พบผลลัพธ์ทั้งหมด 886 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาด้วยวาจาต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน การพิสูจน์ตัวบุคคลในคดีซ้ำซ้อนต้องมีการสืบพยาน
การฟ้องด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงครบถ้วนพอที่ศาลจะพิจารณาลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ประกอบด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาสถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 19 เมื่อโจทก์ฟ้องด้วยวาจาโดยมีข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลจะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยขายกาวโทลูอินอันเป็นสารระเหย 2 กระป๋องให้แก่สายลับผู้มีอายุ 15 ปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยมิได้ระบุว่าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่า ผู้ซื้อเป็นผู้ติดสารระเหยอันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่งพระราชกฤษฎีกาป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 คำฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ จึงขาดองค์ประกอบแห่งความผิดตามบทมาตราดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
แม้ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้จะระบุว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก3 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก ขอให้บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษจำเลยคดีนี้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้นและศาลดังกล่าวได้พิพากษาลงโทษและรอการลงโทษจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปีนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏแต่ตามบันทึกคำรับสารภาพของจำเลย จำเลยเพียงแต่ให้การรับสารภาพตลอดข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้องและโจทก์ก็มิได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำขอในส่วนนี้
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยขายกาวโทลูอินอันเป็นสารระเหย 2 กระป๋องให้แก่สายลับผู้มีอายุ 15 ปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยมิได้ระบุว่าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่า ผู้ซื้อเป็นผู้ติดสารระเหยอันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่งพระราชกฤษฎีกาป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 คำฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ จึงขาดองค์ประกอบแห่งความผิดตามบทมาตราดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
แม้ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้จะระบุว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก3 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก ขอให้บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษจำเลยคดีนี้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้นและศาลดังกล่าวได้พิพากษาลงโทษและรอการลงโทษจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปีนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏแต่ตามบันทึกคำรับสารภาพของจำเลย จำเลยเพียงแต่ให้การรับสารภาพตลอดข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้องและโจทก์ก็มิได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องอาศัยเหตุเดียวกับคำฟ้องเดิม หากเหตุต่างกันไม่อาจรวมพิจารณาได้
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่กล่าวหาว่าจำเลยที่3ร่วมกับจำเลยที่1และที่2กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการลงข่าวใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่3เป็นเรื่องที่จำเลยที่3กล่าวหาว่าการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่3นี้ทำให้จำเลยที่3ได้รับความเสียหายดังนี้ฟ้องแย้งของจำเลยที่3เป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุต่างกันจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม หากเหตุต่างกันไม่อาจรวมพิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์โดยการลงข่าวในหนังสือพิมพ์ออกจำหน่ายขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำเลยทั้งสามให้การว่าไม่ได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์เฉพาะจำเลยที่3ฟ้องแย้งว่าการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่3เป็นคดีนี้ทำให้จำเลยที่3ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชังหมดความเชื่อถือในการประกอบอาชีพขอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นเรื่องที่จำเลยที่3กล่าวหาว่าการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่3เป็นคดีนี้ทำให้จำเลยที่3ได้รับความเสียหายดังนี้ฟ้องแย้งของจำเลยที่3อาศัยเหตุต่างกันจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาแยกส่วนคำฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง รวมถึงการยอมรับชำระหนี้โดยไม่สงวนสิทธิ
เมื่อจำเลยฎีกาทั้งในส่วนของคำฟ้องเดิมและในส่วนของคำฟ้องแย้ง ในกรณีเช่นนี้การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาว่าจะฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณากันคนละส่วน มิใช่พิจารณาทุนทรัพย์รวมกัน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ชำระเงินงวดที่ 5 จำนวน200,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องเดิม เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้
ส่วนปัญหาประการที่สองจำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องชำระค่าปรับเป็นระยะเวลา 221 วัน เป็นเงิน 221,000 บาท ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจากโจทก์ซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องแย้ง เมื่อคดีส่วนนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาทจำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้
แม้โจทก์ผู้รับจ้างจะก่อสร้างอาคารให้จำเลยไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อจนอาคารแล้วเสร็จ และจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายอาคารนั้นให้บุคคลอื่นไปหลังจากนั้นจำเลยยังให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอีกหลังหนึ่งด้วยและจำเลยก็ไม่ติดใจเรื่องค่าปรับวันละ 1,000 บาท ตามสัญญา ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้เคร่งครัดเรื่องกำหนดเวลาการก่อสร้างและไม่ได้ติดใจในเรื่องค่าปรับ ทั้งยังยอมรับผลงานของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว อันเป็นการยอมรับชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 วรรคสาม
ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาแยกเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม200,000 บาท ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง 221,000 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 259,067 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาล 6,477.50บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงถือว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งจากทุนทรัพย์ 221,000 บาท เป็นค่าขึ้นศาล 5,525 บาท ครบถ้วน ส่วนที่เหลือถือว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจำนวน 952.50 บาท แม้จะไม่ครบแต่เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพราะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เสียแล้วศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เหลือนี้แก่จำเลย
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ชำระเงินงวดที่ 5 จำนวน200,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องเดิม เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้
ส่วนปัญหาประการที่สองจำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องชำระค่าปรับเป็นระยะเวลา 221 วัน เป็นเงิน 221,000 บาท ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจากโจทก์ซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องแย้ง เมื่อคดีส่วนนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาทจำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้
แม้โจทก์ผู้รับจ้างจะก่อสร้างอาคารให้จำเลยไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อจนอาคารแล้วเสร็จ และจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายอาคารนั้นให้บุคคลอื่นไปหลังจากนั้นจำเลยยังให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอีกหลังหนึ่งด้วยและจำเลยก็ไม่ติดใจเรื่องค่าปรับวันละ 1,000 บาท ตามสัญญา ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้เคร่งครัดเรื่องกำหนดเวลาการก่อสร้างและไม่ได้ติดใจในเรื่องค่าปรับ ทั้งยังยอมรับผลงานของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว อันเป็นการยอมรับชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 วรรคสาม
ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาแยกเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม200,000 บาท ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง 221,000 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 259,067 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาล 6,477.50บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงถือว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งจากทุนทรัพย์ 221,000 บาท เป็นค่าขึ้นศาล 5,525 บาท ครบถ้วน ส่วนที่เหลือถือว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจำนวน 952.50 บาท แม้จะไม่ครบแต่เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพราะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เสียแล้วศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เหลือนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าต่างจากชื่อจดทะเบียน และคำฟ้องไม่เคลือบคลุม
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าโจทก์ชื่อบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด หรือบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แล้ว ชื่อของโจทก์จึงหาขัดแย้งกันไม่ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ประเภทซื้อสินค้า เงินเชื่อ จำเลยและลูกค้าในความรับผิดชอบของจำเลยได้นำบัตรซื้อสินค้าเงินเชื่อมาซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2533 ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2534 จำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วนแล้ว คงค้างชำระ 116,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนที่คำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยหรือตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์วันไหน สินค้าอะไรบ้าง และซื้อครั้งละเท่าไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้มา ตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แม้สัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อจะระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แต่ก็หมายถึงบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด โจทก์ในคดีนี้นั่งเองเพราะบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด หากแต่เป็นชื่อที่โจทก์ใช้ในทางการค้าจึงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5018/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องตาม พ.ร.บ.เช็ค ต้องระบุหนี้ค่าที่ดินที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ราคาค่าที่ดินให้แก่โจทก์ ตามภาพถ่ายสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่และบังคับได้ตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4แล้ว คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องและการนำสืบข้อเท็จจริง การนำสืบต้องสอดคล้องกับคำฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์จะถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ กับข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในคำฟ้องได้กล่าวถึงเรื่องที่โจทก์จะต้องนำสืบให้สมดังคำฟ้องหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกันฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์แต่ไม่มีข้อเท็จจริงอันนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทประเด็นใดประเด็นหนึ่งในชั้นพิจารณาโจทก์จะนำสืบถึงข้อเท็จจริงนั้น ๆ หาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบนอกฟ้อง
การติดตามยึดรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนกับการบอกเลิกสัญญาก็เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงให้แจ้งชัดว่าโจทก์ยึดรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาโดยจำเลยยินยอมและโจทก์ถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว ในตอนท้ายของคำฟ้องมีระบุว่าโจทก์ได้มีหนังสือ-บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหาย ซึ่งในตอนท้ายของสำเนาหนังสือ--ทวงถามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวมีใจความว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 7จึงขอบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยทั้งสองทันที เอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องแล้วว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ดังนี้การนำสืบของโจทก์ในเรื่องบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงหาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องไม่
การติดตามยึดรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนกับการบอกเลิกสัญญาก็เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงให้แจ้งชัดว่าโจทก์ยึดรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาโดยจำเลยยินยอมและโจทก์ถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว ในตอนท้ายของคำฟ้องมีระบุว่าโจทก์ได้มีหนังสือ-บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหาย ซึ่งในตอนท้ายของสำเนาหนังสือ--ทวงถามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวมีใจความว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 7จึงขอบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยทั้งสองทันที เอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องแล้วว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ดังนี้การนำสืบของโจทก์ในเรื่องบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงหาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอ: ศาลพิพากษาให้กรรมสิทธิ์รถยนต์ตกเป็นของจำเลยเมื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเกินกว่าที่โจทก์ฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ทำละเมิด เป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย โดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ด้วยในฐานะนายจ้าง โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปครบถ้วนแล้วจึงรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชำระแก่ผู้เอาประกันภัยพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ชำระไป จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา กรณีย่อมไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าหากจำเลยทั้งสองชำระค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะต้องตกเป็นของจำเลยทั้งสองหรือไม่เพราะจำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้หรือฟ้องแย้งเป็นประเด็นไว้เช่นนั้น การที่ผู้เอาประกันภัยต้องโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เอาประกันภัยให้แก่โจทก์นั้น เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญาโดยเฉพาะจำเลยทั้งสองซึ่งต้องร่วมกันรับผิดฐานละเมิดหาได้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาอันจะทำให้มีสิทธิและหน้าที่หรือได้รับประโยชน์ตามข้อตกลงหรือเงื่อนไขดังกล่าวในกรมธรรม์ด้วยไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตกเป็นของจำเลยทั้งสองนั้นจึงเป็นการพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องซื้อขายและการคิดดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ.มาตรา 490
จำเลยทั้งสองอ้างว่าคำฟ้องของโจทก์มิได้มีข้อความว่าจำเลยทั้งสองสั่งซื้อสินค้าอะไร เมื่อไร จำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสองได้รับสินค้าจากโจทก์แล้วหรือไม่นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า ตั้งแต่ต้นปี 2536 ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2536 จำเลยทั้งสองซื้อกระดาษหลายประเภทจากโจทก์หลายครั้งรวมเป็นเงิน 173,868.50 บาท จำเลยทั้งสองได้รับกระดาษดังกล่าวแล้ว ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์บรรยายข้อความที่จำเลยทั้งสองอ้างข้างต้นว่าไม่มี ไว้ครบถ้วนแล้ว และที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าการชำระเงินต้องชำระกันอย่างไรจำเลยทั้งสองผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด โจทก์เริ่มคิดดอกเบี้ยเมื่อไร จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมนั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุช่วงเวลาที่จำเลยทั้งสองซื้อสินค้าจากโจทก์และรับสินค้าดังกล่าวว่าตั้งแต่ต้นปี 2536 ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2536 แม้จะไม่ได้ระบุวันถึงกำหนดใช้ราคา แต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 490 บัญญัติ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลากำหนดใช้ราคาคือเวลาอันเดียวกันกับเวลาที่ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งขายนั้น จึงเข้าใจได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่รับสินค้าและไม่ใช้ราคาแล้ว และแม้โจทก์จะมิได้ระบุวันเดือนปีที่โจทก์เริ่มคิดดอกเบี้ย แต่โจทก์ระบุว่าโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดถึงวันฟ้องเพียง 5 เดือนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2537 หากนับแต่วันสิ้นเดือนมิถุนายน 2536อันเป็นวันที่โจทก์ระบุว่าจำเลยทั้งสองซื้อกระดาษจากโจทก์เป็นครั้งสุดท้ายถึงวันฟ้องจะเป็นเวลา 6 เดือนเศษ แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยเพียง 5 เดือน เท่านั้น เมื่อเริ่มนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไป 5 เดือน ก็จะสามารถคำนวณเงินค่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องได้ จึงไม่จำเป็นต้องระบุวันเดือนปีที่โจทก์เริ่มคิดดอกเบี้ยอีก ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีค่าล่วงเวลา ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดต้องปรากฏในคำฟ้อง
ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าล่วงเวลา โจทก์มีคำขอให้จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ซึ่งเป็นการขอให้บังคับจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสอง ประเด็นในคดีย่อมต้องเกิดจากคำฟ้องและคำให้การ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องถึงเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ซึ่งกำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวข้อ 31 วรรคหนึ่งแม้ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาและดอกเบี้ยหรือไม่เพียงใด ก็เป็นการกำหนดประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องการกำหนดประเด็นส่วนของดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลแรงงานวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ ก็ต้องถือว่าวินิจฉัยในเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลแรงงาน และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับก็ได้ จึงเห็นได้ว่าโดยหลักแล้วจะสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะเข้าข้อยกเว้น แต่ในคำพิพากษาศาลแรงงานก็มิได้กล่าวว่ามีเหตุสมควรอย่างไรจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว