คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ และต้องไม่กระทบสิทธิเจ้าของรวม
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสี่โดยจำเลยยินยอมชำระค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสี่ แต่จำเลยมิได้ขอเอาหนี้ตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเฉพาะต่อโจทก์ที่ 4 มาขอหักกลบลบหนี้ด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมซึ่งต่างมีส่วนในหุ้นพิพาท และมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีนี้ ดังนั้นแม้ว่าจำเลยชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยได้ก็ตามแต่จำเลยหามีสิทธิบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีดังกล่าวได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมจากบันทึกข้อตกลงที่มีพยานรับรอง
ตามบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของโจทก์จำเลยที่ระบุว่า"นายสุรชัยและนางจุฑาทิตจะทำการหย่าร้างจากการเป็นสามีภริยากันให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลัง... ส่วนเรื่องทรัพย์สินของสามีภริยาส่วนตัวจะไปทำความตกลงกันเอง..." โดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกนั้นถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่โจทก์จำเลยจะหย่ากันตามกฎหมายแม้ในบันทึกดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่า เจ้าพนักงานตำรวจสองนายที่ลงชื่อไว้นั้นลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพยาน แต่เมื่อผู้ที่ลงลายมือชื่อนั้นเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามหน้าที่และรับรู้ข้อตกลงของโจทก์จำเลย ถือได้ว่าเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงการหย่าโดยความยินยอมแล้ว บันทึกดังกล่าวจึงเป็นการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์จำเลยโดยทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ได้รับความยินยอมจากสามี และการนำสืบราคาซื้อขายที่ไม่ตรงกับสัญญา
โจทก์มอบอำนาจให้สามีโจทก์เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนประกอบกับสามีโจทก์เบิกความรับรองว่ายินยอมให้โจทก์ฟ้องคดี ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับบริษัทที่ลดสิทธิลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง สิทธิยึดตามข้อบังคับเดิม
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทที่แก้ไขสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ย่อมมีผลเฉพาะลูกจ้างใหม่
ข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้าง หรือลาออก หรือตาย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากนายจ้างประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องได้ รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกัน หรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต่อไป เมื่อปรากฏว่า ข้อบังคับฉบับเดิมไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ การที่นายจ้างออกข้อบังคับฉบับใหม่ให้ยกเลิกข้อบังคับฉบับเดิม โดยข้อบังคับฉบับใหม่ได้ตัดสิทธิของลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่ให้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ ข้อบังคับฉบับใหม่จึงมีผลเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างที่ปฎิบัติงานอยู่ก่อนมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้กระทำโดยถูกต้อง ข้อบังคับฉบับใหม่คงมีผลเฉพาะต่อลูกจ้างใหม่ที่เข้าทำงานภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเท่านั้น หามีผลต่อลูกจ้างที่ทำงานอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับฉบับใหม่มีผลใช้บังคับไม่
แม้จำเลยจะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้แล้วว่าข้อบังคับของจำเลยเป็นคำสั่ง ระเบียบแบบแผนซึ่งออกโดยกฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำมาตกลงกับลูกจ้างไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลางได้ พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จโดยไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีดังกล่าวไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้ บังคับ และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ทั้งศาลแรงงานกลางก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับกองทุนสงเคราะห์เป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนแก้ไข
ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 กำหนดให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือตาย เป็นการจ่ายเงินสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน ตรงกับความหมายของสภาพการจ้างตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5จำเลยได้ใช้บังคับกับพนักงานตลอดมา จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างจำเลยกับลูกจ้าง หากจำเลยประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับนี้ในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จำเลยจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน หรือมิฉะนั้นจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกัน หรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพ.ร.บ. ดังกล่าวต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าข้อบังคับดังกล่าวเป็นคำสั่งระเบียบแบบแผนซึ่งออกโดยกฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำไปตกลงกับลูกจ้าง ไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายแรงงานมาใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลแรงงานกลางได้พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้วโดยไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีนี้ไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้บังคับและไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง และศาลแรงงานกลางมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างต้องได้รับความยินยอมหรือแจ้งข้อเรียกร้องตามกฎหมายแรงงาน
ข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ ถูก เลิกจ้างหรือลาออก หรือตาย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากนายจ้างประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องได้ รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นจะต้อง แจ้งข้อเรียกร้องตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลง กัน หรือหากไม่สามารถตกลง กันได้ ก็ต้อง ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต่อ ไป เมื่อปรากฏว่า ข้อบังคับฉบับเดิม ไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างที่มีสิทธิได้ รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้ รับเงินสงเคราะห์ การที่ นายจ้าง ออกข้อบังคับฉบับ ใหม่ให้ยกเลิกข้อบังคับฉบับเดิม โดย ข้อบังคับฉบับ ใหม่ได้ตัด สิทธิของลูกจ้างที่มีสิทธิได้ รับค่าชดเชยไม่ให้มีสิทธิได้ รับเงินสงเคราะห์ข้อบังคับฉบับ ใหม่จึงมีผลเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อ ลูกจ้างที่ปฎิบัติ งานอยู่ก่อนมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้กระทำโดยถูกต้อง ข้อบังคับฉบับ ใหม่คงมีผลเฉพาะต่อ ลูกจ้างใหม่ที่เข้าทำงานภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเท่านั้น หามีผลต่อ ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับฉบับ ใหม่มีผลใช้ บังคับไม่ แม้จำเลยจะได้ ยกขึ้นต่อสู้ ในคำให้การไว้แล้วว่าข้อบังคับของจำเลยเป็นคำสั่ง ระเบียบแบบแผนซึ่ง ออกโดย กฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำมาตกลง กับลูกจ้างไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้ บังคับก็ตาม แต่ เมื่อศาลแรงงานกลางได้ พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จโดย ไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีดังกล่าวไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้ บังคับและไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ทั้งศาลแรงงานกลางก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่ อย่างใดอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของภรรยา: ไม่ต้องขอความยินยอมสามีกรณีฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัว
การที่หญิงมีสามีฟ้องคดีนั้นหาจำต้องได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อนทุกกรณีไม่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 เท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องคดีเป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับสามีต้องจัดการร่วมกันจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ โจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของภรรยา: ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีหากไม่ใช่คดีเกี่ยวกับสินสมรส
เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับสามีต้องจัดการร่วมกัน จึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของหญิงมีสามี: ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี เว้นแต่ฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส
การที่หญิงมีสามีฟ้องคดีนั้นหาจำต้องได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อนทุกกรณีไม่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 เท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องคดีเป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับสามีต้องจัดการร่วมกันจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ โจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน.
of 57