พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำเหมืองแร่ vs. การครอบครองก่อนประทานบัตร: การขัดขวางสิทธิทำเหมืองแร่
จำเลยอยู่ในที่พิพาทมาแต่ปี 2517 ก่อนโจทก์ขอออกประทานบัตรจำเลยไม่เคยให้หลักฐานแสดงความยินยอมให้โจทก์ไปแสดงให้เป็นที่พอใจของพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าโจทก์มีสิทธิทำเหมืองแร่ในเขตที่พิพาทตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มาตรา 50 โจทก์จึงไม่อาจนำประทานบัตรที่ได้รับมาอ้างว่าที่พิพาทอยู่เขตประทานบัตร จำเลยโต้แย้งขัดขวางสิทธิในการทำเหมืองแร่ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาจำกัดตามคำให้การเดิม, ที่ดินพิพาทไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เป็นข้อ-เท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามกรีดยางชั่วคราวเกี่ยวข้องกับการฟ้องละเมิดหรือไม่? ศาลพิจารณาจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยเข้ากรีดยางพาราในที่พิพาทด้วย ดังนั้นการขอให้ห้ามจำเลยกรีดยางพาราในที่พิพาทก่อนศาลมีคำพิพากษาจึงเป็นการห้ามมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: ผู้ครอบครองยังไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการถอนการยึดจากการล้มละลาย
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทรายเดียวกันในคดีแพ่ง ซึ่งถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ของผู้ร้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของผู้ร้อง
แม้ที่ดินพิพาทจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น แต่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รอการพิจารณาคำร้องขอเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ของผู้ร้องไว้ เพราะที่ดินพิพาทถูกยึด ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับสิทธิให้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอให้มีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและให้ถอนการยึดตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 ต้องยกคำร้องขอ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า กรณีเป็นการร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามฎีกาของผู้ร้องต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
แม้ที่ดินพิพาทจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น แต่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รอการพิจารณาคำร้องขอเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ของผู้ร้องไว้ เพราะที่ดินพิพาทถูกยึด ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับสิทธิให้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอให้มีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและให้ถอนการยึดตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 ต้องยกคำร้องขอ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า กรณีเป็นการร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามฎีกาของผู้ร้องต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล/คณะกรรมการ, ที่ดินพิพาท, ข้อเท็จจริงนอกฟ้อง, อำนาจพิจารณา, การซื้อขายที่ดิน
เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องที่โจทก์ทั้งสองได้ขายที่ดินพิพาทคืนนาง ร. เจ้าของเดิมตามคำพิพากษาตามยอมลงวันที่ 27 ธันวาคม 2531เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 19สิงหาคม 2531 และไม่เกี่ยวข้องกับการที่โจทก์ ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทมาจากนาง ร. เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2530 อันเป็นมูลกรณีพิพาทตามฟ้อง ดังนั้น ข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ทั้งสองได้ขายที่ดินพิพาทคืน นาง ร.จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปถึงและโจทก์ทั้งสองฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่ามติของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลหน้าไม้ และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดปทุมธานีใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ ดังนั้นปัญหาที่ว่ามติดังกล่าวมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดินพิพาทไว้ หรือคำวินิจฉัยข้างต้นวินิจฉัยเพียงว่าให้ผู้เช่าทั้งห้าซื้อที่นาพิพาทจำนวนประมาณ 112 ไร่คืน จึงมิใช่สาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เมื่อฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างยอมรับข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในตำบลหน้าไม้ และคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลหน้าไม้มีอำนาจพิจารณาคำร้องขอของโจทก์ที่ 22-26 ได้ แม้โฉนดที่ดินพิพาทจะระบุว่าอยู่ที่ตำบลระแหงแต่โฉนดดังกล่าวก็ออกตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2467 แต่ขณะที่จำเลยที่ 22-26 ร้องต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลหน้าไม้ ที่ดินพิพาทคงอยู่ในตำบลหน้าไม้ การที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่าคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลหน้าไม้ไม่มีอำนาจพิจารณากรณีที่พิพาทของที่ดินดังกล่าวได้ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินเมื่อมีหลักฐานสิทธิในที่ดินเดิม หากศาลพบว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจเพิกถอนโฉนดได้
ฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอน น.ส.3 ก. เลขที่ 1898 ที่มีชื่อจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่า น.ส.3 ก. ดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกโฉนดที่ดินให้จำเลยเป็นโฉนดเลขที่ 20753 ซึ่งในวันชี้สองสถานโจทก์จำเลยแถลงว่าที่ดินพิพาทปัจจุบันมีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 20753 ดังนั้นโฉนดที่ดินเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินแปลงเดียวกับที่ปรากฎตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 1898 เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6313/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลไม่วินิจฉัยเกินเลยเมื่อจำเลยอ้างสิทธิของตนเอง
จำเลยให้การและนำสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1แต่ผู้เดียว โจทก์และจำเลยที่ 2 อยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1ดังนี้ตามคำให้การและทางนำสืบของจำเลยทั้งสองแสดงว่าไม่อาจมีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์แต่อย่างใดจึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองให้การไว้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 เกินกว่าหนึ่งปีชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6267/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาดและการครอบครองแทน ย่อมไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิครอบครองเหนือโจทก์
การยกให้ที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีเพียง น.ส.3ระหว่าง ช. กับจำเลย มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้จำเลยจะเข้าครอบครองที่พิพาทตลอดมา ก็เป็นการครอบครองแทน ช. มิใช่เป็นการยึดถือครอบครองในฐานะเจ้าของ จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินตาม น.ส.3 ดังกล่าวได้จากการขายทอดตลาดของศาล โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทโดยชอบ และแม้โจทก์ยังปล่อยให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทนับแต่วันที่โจทก์ซื้อที่พิพาทจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวเจตนาเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองที่พิพาท จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5991/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีบุกรุกที่ดินสาธารณะ คำพิพากษาผูกพันคู่ความเดิม
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
ที่ดินพิพาท อำเภอวารินชำราบเคยเป็นโจทก์ฟ้อง บ. บิดาจำเลยว่า บ. ได้บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทางราชการได้สงวนหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการบ. จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่สาธารณะ คดีดังกล่าวถึงที่สุด โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า พยานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ที่ทางการหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณประโยชน์และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ปกครองดูแลสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายกลับมาฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นทายาทผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อจาก บ. เป็นคดีนี้อีกว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ปัจจุบันเป็นที่ราชพัสดุสืบต่อจาก บ. ขอให้บังคับขับไล่และจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของ บ. บิดาจำเลย โจทก์ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ นอกจากที่ดินพิพาททั้งสองคดีจะเป็นที่ดินแปลงเดียวกันแล้ว ประเด็นพิพาททั้งสองคดีก็เป็นอย่างเดียวกันว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้โจทก์จำเลยคดีนี้มิใช่เป็นคู่ความคนเดียวกับโจทก์จำเลยในคดีก่อน แต่โจทก์ในคดีนี้ก็เป็นผู้รับผิดชอบปกครองดูแลที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสืบต่อจากโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบสิทธิต่อจาก บ. บิดา ย่อมต้องถือว่าโจทก์จำเลยคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกันผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณ-สมบัติของแผ่นดินจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้มิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
ที่ดินพิพาท อำเภอวารินชำราบเคยเป็นโจทก์ฟ้อง บ. บิดาจำเลยว่า บ. ได้บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทางราชการได้สงวนหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการบ. จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่สาธารณะ คดีดังกล่าวถึงที่สุด โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า พยานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ที่ทางการหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณประโยชน์และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ปกครองดูแลสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายกลับมาฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นทายาทผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อจาก บ. เป็นคดีนี้อีกว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ปัจจุบันเป็นที่ราชพัสดุสืบต่อจาก บ. ขอให้บังคับขับไล่และจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของ บ. บิดาจำเลย โจทก์ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ นอกจากที่ดินพิพาททั้งสองคดีจะเป็นที่ดินแปลงเดียวกันแล้ว ประเด็นพิพาททั้งสองคดีก็เป็นอย่างเดียวกันว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้โจทก์จำเลยคดีนี้มิใช่เป็นคู่ความคนเดียวกับโจทก์จำเลยในคดีก่อน แต่โจทก์ในคดีนี้ก็เป็นผู้รับผิดชอบปกครองดูแลที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสืบต่อจากโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบสิทธิต่อจาก บ. บิดา ย่อมต้องถือว่าโจทก์จำเลยคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกันผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณ-สมบัติของแผ่นดินจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้มิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินฮวงซุ้ยบนที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดิน และสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รายใหม่
ข้อตกลงและทางปฏิบัติระหว่างจำเลย กับ บ. ผู้ซื้อที่ดินพิพาทของจำเลยจากการขายทอดตลาดโดยยอมให้จำเลยมีสิทธิเป็นเจ้าของฮวงซุ้ยซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินพิพาทนั้นมาแต่เดิมเป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลยโดยทางนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 แต่เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรกคงใช้ได้ในฐานะบุคคลสิทธิระหว่างคู่กรณีคือ บ. กับจำเลยเท่านั้นและไม่ว่าโจทก์ผู้รับซื้อที่ดินพิพาทมาจาก บ. จะรู้ถึงข้อความระหว่าง บ. กับจำเลยมาก่อนหรือไม่หรือซื้อที่ดินพิพาทมาด้วยราคาต่ำก็ตาม ก็ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้