คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาตัดสินให้คิดค่าธรรมเนียมตามตาราง 2(3) ป.วิ.พ. เพียง 20 บาท
ในคดีล้มละลายที่ผู้คัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดให้ทำเป็นคำร้องซึ่งค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับคำร้องนี้พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 179 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ดังนี้ผู้คัดค้านต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาท ตามตาราง 2(3) ท้าย ป.วิ.พ..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6090/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนค่าอากรแสตมป์ต้องยื่นคำร้องภายใน 6 เดือน หากไม่ยื่นคำร้อง ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ได้เสียค่าอากรแสตมป์ใบรับสำหรับรายรับจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ไป แต่ต่อมาโจทก์ทราบว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ จึงมาฟ้องขอให้กรมสรรพากรจำเลยคืนเงินค่าอากรแสตมป์ คำฟ้องของโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ซึ่งตามมาตรา 9 และ ป.รัษฎากร มาตรา 122การขอคืนอากรไม่ว่าเป็นกรณีที่เสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินไปกว่าอัตราที่กำหนด ถ้าจะขอคืนต้องเป็นกรณีที่ค่าอากรที่จะขอคืนนั้นไม่น้อยกว่า 2 บาท และการขอคืนต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6090/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนค่าอากรต้องยื่นคำร้องภายใน 6 เดือน หากไม่ยื่นสิทธิในการฟ้องร้องจะขาดอายุความ
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ได้เสียค่าอากรแสตมป์ใบรับสำหรับรายรับจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ไป แต่ต่อมาโจทก์ทราบว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ จึงมาฟ้องขอให้กรมสรรพากรจำเลยคืนเงินค่าอากรแสตมป์ คำฟ้องของโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 ซึ่งตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และประมวลรัษฎากร มาตรา 122 การขอคืนอากรไม่ว่าเป็นกรณีที่เสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือเสียเกินไปกว่าอัตราที่กำหนดถ้าจะขอคืนต้องเป็นกรณีที่ค่าอากรที่จะคืนนั้นไม่น้อยกว่า 2 บาทและการขอคืนต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 6 เดือนนับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องคดี และการฟ้องคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีต้องยื่นเป็นคำร้อง ไม่ใช่ฟ้องคดีใหม่
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ มาตรา 175 วรรคสองแห่งป.วิ.พ. กำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยพิจารณาจากความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์และผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่าย ปรากฏว่านอกจากฟ้องคดีนี้แล้วโจทก์ยังยื่นคำร้องขอให้ห้ามจำเลยและเจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทและศาลได้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องโดยให้เหตุผลว่าประสงค์ที่ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ใหม่จึงอาจทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบแล้ว โจทก์เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีแพ่งรวมสองสำนวนเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความกับขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ในคดีดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องคดีที่มีคำขอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีทั้งสอง ดังนั้น โจทก์ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องในคดีดังกล่าว จะยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามขั้นตอนพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญคนต่างด้าว มิใช่การปฏิเสธสิทธิ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือของกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรที่มท 0613.01/2792 ลงวันที่ 10 กันยายน 2528 เรื่อง คนญวนอพยพที่ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ยื่นขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว กำหนดให้นายทะเบียนคนต่างด้าวทุกแห่งทราบและถือปฏิบัติดังนี้ 1. ให้เจ้าหน้าที่ทะเบียนคนต่างด้าวรับคำร้องพร้อมรูปถ่ายและหลักฐานประกอบเรื่องไว้ 2. ให้นายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ที่รับคำร้องรวบรวมเรื่องส่งให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณา 3. ให้นายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบด้วยว่า เมื่อกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณาสิ้นสุดผลเป็นประการใดจะได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ และตอนท้ายสุดมีข้อความว่า "จึงแจ้งมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป" นั้น เป็นคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติอันเป็นขั้นตอนในการพิจารณาคำร้อง ขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว การที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนายทะเบียนคนต่างด้าวในเขตท้องที่อำเภอเมืองหนองคายดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว มิใช่การปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองยังมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780-5781/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุจำเลยอ้างเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยไม่คัดค้านคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราว
++ คดีแดงที่ 5780-5781/2534 ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ 3 ++
++
จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ของจำเลย แต่ฎีกาของจำเลยกลับอ้างแต่เหตุอันควรเพิกถอนการขายทอดตลาดว่าราคาต่ำไป และมีคำขอท้ายฎีกาขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเท่านั้น จำเลยหาได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพื่อคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ไม่ ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นแล้วยื่นคำร้องใหม่ไม่ได้
ในชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าการประมูลซื้อทรัพย์เป็นไปโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามคำร้องของจำเลยแล้ว จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของจำเลยดังกล่าวใหม่ กรณีเช่นนี้หาได้มีบทกฎหมายรับรองให้จำเลยมีสิทธิจะกระทำได้ไม่ เพราะมิใช่การขาดนัดพิจารณาซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง,207 และ 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องเรียกทายาทบุคคลภายนอกเข้าสู่คดีไม่ใช่คำคู่ความ อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้
คำร้องที่จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นเรียกทายาทของบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีมิใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5)เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและศาลชั้นต้นยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีจำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 226(1) ประกอบกับมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต้องกระทำภายในกรอบเวลาที่กำหนด แม้มีเหตุขัดข้องกะทันหัน ก็ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ทนายโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง14 วัน มีเวลายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีได้ล่วงหน้าอย่างเพียงพอ อีกทั้งคดียังมีตัวโจทก์อีกผู้หนึ่งซึ่งสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อศาลได้ ดังนั้น ถ้าเสมียนทนายป่วยกะทันหันก็ยังมีตัวโจทก์มาศาลได้ในวันนัด และแจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุขัดข้องจำเป็นต้องขอเลื่อนคดีกรณีของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอย่างช้าภายในวันนัดสืบพยาน จะยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีภายหลังจากวันนัดสืบพยานโจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5383/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) ต้องกระทำในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา หากศาลยกคำร้องไปแล้ว ไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความได้
ตามคำร้องเป็นเรื่องผู้ร้องร่วมทั้งสองประสงค์จะเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งให้บุคคลภายนอกร้องขอเข้า เป็นคู่ความได้โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาเมื่อปรากฏว่าในวันที่ผู้ร้องร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความนั้น ศาลชั้นต้นได้สั่งยกคำร้องของผู้ร้องไปแล้วจึงไม่มีคดี ของผู้ร้องที่ผู้ร้องร่วมทั้งสองจะเข้ามาเป็นคู่ความได้อยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นในขณะที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอ ดังนั้นศาลจึงชอบที่จะสั่งไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องร่วมทั้งสองได้
of 50