำเลยได้ กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าผู้เสียหายจำจำเลยได้ว่าเป็นคนร้ายที่ชิงทรัพย์ของผู้เสียหายหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง พฤติการณ์ของจำเลยที่ซื้อรถจักรยานยนต์ดังกล่าวมาในสภาพที่มีร่องรอยการขูดลบแก้ไขหมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถังรถ ไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน ไม่ติดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี และไม่ได้สมุดคู่มือจดทะเบียน ซึ่งเป็นสภาพที่ผิดปกติจากการซื้อขายรถจักรยานยนต์ทั่วไป จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ซื้อไว้โดยสุจริต และย่อมรู้ว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าขณะซื้อรถจักรยานยนต์ดังกล่าวจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก เท่านั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจร และข้อเท็จจริงที่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาแตกต่างกับที่กล่าวในฟ้อง แต่เป็นข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานรับของโจรและชิงทรัพย์ ซึ่งความผิดฐานชิงทรัพย์ได้รวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อยู่ด้วยแล้ว จึงไม่ให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อพิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องที่เกินคำขอหรือโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8642/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีข่มขืน: ศาลฎีกาพิจารณาคำให้การผู้เสียหายที่ไม่สอดคล้องกัน และพยานหลักฐานสนับสนุน
ในชั้นพิจารณาผู้เสียหายเบิกความในตอนแรกระบุว่าคนร้ายคือจำเลยและ จ. ซึ่งเป็นคนรู้จักกันมาก่อนเพราะมีบ้านอยู่ใกล้กับบ้านพักของผู้เสียหาย หลังเกิดเหตุผู้เสียหายชี้ยืนยันบุคคลตามภาพถ่ายที่เจ้าพนักงานตำรวจให้ดู แต่ต่อมากลับเบิกความว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายแล้วเบิกความต่อไปว่า ในกระต๊อบที่เกิดเหตุมืดจึงไม่เห็นหน้าและรูปพรรณของคนร้าย ตอนท้ายเบิกความในทำนองว่าคนร้ายชื่อ ก. แต่เป็นคนละคนกับจำเลย ผู้เสียหายไม่รู้จักและไม่เคยเห็นหน้าจำเลย ที่อ้างว่าไม่เห็นหน้าคนร้ายเพราะในกระต๊อบมืดนั้นขัดแย้งกับที่ยืนยันว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายแต่เป็น ก. อีกคนหนึ่งที่มีชื่อซ้ำกัน ทั้งไม่สมเหตุสมผลเพราะคนร้ายเข้าประชิดตัวผู้เสียหายขณะกระทำชำเราอีกทั้งผู้เสียหายเบิกความว่าออกจากกระต๊อบมาทันได้เห็นคนร้ายเดินไปที่วงสุราข้างนอกกระต๊อบน่าจะมีแสงสว่างพอให้มองเห็นหน้าคนร้ายได้ ที่อ้างว่าคนร้ายเป็นคนละคนกับจำเลย เพียงแต่ชื่อเหมือนกันก็มีพิรุธ เพราะในชั้นสอบสวนผู้เสียหายระบุตัวจำเลยชัดเจนทั้งชื่อ รูปพรรณ ทั้งระบุว่าจำเลยพักอยู่บ้านใกล้ ๆ ห่างบ้านของผู้เสียหายเพียง 50 เมตร และรู้จักมารดาของจำเลยด้วย นอกจากนี้หลังเกิดเหตุเพียง 3 วัน ฉ. บิดาจำเลยก็ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จึงแสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้เสียหายระบุตัวจำเลยเป็นคนร้ายตั้งแต่แรก ไม่ใช่เรื่องผิดตัวที่ผู้เสียหายเบิกความในชั้นพิจารณา จึงมีเหตุผลให้เชื่อว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงไปเพื่อช่วยเหลือจำเลยเพราะไม่ติดใจเอาความแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงใช้ดุลพินิจวินิจฉัยรับฟังคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนเป็นความจริงมากกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้ พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องจับเท็จเป็นเพียงความเห็นทางวิชาการ ไม่สามารถใช้พิสูจน์ความผิดได้โดยแน่ชัด
เครื่องจับเท็จเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่นำผลการตอบคำถามของจำเลยมาวิเคราะห์ตามหลักวิชาการแล้วประเมินผลจากการวิเคราะห์นั้นว่าจำเลยพูดจริงหรือเท็จ มีลักษณะเป็นเพียงความเห็นในทางวิชาการ ย่อมไม่อาจนำมาพิสูจน์ทราบถึงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยเป็นที่แน่ชัดได้ ลำพังเครื่องจับเท็จและความเห็นของผู้ชำนาญด้านเครื่องจับเท็จยังไม่อาจรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือและการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ข้อนำสืบของโจทก์ที่ว่าก่อนมอบธนบัตรที่จะใช้ล่อซื้อให้แก่สายลับมีการเปลี่ยนแผนโดยตกลงกับสายลับใหม่ว่า หากสายลับพูดคุยกับจำเลยแล้ว ได้ความว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนมาจริงให้ส่งสัญญาณด้วยการลูบผมโดยไม่มีการส่งมอบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อแก่จำเลยนั้น มีเพียงร้อยตำรวจเอก ม. เบิกความยืนยันในข้อนี้ ซึ่งแตกต่างจากคำเบิกความของสิบตำรวจโท ส. ที่ว่า มีการให้สายลับนำธนบัตรไปใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ซึ่งเป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งยังขัดต่อเหตุผลที่ว่าเหตุใดสิบตำรวจโท ส. จึงไม่ทราบถึงข้อความนี้ ส่วนแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุ ไม่ได้ระบุจุดที่พยานโจทก์ทั้งสองนำรถยนต์ไปจอดซุ่มดูเหตุการณ์และในข้อนี้พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างกัน โดยร้อยตำรวจเอก ม. เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ซุ่มอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณไม่เกิน 50 เมตรส่วนสิบตำรวจโท ส. เบิกความตอบทนายความจำเลยถามค้านว่า ซุ่มอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 10 ถึง 15 เมตร ทั้งการติดต่อระหว่างสายลับกับจำเลยมีแต่เพียงการพูดคุยกันเท่านั้นไม่มีการส่งมอบสิ่งของหรือธนบัตร ซึ่งในระยะห่างเช่นนั้นพยานโจทก์ทั้งสองย่อมไม่ได้ยินการพูดคุยกัน ส่วนสายลับที่เป็นประจักษ์พยานโดยตรงโจทก์มิได้อ้างและนำสืบเป็นพยาน คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองจึงมีข้อสงสัยนอกจากนี้เมทแอมเฟตามีนของกลางมีเพียง 10 เม็ด แตกต่างจากที่มีการตกลงซื้อขาย 30 เม็ด ทั้งมีจำนวนไม่มากนัก น้ำหนักสุทธิและปริมาณสารบริสุทธิ์ก็ไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ลำพังคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลย รวมทั้งรับว่าใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางในการติดต่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนนั้น ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอต่อการรับฟัง พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบอกเล่าผู้ตายก่อนมรณภาพเป็นหลักฐานประกอบได้ แต่ต้องมีหลักฐานอื่นสนับสนุน
คำกล่าวขณะผู้ตายที่บอกให้ทราบว่าจำเลยเป็นคนทำให้ตนตายในขณะที่รู้สึกตัวว่าใกล้จะตาย เป็นเหตุที่เข้าข้อยกเว้นให้รับฟังพยานบอกเล่าเป็นพยานหลักฐานได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) แต่คำบอกเล่าของผู้ตายดังกล่าวรับฟังได้แต่เพียงว่า ผู้ตายได้ระบุชื่อจำเลยเป็นคนร้ายเช่นนั้นจริง มิได้หมายความว่าจะต้องรับฟังว่าจำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย เพราะผู้ตายอาจเห็นหรือจำผิดพลาดหรือมีอุปทานก็เป็นได้ ความผิดพลาดอาจมีขึ้นได้ การระบุชื่อคนร้ายของผู้ตายจึงเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ใช้ประกอบพยานหลักฐานอื่นให้มีน้ำหนักมั่นคงยิ่งขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและการพิสูจน์ความผิดทางอาญา: คำรับสารภาพต้องสอดคล้องกับพยานหลักฐานประกอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 778 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 21.50 กรัม ไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ และศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดตามฟ้องจริง จึงจะลงโทษได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง และจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา โดยอ้างว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นในการกระทำความผิดตามฟ้องเท่ากับอ้างว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยที่ 2 ยื่นให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สอบคำให้การจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2 แต่งตั้งทนายความสู้คดี โดยทนายจำเลยที่ 2 เรียงและพิมพ์คำให้การจำเลยที่ 2 ใหม่ มีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ศาลชั้นต้นสอบคำให้การดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ยืนยันตามคำให้การนี้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะนำคำให้การฉบับแรกมาอ้างเพื่อให้ศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะคำฟ้องไม่ปรากฏว่าได้บรรยายถึงสายลับที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปถึงจำเลยเพื่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนไว้จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ มาในฟ้องดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ซึ่งเพียงพอทำให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนสายลับเป็นใคร เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ หาทำให้ฟ้องเคลือบคลุมไม่
จำเลยที่ 2 ยื่นให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สอบคำให้การจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2 แต่งตั้งทนายความสู้คดี โดยทนายจำเลยที่ 2 เรียงและพิมพ์คำให้การจำเลยที่ 2 ใหม่ มีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ศาลชั้นต้นสอบคำให้การดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ยืนยันตามคำให้การนี้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะนำคำให้การฉบับแรกมาอ้างเพื่อให้ศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะคำฟ้องไม่ปรากฏว่าได้บรรยายถึงสายลับที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปถึงจำเลยเพื่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนไว้จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ มาในฟ้องดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ซึ่งเพียงพอทำให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนสายลับเป็นใคร เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ หาทำให้ฟ้องเคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความน่าเชื่อถือของลูกจ้าง, การกระทำส่อทุจริตเป็นเหตุอันสมควรเลิกจ้างได้
ฎีกาของจำเลยมีลักษณะเป็นการโต้แย้งว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว เป็นอุทธรณ์ที่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายมิใช่เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย เมื่อมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียวได้และเพื่อความรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิจารณาพิพากษาใหม่
การเลิกจ้างที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า นายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันได้ความว่า โจทก์ยอมรับว่าได้ขับรถยกกล่องใส่เศษสะแคร็ปที่มีม้วนสายโทรศัพท์วางอยู่บนกล่องดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าหากได้นำไปขายต่อบุคคลภายนอก โดยไม่มีผู้ใดสั่งให้ยกมาเก็บไว้ในสถานที่ล่อแหลมพร้อมในการนำออกสู่ภายนอก การกระทำของโจทก์จึงส่อไปในทางทุจริต เป็นเหตุให้จำเลยไม่ไว้วางใจและขาดความเชื่อถือในการทำงานของโจทก์ การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยจึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า นายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันได้ความว่า โจทก์ยอมรับว่าได้ขับรถยกกล่องใส่เศษสะแคร็ปที่มีม้วนสายโทรศัพท์วางอยู่บนกล่องดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าหากได้นำไปขายต่อบุคคลภายนอก โดยไม่มีผู้ใดสั่งให้ยกมาเก็บไว้ในสถานที่ล่อแหลมพร้อมในการนำออกสู่ภายนอก การกระทำของโจทก์จึงส่อไปในทางทุจริต เป็นเหตุให้จำเลยไม่ไว้วางใจและขาดความเชื่อถือในการทำงานของโจทก์ การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยจึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม