พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลเจ้าหนี้โดยการจดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สิน เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ปลอมใบมอบอำนาจของจำเลยที่ 2 สามี นำโฉนดที่ดินจำเลยที่ 2 ไปทำนิติกรรมขายฝากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงฟ้องขอเพิกถอนการขายฝาก ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอน ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารและฉ้อโกงเกี่ยวกับการขายฝากนั้นย่อมเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องถูกโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าขายฝากที่ดินคืนและจำเลยที่ 2 จะต้องถูกโจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสออกเป็นส่วนของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นอีกดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการหย่าหลังจากศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการขายฝากเพียง 20 วันเศษ และบันทึกระบุเรื่องทรัพย์สินระหว่างจำเลยทั้งสองว่าให้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาดังกล่าวเพียง 7 วันจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โจทก์ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเหตุนี้จึงเป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อฉลในการทำสัญญาประกันชีวิตทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ ผู้เอาประกันมีสิทธิบอกล้างสัญญาและเรียกคืนเบี้ยประกัน
โจทก์มิได้รับการตรวจสุขภาพ มิได้รับการฉายเอ๊กซเรย์ และตรวจคลื่นหัวใจ และจำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงให้โจทก์เอาประกันชีวิต โดยแจ้งว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพแล้วจัดหาบุคคลอื่นไปรับการตรวจสุขภาพแทน ทำให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าโจทก์มีสุขภาพดี และรับประกันชีวิตโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์แสดงเจตนาทำสัญญาประกันชีวิต โดยเข้าใจผิดว่าได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบแล้ว ซึ่งถ้าโจทก์รู้ว่าเป็นการไม่ชอบก็จะไม่ทำสัญญาด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนแสวงหาผู้เอาประกันของจำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์เอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าสัญญาประกันชีวิตได้มาเพราะการทำฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เมื่อสัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะ โจทก์บอกล้างโดยชอบแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่แรก โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดส่งคืนเบี้ยประกันพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนแสวงหาผู้เอาประกันของจำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์เอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าสัญญาประกันชีวิตได้มาเพราะการทำฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เมื่อสัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะ โจทก์บอกล้างโดยชอบแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่แรก โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดส่งคืนเบี้ยประกันพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อฉลในการทำสัญญาประกันภัยทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ ผู้เอาประกันมีสิทธิบอกล้างสัญญาและเรียกเบี้ยประกันคืน
โจทก์มิได้รับการตรวจสุขภาพ มิได้รับการฉายเอ๊กซเรย์และตรวจคลื่นหัวใจและจำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงให้โจทก์เอาประกันชีวิตโดยแจ้งว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพแล้วจัดหาบุคคลอื่นไปรับการตรวจสุขภาพแทน ทำให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าโจทก์มีสุขภาพดี และรับประกันชีวิตโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์แสดงเจตนาทำสัญญาประกันชีวิตโดยเข้าใจผิดว่าได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบแล้ว ซึ่งถ้าโจทก์รู้ว่าเป็นการไม่ชอบก็จะไม่ทำสัญญาด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนแสวงหาผู้เอาประกันของจำเลยที่ 1ขอให้โจทก์เอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าสัญญาประกันชีวิตได้มาเพราะทำฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เมื่อสัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะโจทก์บอกล้างโดยชอบแล้วสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่แรก โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดส่งคืนเบี้ยประกันพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนแสวงหาผู้เอาประกันของจำเลยที่ 1ขอให้โจทก์เอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าสัญญาประกันชีวิตได้มาเพราะทำฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เมื่อสัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะโจทก์บอกล้างโดยชอบแล้วสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่แรก โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดส่งคืนเบี้ยประกันพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลจำนอง: แม้มีคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติก็ไม่กระทบอายุความ
เมื่อโจทก์รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 เอาที่ดินที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะขายให้โจทก์โดยโจทก์ได้ชำระราคาบางส่วน และจำเลยได้ยอมให้โจทก์เข้าครอบครองที่นั้นแล้วไปจำนองจำเลยที่ 3 เป็นต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้ว แต่มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
แม้หัวหน้าคณะปฏิวัติจะมีคำสั่งให้รัฐมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 และให้ผู้มีสิทธิภารผูกพันกับที่ดินจากจำเลยที่ 1 ยื่นหลักฐานเรียกร้องที่ดินของ จำเลยที่ 1 ต่อกรมที่ดินได้ แต่เมื่อคำสั่งนั้นออกมาภายหลังที่คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียแล้ว จึงไม่ทำให้อายุความดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
แม้หัวหน้าคณะปฏิวัติจะมีคำสั่งให้รัฐมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 และให้ผู้มีสิทธิภารผูกพันกับที่ดินจากจำเลยที่ 1 ยื่นหลักฐานเรียกร้องที่ดินของ จำเลยที่ 1 ต่อกรมที่ดินได้ แต่เมื่อคำสั่งนั้นออกมาภายหลังที่คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียแล้ว จึงไม่ทำให้อายุความดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลจำนอง: ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่รู้เหตุ เพิกถอนไม่ได้ แม้มีคำสั่งพิเศษ
เมื่อโจทก์รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 เอาที่ดินที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะขายให้โจทก์โดยโจทก์ได้ชำระราคาบางส่วนและจำเลยได้ยอมให้โจทก์เข้าครอบครองที่นั้นแล้วไปจำนองจำเลยที่ 3 เป็นต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้ว แต่มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
แม้หัวหน้าคณะปฏิวัติจะมีคำสั่งให้รัฐมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 และให้ผู้มีสิทธิภารผูกพันกับที่ดินจากจำเลยที่ 1 ยื่นหลักฐานเรียกร้องที่ดินของจำเลยที่ 1 ต่อกรมที่ดินได้แต่เมื่อคำสั่งนั้นออกมาภายหลังที่คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียแล้วจึงไม่ทำให้อายุความดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
แม้หัวหน้าคณะปฏิวัติจะมีคำสั่งให้รัฐมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 และให้ผู้มีสิทธิภารผูกพันกับที่ดินจากจำเลยที่ 1 ยื่นหลักฐานเรียกร้องที่ดินของจำเลยที่ 1 ต่อกรมที่ดินได้แต่เมื่อคำสั่งนั้นออกมาภายหลังที่คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียแล้วจึงไม่ทำให้อายุความดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: นับจากเจ้าหนี้รู้ถึงการฉ้อฉล ไม่ใช่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รู้
ตามธรรมดาบุคคลที่จะ อ้างอาศัยมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของผู้กระทำนิติกรรมการโอนทรัพย์สินเท่านั้น ส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำคำร้องขอต่อศาลในกรณีเช่นนี้ได้ ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้นับก็ย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักนับวันเริ่มต้นอายุความไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นการขยายอายุความออกไปโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
เจ้าหนี้มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
เจ้าหนี้มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: ต้องนับจากวันที่เจ้าหนี้รู้ถึงการฉ้อฉล ไม่ใช่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รู้
ตามธรรมดาบุคคลที่จะ อ้างอาศัยมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของผู้กระทำนิติกรรมการโอนทรัพย์สินเท่านั้น ส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำคำร้องขอต่อศาลในกรณีเช่นนี้ได้ ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้นับก็ย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักนับวันเริ่มต้นอายุความไม่ได้เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นการขยายอายุความออกไปโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบทำให้เกิดการฉ้อฉล โจทก์ขอให้จำเลยร่วมรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
เจ้าหน้าที่ของธนาคารจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเป็นเหตุให้จำเลยอื่นฉ้อฉลโอนที่ดินอันเป็นโมฆียะต้องบอกล้าง แม้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องร่วมรับผิดในการโอนที่ดินคืน ศาลก็ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ได้ ซึ่งศาลจะเรียกจนครบจำนวนที่โจทก์ได้เสียไปเท่านั้น มิใช่คิดค่าธรรมเนียมซ้ำเป็น 2 เท่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โอนที่ดินหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้เสียเปรียบ เพิกถอนการฉ้อฉลได้
โอนที่ดินทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบโดยไม่ได้รับชำระหนี้ไม่ต้องวินิจฉัยว่าเป็นการยกให้ หรือตีใช้หนี้ ก็เพิกถอนการฉ้อฉลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนการขายฝาก: ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากวันที่รู้เหตุฉ้อฉล
การฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินซึ่งอ้างว่าได้กระทำขึ้นโดยไม่สุจริตและฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น จะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน