พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำตั๋วสัญญาใช้เงิน: สิทธิของผู้จำนำและผู้รับโอนสิทธิ ผู้จำนำไม่ผูกพันตามตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทกับสัญญาจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความสอดคล้องตรงกัน ด้านหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาท มีข้อความระบุว่า ราคาเป็นจำนำ และมีจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อไว้ ทั้งสัญญาจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวก็มีรายการของตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทที่นำมาจำนำรวมอยู่ด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 3 นำตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทมาจำนำไว้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ตามสัญญาจำนำตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยมีจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อเป็นผู้จำนำไว้ จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 3 สลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ต่อไป การกระทำของจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมใช้ได้เพียงในฐานเป็นคำสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 985 มิใช่ผู้สลักหลังที่ต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังที่ต้องใช้เงินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8795/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับแต่วันทวงถามหนี้ ศาลฎีกายกฟ้องเมื่อพ้นกำหนด
คำให้การของจำเลยทั้งห้านอกจากจะให้การปฏิเสธว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยทั้งห้ายังได้อธิบายถึงเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความไว้ด้วยว่า ตามภาระหนี้ต้นเงินโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเกินกว่า 3 ปี และในส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทั้งห้าก็เกินกว่า 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งแล้ว เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้ารับผิดตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินเพียงอย่างเดียว จำเลยทั้งห้าก็ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในคำให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเรื่องอะไร
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดวันชำระต้นเงินเมื่อทวงถามตาม ป.พ.พ. มาตรา 913 (3) ประกอบกับมาตรา 985 อายุความจึงเริ่มนับเมื่อเจ้าหนี้เดิม หรือโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ใช้สิทธิทวงถามจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากหนังสือฉบับลงวันที่ 19 เมษายน 2539 ว่าเจ้าหนี้เดิมส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่ได้มีการทวงถามให้ชำระหนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ซึ่งพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และแม้คดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดวันชำระต้นเงินเมื่อทวงถามตาม ป.พ.พ. มาตรา 913 (3) ประกอบกับมาตรา 985 อายุความจึงเริ่มนับเมื่อเจ้าหนี้เดิม หรือโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ใช้สิทธิทวงถามจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากหนังสือฉบับลงวันที่ 19 เมษายน 2539 ว่าเจ้าหนี้เดิมส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่ได้มีการทวงถามให้ชำระหนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ซึ่งพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และแม้คดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำฟ้องต้องดูเนื้อหาทั้งหมด ไม่ใช่แค่บางส่วน แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ ยังต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืม
การพิจารณาถึงคำฟ้องของโจทก์ว่าประสงค์จะให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้อะไรจะต้องพิจารณาถึงเนื้อหาของคำฟ้องทั้งหมดประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องเป็นสำคัญ มิใช่พิจารณาแต่ถ้อยคำหรือข้อความเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของคำฟ้องซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและตามตั๋วสัญญาใช้เงินในเวลาเดียวกัน เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธเกี่ยวกับมูลหนี้การกู้ยืมเงิน ดังนั้น แม้จะรับฟังได้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองว่าสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ จำเลยทั้งสองก็ยังคงต้องรับผิดตามมูลหนี้กู้ยืมเงินต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อจำนำ และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 ได้จำนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่บริษัทเงินทุนทรัพย์ ส. เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำ จึงมีฐานะเสมือนเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ผู้จำนำ ดังนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการสลักหลังเพื่อจำนำ การที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจึงมีผลเท่ากับเป็นการสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ผู้รับสลักหลังมีสิทธิเท่ากับผู้รับจำนำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับสลักหลังมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงมีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินและการสลักหลังโดยตัวแทน สิทธิของผู้รับสลักหลังจำกัดเฉพาะไล่เบี้ยผู้ออก
จำเลยที่ 3 จำนำตั๋วสัญญาใช้เงินแก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงมีฐานะเสมือนเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ก็ต้องถือว่าเป็นการสลักหลังเพื่อจำนำ การที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจึงมีผลเท่ากับเป็นการสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ผู้รับสลักหลังมีสิทธิเท่ากับผู้รับจำนำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับสลักหลังมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงมีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่จากการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นบัตรเงินฝาก ทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป เจ้าหนี้เดิมไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ธนาคาร ม. เป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะจ่ายเงินให้แก่ ว. โดยลูกหนี้สัญญากับธนาคาร ม. ว่าจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคาร ม. ต่อมาธนาคาร ม. ได้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ ว. หลังจากนั้นธนาคาร ม. และลูกหนี้ได้ตกลงกันให้ธนาคารเจ้าหนี้เข้ามารับผิดชอบชำระหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแทนลูกหนี้ โดยออกบัตรเงินฝากให้แก่ธนาคาร ม. เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลให้มูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง ธนาคาร ม. ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ในฐานะเป็นผู้รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคาร ม. จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยอาศัยมูลหนี้ดังกล่าวเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน, ดอกเบี้ย, และการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ศาลฎีกาแก้ไขดอกเบี้ยเป็นตามที่ตกลงกัน
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ในข้อ (4) คือ การรับ ออก โอนและสลักหลังตั๋วเงินหรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้อย่างอื่น และตามข้อ (35) ประกอบธุรกิจบริการรับค้ำประกันหนี้สิน ความรับผิด และการปฏิบัติตามสัญญาของบุคคลอื่น การที่จำเลยรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นการค้ำประกันอย่างหนึ่ง จึงเป็นการกระทำตามวัตถุประสงค์ของจำเลย
การออกตั๋วสัญญาใช้เงินและผู้ออกคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี เป็นการตกลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายมิได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน จึงมิใช่การให้กู้ยืมเงินตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 การที่ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ก็มิใช่กรณีเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 ตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงไม่เป็นโมฆะ
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ลูกหนี้แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
บริษัท ป. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ เมื่อถึงกำหนดใช้เงินปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับชำระเงิน ต่อมาบริษัท ป. ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ การที่โจทก์นำตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติไว้ โจกท์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่ตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องให้แก่ผู้ใด โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินได้
ในคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ลูกหนี้โจทก์ระบุอัตราดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้ไว้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยในบัญชีแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ระบุในช่องหมายเหตุว่า ลูกหนี้มิได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ให้เมื่อครบกำหนด แต่ได้มีการตกลงทางวาจาว่า อัตราดอกเบี้ยใหม่จะเป็นร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้นจำเลยผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจะต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ป. ผู้ออกตั๋วแก่โจทก์ จึงต้องรับผิดในต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วย
การออกตั๋วสัญญาใช้เงินและผู้ออกคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี เป็นการตกลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายมิได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน จึงมิใช่การให้กู้ยืมเงินตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 การที่ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ก็มิใช่กรณีเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 ตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงไม่เป็นโมฆะ
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ลูกหนี้แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
บริษัท ป. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ เมื่อถึงกำหนดใช้เงินปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับชำระเงิน ต่อมาบริษัท ป. ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ การที่โจทก์นำตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติไว้ โจกท์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่ตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องให้แก่ผู้ใด โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินได้
ในคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ลูกหนี้โจทก์ระบุอัตราดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้ไว้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยในบัญชีแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ระบุในช่องหมายเหตุว่า ลูกหนี้มิได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ให้เมื่อครบกำหนด แต่ได้มีการตกลงทางวาจาว่า อัตราดอกเบี้ยใหม่จะเป็นร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้นจำเลยผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจะต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ป. ผู้ออกตั๋วแก่โจทก์ จึงต้องรับผิดในต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8328/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันแยกจากตั๋วสัญญาใช้เงิน, ผลกระทบการฟื้นฟูกิจการ, การไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ไว้แก่โจทก์ ความรับผิดของจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ ป.พ.พ. มาตรา 985 ประกอบมาตรา 941 บังคับให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสามหลุดพ้นจากความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน กรณีไม่อาจปรับบทตาม ป.พ.พ. มาตรา 697
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสามหลุดพ้นจากความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน กรณีไม่อาจปรับบทตาม ป.พ.พ. มาตรา 697
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8328/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ลูกหนี้ฟื้นฟูกิจการ ความรับผิดยังคงอยู่
สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท ป. ออกให้ไว้แก่โจทก์ ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985 ประกอบมาตรา 941 บังคับให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้น การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกไว้ต่อโจทก์ แม้ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทดังกล่าวก็ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกของบริษัท ป. ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทำให้หนี้ระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน กรณีนี้ไม่อาจปรับบทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้น การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกไว้ต่อโจทก์ แม้ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทดังกล่าวก็ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกของบริษัท ป. ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทำให้หนี้ระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน กรณีนี้ไม่อาจปรับบทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและการบังคับใช้ พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
เมื่อธนาคาร น. ในฐานะผู้รับอาวัลได้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่สำนักงานพระคลังข้างที่แล้ว ธนาคาร น. ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบด้วย มาตรา 985 และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวมาจากธนาคาร น. เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวภายในอายุความข้างต้นเช่นกัน เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ
พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 5 บัญญัติไว้มีใจความว่า นับแต่วันที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้ก่อขึ้น มิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้ โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 ซึ่งลูกหนี้เป็นบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา 5 ดังกล่าว แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ เท่านั้น ส่วนเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการดังกล่าว ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 5 ข้างต้นจึงไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 5 บัญญัติไว้มีใจความว่า นับแต่วันที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้ก่อขึ้น มิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้ โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 ซึ่งลูกหนี้เป็นบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา 5 ดังกล่าว แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ เท่านั้น ส่วนเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการดังกล่าว ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 5 ข้างต้นจึงไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด