พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง ธนาคาร
การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของ ว. ไปแล้วปลอมลายมือชื่อของ ว. ลงในใบถอนเงินของธนาคาร และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานธนาคารและรับเงินไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆเป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำแต่ละอย่างจะเป็นความผิดก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทที่จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการรับว่าได้กระทำการต่าง ๆดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่จำเลยจะผิดกฎหมายบทใดเป็นอำนาจศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความร้องทุกข์คดีฉ้อโกง - การให้เงินเพื่อประกันตัว/ค่าทนาย vs. สินบนเจ้าพนักงาน
จำเลยพูดขอเงินจากโจทก์ร่วมจำนวน 600,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกันตัวบุตรของโจทก์ร่วมและจำเลยจะหาทนายความให้โจทก์ร่วมต่อรองจำนวนเงินลงเหลือ 400,000 บาท จำเลยตกลง ข้อเท็จจริงดังกล่าวฟังได้เพียงว่าโจทก์ร่วมให้เงินจำเลยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลยในการที่จะหาทนายความให้บุตรของโจทก์ร่วม และเป็นค่าใช้จ่ายในการขอปล่อยชั่วคราวบุตรของโจทก์ร่วมเท่านั้น ยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าโจทก์ร่วมให้เงินจำเลยนำเงินไปให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยจะนำสินบนไปให้เจ้าพนักงานอันเป็นการใช้ให้จำเลยกระทำผิด โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย ความผิดอันยอมความกันได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงจากการซื้อขายที่ดิน: จำเลยไม่ทราบข้อมูลเวนคืน ไม่ถือว่าปกปิดข้อเท็จจริง
ในขณะที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าที่ดินจะถูกเวนคืน เพียงแต่จำเลยทั้งสองพูดรับรองว่าที่ดินไม่มีภาระผูกพันใด ๆ เท่านั้น ทั้งโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อที่ดินจากจำเลยทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องระวังอยู่แล้วการเวนคืนถึงหากจะมีก็ยังไม่เป็นการแน่นอน ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย พฤติการณ์แห่งคดีจำเลยทั้งสองไม่อาจทราบได้ว่าจะมีการเวนคืนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ถือว่าจำเลยทั้งสองมิได้ปกปิดข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับที่ดินซึ่งตกอยู่ในเขตที่ดินที่ต้องถูกทางราชการเวนคืนโดยทุจริตแต่อย่างใดจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการปกปิดข้อเท็จจริงการอุทิศที่ดิน การฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ ทั้งที่ได้อุทิศที่ดินให้ทางราชการสร้างอ่างเก็บน้ำแล้ว แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์หลงเชื่อซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์โดยการปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้ไปดูและเห็นที่ดินพิพาทเป็นอ่างเก็บน้ำอันเป็นวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นวันใด โดยเบิกความว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์2533 แต่โจทก์ก็ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า วันดังกล่าวคือวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 จึงฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้ไปดูและเห็นที่ดินพิพาทเป็นอ่างเก็บน้ำอันเป็นวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นวันใด โดยเบิกความว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์2533 แต่โจทก์ก็ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า วันดังกล่าวคือวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 จึงฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องที่ดินอุทิศ การฟ้องไม่ขาดอายุความเมื่อโจทก์รู้เรื่องความผิด
จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ ทั้งที่ได้อุทิศที่ดินให้ทางราชการสร้างอ่างเก็บน้ำแล้ว แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบทำให้โจทก์หลงเชื่อซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์โดยการปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้ไปดูและเห็นที่ดินพิพาทเป็นอ่างเก็บน้ำอันเป็นวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นวันใดโดยเบิกความว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์ 2533แต่โจทก์ก็ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า วันดังกล่าวคือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 จึงฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง – อายุความ – วันรู้ความผิด – ฟังได้จากชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด โดยนำสืบแต่เพียงว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 แต่โจทก์ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 เมื่อนำคำพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาฟังประกอบคำเบิกความพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องวันที่ 21พฤษภาคม 2533 จึงไม่เกินกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการกระทำผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อฉ้อโกง: อำนาจฟ้องล้มละลายแม้ยังไม่สิ้นสุดคดีอาญา
บริษัทจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นกรรมการจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 สองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 5 ได้ประกาศชักชวนบุคคลทั่วไปให้ร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนคิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8 ต่อเดือน หรือร้อยละ 96 ต่อปี ซึ่งมากกว่าที่สถาบันการเงินจะพึงให้ได้การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 6 รับเงินจากผู้ร่วมลงทุนแล้วนำไปมอบให้จำเลยที่ 1 รับผลประโยชน์จากจำเลยที่ 1 มามอบให้กับผู้ร่วมลงทุน โดยจำเลยที่ 4ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน1 เปอร์เซ็นต์ ชักชวนให้บุคคลทั่วไปร่วมลงทุนเป็นการที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 แล้วไม่ใช่เป็นตัวแทนของผู้ร่วมลงทุน ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ผู้กู้ยืมเงิน"หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงินและในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย" แม้พระราชกำหนดจะได้บัญญัติไว้ดังกล่าว แต่การที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 ได้ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1และได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย ทั้งนี้เพราะบุคคลธรรมดาอาจร่วมกับนิติบุคคลประกอบกิจการก็ได้แม้จำเลยที่ 4เป็นผู้เสียหายได้ร่วมกับพวกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีอาญาต่อศาลในข้อหาฉ้อโกงประชาชน และความผิดตามพระราชกำหนดว่าด้วยการกู้ยืมเงิน อันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และเป็นโจทก์ ฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 อยู่นั่นเอง พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 6ในข้อหาฉ้อโกงประชาชนและผิดต่อพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ต่อศาลอาญาแม้ศาลอาญาจะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 6แต่พนักงานอัยการโจทก์ยังได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจำเลยที่ 6 ไม่ได้กระทำผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าวก็ตาม แต่ตามเจตนารมย์ของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 10 นั้นแม้ผู้กระทำผิดอยู่ในฐานะผู้ต้องหาและหากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นบุคคลล้มละลายพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ ทั้ง ๆ ที่ในขณะฟ้องยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าผู้กระทำผิดได้กระทำผิดหรือไม่ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6ให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง-โกงเจ้าหนี้: การหลอกลวงเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้
จำเลยกับพวกได้หลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้ไปซึ่งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ซึ่งเป็นของจำเลย และจำเลยนำมามอบให้โจทก์ร่วมยึดถือไว้เป็นประกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวซึ่งโจทก์ร่วมได้ชำระราคาค่าที่ดินให้จำเลยไปครบถ้วนแล้ว โดยจำเลยหลอกลวงว่าจะนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปเป็นประกันที่ศาลโจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยไปความจริงจำเลยไม่ได้มีคดีที่ศาลและมิได้มีเจตนาจะนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปเป็นหลักประกันที่ศาล แต่เมื่อได้ความว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ยังเป็นของจำเลยเอง จึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ร่วม จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ใจความว่า จำเลยมีเจตนาที่จะมิให้โจทก์ร่วมได้รับการจดทะเบียนรับโอนสิทธิในที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งโจทก์ร่วมจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าวจำเลยกับพวกได้จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินนี้ให้แก่ ช. โดยเสน่หาแล้วจำเลยกับพวก ช. ได้ร่วมกันจดทะเบียนโอนขายสิทธิในที่ดินนี้แก่ว. ดังนี้ ย่อมแปลความได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าหากจำเลยไม่โอนสิทธิในที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามสัญญา โจทก์ร่วมจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ ฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ใจความว่า จำเลยมีเจตนาที่จะมิให้โจทก์ร่วมได้รับการจดทะเบียนรับโอนสิทธิในที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งโจทก์ร่วมจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าวจำเลยกับพวกได้จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินนี้ให้แก่ ช. โดยเสน่หาแล้วจำเลยกับพวก ช. ได้ร่วมกันจดทะเบียนโอนขายสิทธิในที่ดินนี้แก่ว. ดังนี้ ย่อมแปลความได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าหากจำเลยไม่โอนสิทธิในที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามสัญญา โจทก์ร่วมจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ ฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอมฉ้อโกงธนาคาร จำเลยทั้งสองมีความผิดตามกฎหมายอาญา
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 266,341 เมื่อข้อหาใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนักไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ข้อหาฉ้อโกงตามมาตรา 341ซึ่งเป็นบทที่เบากว่า จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเอาเอกสารสิทธิถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้ไม่ใช่การทำลายเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสิทธิของโจทก์ไปจากภริยาโจทก์โดยทุจริต แต่จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 เพราะการเอาไปไม่ใช่การถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้หลอกลวงเอาเอกสารสิทธิของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คดีมีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
เอกสารสัญญาแม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียวก็ถือว่าเป็นทรัพย์จำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสัญญาดังกล่าวไปจากภริยาโจทก์โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341
คดีมีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
เอกสารสัญญาแม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียวก็ถือว่าเป็นทรัพย์จำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสัญญาดังกล่าวไปจากภริยาโจทก์โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341