คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ช่วยเหลือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์: การรับของที่รู้ว่าเป็นของผิดกฎหมาย
จำเลยคอยรับถุงแป้งมันสำปะหลังจากคนร้ายที่ลักมาลงบรรทุกเรือของจำเลยซึ่งจอดคอยรับบรรทุกอยู่ที่ท่าน้ำริมตลิ่งห่างจากโกดังที่คนร้ายไปเอาแป้งมา 30 วา อันมิใช่รับส่งกันในที่เกิดเหตุ จึงถือว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ประกอบด้วยมาตรา 86
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335, 83 จำคุก 9 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่า จำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335, 86 จำคุก 6 เดือน ต้องห้ามมิให้ฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864-1865/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือบุตรเขยทำร้ายผู้อื่น และการป้องกันโดยมิชอบ ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์ช่วยเหลือและไม่ได้ห้ามปราม
บุตรเขยจำเลยก่อเหตุวิวาททำร้ายบุตรชายผู้ตายโดยใช้มีดพร้าฟัน ผู้ตายเข้าแย่งมีดพร้าไว้ได้ แล้วใช้มีดพร้านั้นฟันบุตรเขยจำเลย จำเลยซึ่งเป็นพ่อตาเอาปืนมานั่งคอยดูอยู่ เห็นบุตรเขยถือมีดพร้ามาดักฟันบุตรชายผู้ตายก็ไม่ห้ามปราม กลับเข้าไปเอาปืนยิงผู้ตายในระยะห่าง 1 ศอกเศษ ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยจึงเป็นฝ่ายเข้าช่วยเหลือบุตรเขยตน ทั้งการกระทำของผู้ตายก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันบุตรชายของตนด้วย จำเลยจึงจะยกขึ้นอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อป้องกันภยันตรายให้แก่บุตรเขยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสารและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องโทษหลบหนี
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัว เมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำ จึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่ 1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษ จะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการรายงานการหลบหนีของนักโทษ และร่วมกันปลอมเอกสารเพื่อช่วยเหลือ
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัวเมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำจึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำ ดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษจะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดอาญา แม้ผู้กระทำผิดไม่รู้ตัว การช่วยเหลือต้องเข้าข่ายสนับสนุน
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ร่วมกันทำร้ายผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 2, 3 ไม่ได้ทำร้ายและไม่ได้ร่วมรู้เห็นในการทำร้ายมาก่อน แต่ได้จ้องปืนมาทางพยานโจทก์พูดห้ามไม่ให้คนอื่นเกี่ยวข้องในการที่จำเลยที่ 1, 4 ทำร้ายผู้ตายจึงเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1, 4 แม้จำเลยที่ 1, 4 จะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม จำเลยที่ 2, 3ก็เป็นผู้สนับสนุน แต่ไม่ใช่ตัวการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเรียกรับทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
จำเลยและ บ. เป็นสมาชิกสภาเทศบาล จำเลยได้มีจดหมายถึง บ. ให้ช่วยเหลือปลดเปลื้องหนี้สินของจำเลย เพื่อที่จำเลยจะได้สนับสนุนให้ บ. กับคณะดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและ บ. เป็นสมาชิกสภาเทศบาลจำเลยได้เรียกร้องเอาทรัพย์สินจาก บ. เพื่อประโยชน์ของจำเลยเองในการที่จำเลยจะกระทำการเป็นฝ่ายช่วยเหลือสนับสนุน บ. กับคณะให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี ทั้งนี้เป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ แม้ไม่บรรยายว่าเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของผู้เสียหายที่ร่วมมือให้จำเลยติดสินบนเจ้าพนักงานเพื่อช่วยเหลือบุตร ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
บุตรผู้เสียหายต้องหาว่าลักทรัพย์บุคคลอื่น จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านรับจะช่วยเหลือให้หลุดพ้นแต่ต้องให้เงินแก่จำเลยเพื่อเอาไปให้พนักงานสอบสวน ผู้เสียหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลย โดยประสงค์ที่จะให้บุตรของตนไม่ต้องรับโทษนั้น เข้าลักษณะเป็นการที่ผู้เสียหายใช้ให้จำเลยไปกระทำผิด จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวได้
แต่พนักงานอัยการย่อมมีสิทธิดำเนินคดีขอให้ลงโทษจำเลยฐานเรียกเอาเงินเพื่อจะเอาไปจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของจำเลย เพื่อไม่ให้กระทำการอันเป็นโทษแก่บุตรผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 อันเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดินได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำความผิดชิงทรัพย์: พฤติการณ์แวดล้อมบ่งชี้การช่วยเหลือและสนับสนุน
การที่จำเลยยืนอยู่กับพวก พวกของจำเลยเข้าไปทักทายผู้เสียหายที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนแล้วเดินคุยรวมมากับผู้เสียหาย จำเลยเดินรวมมากับพวกของจำเลยด้วย เมื่อถึงที่เกิดเหตุ พวกของจำเลยรัดคอและรูดเอานาฬิกาข้อมือผู้เสียหาย จำเลยยืนกระหนาบอยู่ข้าง ๆ ผู้เสียหาย จำเลยวิ่งหนีเข้าวัด พวกของจำเลยวิ่งตามไปนั้น เป็นพฤติการณ์แวดล้อมที่ถือได้ว่าจำเลยได้ร่วมกระทำความผิดกับพวกของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการชิงทรัพย์: การกระทำที่แสดงเจตนาในการช่วยเหลือการกระทำผิดของผู้อื่น
การที่จำเลยยืนอยู่กับพวก พวกของจำเลยเข้าไปทักทายผู้เสียหายที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนแล้วเดินคุยรวมมากับผู้เสียหาย จำเลยเดินรวมมากับพวกของจำเลยด้วยเมื่อถึงที่เกิดเหตุ พวกของจำเลยรัดคอและรูดเอานาฬิกาข้อมือผู้เสียหาย จำเลยยืนกระหนาบอยู่ข้างๆ ผู้เสียหาย พวกของจำเลยรูดเอานาฬิกาข้อมือได้แล้วจำเลยวิ่งหนีเข้าวัด พวกของจำเลยวิ่งตามไปนั้นเป็นพฤติการณ์แวดล้อมที่ถือได้ว่าจำเลยได้ร่วมกระทำความผิดกับพวกของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด มาตรา 172 และ 189 อาญา: ความเสียหายและวิธีการช่วยเหลือต้องชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา172 แต่ไม่ได้ระบุมาว่า การที่จำเลยแจ้งความเท็จนั้นอาจทำให้ผู้ใดหรือประชาชนเสียหายแม้จะอ่านคำบรรยายฟ้องโดยทั่วไปก็ไม่อาจทราบความข้อนี้ได้ดังนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวนั้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
การช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 นั้น จะต้องกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งคือ 1. โดยให้ที่พัก หรือ 2. โดยซ่อนเร้น หรือ 3. โดยช่วยอย่างอื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม การบรรยายฟ้องมีใจความแต่เพียงว่า จำเลยกล่าวเท็จต่อเจ้าพนักงานในเรื่องทำพินัยกรรมเพื่อช่วยเหลือพวกที่ต้องหาว่าสมคบกันทำพินัยกรรมปลอมเพื่อไม่ให้ต้องโทษและเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์หาว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาถูกจับกุมดังนี้ เป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามมาตรา 189 จะลงโทษจำเลยไม่ได้
of 31