พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4941/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ไม่เป็นทายาท: การร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านไม่ใช่บุตรผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและการมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก แม้สมรสไม่สมบูรณ์ก็ยังมีสิทธิเป็นทายาท
แม้การสมรสระหว่างล. เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นการสมรสซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 เป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ถือเท่ากับไม่มีการสมรส ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ภรรยาของล. ก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1495 เดิม นั้น การสมรสแม้จะไม่ถูกต้องประการใด ก็ยังไม่เป็นโมฆะ นอกจากศาลได้พิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องให้การสมรสระหว่างล. กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะและยังไม่มีคำพิพากษาเช่นนั้น จึงต้องถือว่าการสมรสระหว่าง ล.กับผู้คัดค้านยังมีอยู่ ผู้คัดค้านจึงเป็นทายาทโดยธรรมและมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก การที่ผู้คัดค้านเคยมีสามีมาก่อน ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการมรดก ส่วนการที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเด็กชายธ.เป็นบุตรของล.กับผู้คัดค้านนั้น แม้ไม่ถูกต้องก็เป็นการอ้างไปตามบันทึกในทะเบียนสมรส ซึ่งล.กับผู้คัดค้านแจ้งไว้ กรณีดังกล่าวยังไม่ถึงขนาดให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่เหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4318/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทในทรัพย์มรดกเมื่อทายาทรุ่นก่อนถึงแก่ความตายก่อนแบ่งมรดก ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
บิดาผู้ร้องถึงแก่ความตายหลังเจ้ามรดก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแบ่งปันทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกขณะที่บิดาผู้ร้องมีชีวิตอยู่แต่อย่างใด ทรัพย์มรดกในส่วนที่ตกได้แก่บิดาผู้ร้องย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอันจะขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4254/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: บุคคลภายนอกครอบครองทรัพย์สิน ไม่ใช่ทายาท ไม่ติดอายุความมรดก ต้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิใช่ทายาทและไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเป็นเพียงแต่บุคคลอื่นที่ครอบครองทรัพย์สินของผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทไม่จำต้องเรียกร้องเอาทรัพย์คืนภายใน 1 ปีตามอายุความมรดก เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของผู้ตาย จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทได้จึงต้องคืนให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์มรดก โจทก์มีสิทธิยึดเพื่อชำระหนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอปล่อยทรัพย์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งกันครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดก ระหว่างผู้ร้องทั้งสามกับจำเลยที่ 1และบรรดาพี่น้องคนอื่น ๆ แล้ว กรณีจึงต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสามและจำเลยที่ 1 ยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาท โจทก์สามารถนำยึดมาชำระหนี้ได้ ผู้ร้องทั้งสามจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับผิดหนี้จากการครอบครองทรัพย์มรดก: ผู้ไม่เป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 มีฐานะเพียงผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายเท่านั้นมิได้เป็นภริยา-โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงไม่เป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้หนี้ของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด: การครอบครองปรปักษ์ vs. ทรัพย์มรดก
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ช. ผลของคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์จะอ้างว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ไม่มีอำนาจร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ช. ไม่ได้ เพราะจำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยใช้สิทธิทางศาล และที่ดินพิพาทก็เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยไม่ได้เป็นทรัพย์มรดกของ ช. การกระทำของจำเลยจึงไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ช. และคำพิพากษาไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนแต่อย่างใด ดังนั้น คำพิพากษาดังกล่าวยังคงมีผลผูกพันโจทก์อยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์จากการแก้ไขชื่อผู้รับมรดกโดยไม่มีการลงลายมือชื่อ ทำให้ทรัพย์มรดกตกแก่ทายาทโดยธรรม
เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยจำเลยสละการครอบครองให้แล้ว และพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทเท่าที่โจทก์ครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ว่าพินัยกรรมที่จำเลยอ้างว่า ม. ยกที่พิพาทให้จำเลยตามเอกสารหมาย ล.1 สมบูรณ์หรือไม่ เพราะโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีอยู่แล้ว แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์ในประเด็นข้ออื่น โจทก์ได้กล่าวในคำแก้อุทธรณ์ถึงประเด็นข้อนี้ด้วยว่า พินัยกรรมไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใดคดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ล.1 มีรอยน้ำยาลบหมึกสีขาวลบชื่อผู้รับมรดกแล้วพิมพ์ใหม่เป็นชื่อจำเลย โดยมิได้มีผู้ทำพินัยกรรม พยานและกรรมการอำเภอลงลายมือชื่อกำกับไว้ จึงทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658วรรคสอง จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ทำพินัยกรรมคือตกได้แก่โจทก์ซึ่งรับมรดกแทนที่บิดา กับตกได้แก่จำเลยซึ่งเป็นพี่บิดาโจทก์คนละครึ่ง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้โจทก์จึงได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาศาลล่าง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิในทรัพย์มรดก: การออก น.ส.3ก. โดยไม่ชอบ และการยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ไม่มีสิทธิ
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ที่นาและที่ดินบ้านย่อมตกได้แก่โจทก์และทายาทอื่นรวมทั้ง ว.ด้วยการที่ว. นำที่นาและที่ดินบ้านดังกล่าวไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ ดังนั้นเมื่อต่อมา ว.ถึงแก่กรรม จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ว. ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ว.เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกว. ที่ได้มาโดยไม่มีสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกคืนทรัพย์มรดกจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์มรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน (สินสมรส) และสิทธิในการครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งปัน
โจทก์ฟ้องว่า มารดาโจทก์ยกบ้านพิพาทให้โจทก์ จำเลยเป็นพี่เขยของโจทก์อยู่ในบ้านพิพาทในฐานะผู้อาศัย โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไป จึงบอกกล่าวให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปแต่จำเลยและบริวารเพิกเฉย ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การว่ามารดาโจทก์ไม่มีสิทธิทำนิติกรรมยกบ้านพิพาทให้โจทก์ หนังสือสัญญาให้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าการยกบ้านพิพาทให้โจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร แต่ก็เป็นการปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรสของบิดามารดาโจทก์และ ย.ภริยาจำเลย บิดาโจทก์ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม ย.ภริยาจำเลยครอบครองบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งตามกฎหมาย และจำเลยอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ย.โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างบิดากับมารดาโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องคำให้การมิใช่วินิจฉัยนอกประเด็น