พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของธนาคาร: ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
ผู้จัดการสาขาของธนาคารนายจ้างกำหนดให้โจทก์ลูกจ้างเป็นนักกีฬาประเภทกีฬาฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลของธนาคารตามระเบียบว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคาร แม้งานประจำของโจทก์ได้แก่การทำงานเป็นกิจการของธนาคาร ซึ่งเกี่ยวกับการให้กู้เงินและรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปก็ตามเมื่อโจทก์ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลให้ธนาคารที่จัดขึ้นในวันหยุดซึ่งอยู่นอกเวลาทำงานปกติแล้วได้รับบาดเจ็บกระดูกหน้าแข้งขวาอันเล็กหักย่อมเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และหน้าที่ของธนาคาร, อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม, หนังสือมอบอำนาจ
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของธนาคาร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตผิดระเบียบเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจนลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์ร่วมสูงกว่าหลักประกันถึงหกแสนบาทเศษ ดังนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 แล้ว
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการถอนเงิน-จ่ายเช็ค ธนาคารไม่มีความผิด
จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นศึกษาธิการจังหวัดและผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดตามลำดับ ได้ลงชื่อในใบถอนเงินฝากของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่ฝากประจำไว้กับธนาคารจำเลยที่ 4 เพื่อโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมีอยู่แล้วที่ธนาคารจำเลยที่ 4 ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการโจทก์ที่ 1 ว่าด้วยการจัดการกองทุนสงเคราะห์ ฯลฯ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการครูช่วยปฏิบัติงานสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้รับเงินแทนแต่ใบถอนเงินดังกล่าวมิได้ระบุว่า เป็นการถอนเงินเพื่อโอนไปฝากในบัญชีกระแสรายวัน จึงเป็นใบถอนเงินเพื่อรับเงินสดไปจากธนาคาร แม้จำเลยที่ 2 จะได้ทำหนังสือแจ้งธนาคารจำเลยที่ 4 ขอถอนเงินกองทุนสงเคราะห์ฯ ในบัญชีเงินฝากประจำโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันมอบให้จำเลยที่ 1 ไปก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นหนังสือดังกล่าวต่อธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับเงินแล้วก็หลบหนีไป การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพราะเป็นช่องทางให้จำเลยที่ 1 ทุจริตเอาเงินที่ถอนไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวได้โดยง่าย เนื่องจากธนาคารจำเลยที่ 4 ต้องจ่ายเป็นเงินสดให้จำเลยที่ 1 นอกจากนี้การมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ไปถอนเงินเป็นจำนวนมากถึงหกแสนบาทเศษ จำเลยที่ 2 ที่ 3 กลับมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเงินแต่ผู้เดียว จึงเป็นความประมาทเลินเล่อยิ่งขึ้น แม้ตามระเบียบจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีหน้าที่ไปถอนเงินด้วยตนเอง เพราะมีอำนาจหน้าที่ลงนามเป็นผู้ถอนเงิน จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็อาจมอบฉันทะให้ผู้อื่นทำการแทนได้ แต่จะต้องควบคุมดูแล และใช้วิธีการที่รัดกุม รอบคอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตขึ้นได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เปิดช่องให้จำเลยที่ 1 ถอนเงินแล้วเอาเงินสดหลบหนีไปโดยทุจริต จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
สำหรับธนาคารจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการประจำสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 สมุห์บัญชีนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำใบถอนเงินซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะโดยถูกต้องแล้วมายื่นต่อธนาคารเพื่อขอรับเงินสด โดยมิได้ยื่นหนังสือของจำเลยที่ 2 ที่ให้นำเงินเข้าฝากในบัญชีกระแสรายวัน การที่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 6 จ่ายเงินสดให้จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการกระทำตามหน้าที่ มิได้ประมาทเลินเล่อ.
สำหรับธนาคารจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการประจำสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 สมุห์บัญชีนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำใบถอนเงินซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะโดยถูกต้องแล้วมายื่นต่อธนาคารเพื่อขอรับเงินสด โดยมิได้ยื่นหนังสือของจำเลยที่ 2 ที่ให้นำเงินเข้าฝากในบัญชีกระแสรายวัน การที่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 6 จ่ายเงินสดให้จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการกระทำตามหน้าที่ มิได้ประมาทเลินเล่อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค: วันที่ลงเช็คเป็นวันกระทำผิด ธนาคารทราบความผิดทันที
จำเลยออกเช็คลงวันที่ 5 เมษายน 2526 สั่งจ่ายเงินให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดวันที่ระบุในเช็ค ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์นำเช็คพิพาทและบัญชี ของจำเลยมาตรวจดู ปรากฏว่าจำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายเช่นนี้ถือว่าธนาคารโจทก์ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คในวันที่ที่ลงในเช็ค แล้ว วันที่ที่ลงในเช็คจึงเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์และฟ้องจำเลยเมื่อเกิน 3 เดือนนับแต่นั้น คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3966/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าจ้างโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร และการประสบอันตรายระหว่างเบิกเงิน ไม่ถือเป็นการทำงาน
ลูกจ้างตกลงยินยอมให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีของลูกจ้างในธนาคารและได้รับเงินเดือนโดยวิธีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารตลอดมา เช่นนี้ เมื่อนายจ้างโอนเงินค่าจ้างเข้าบัญชีของลูกจ้างที่ธนาคารในเดือนใดแล้ว นายจ้างก็หมดหน้าที่ในการจ่ายค่าจ้างในเดือนนั้น และเป็นการจ่ายเงินค่าจ้างโดยชอบแล้ว ลูกจ้างจะใช้สิทธิเบิกถอนเงินจากธนาคารเมื่อใดเป็นเรื่องส่วนตัวและมิใช่เป็นการปฏิบัติงานให้นายจ้าง แม้นายจ้างจะอนุญาตให้ลูกจ้างไปเบิกถอนเงินค่าจ้างจากธนาคารได้ก็เป็นเรื่องที่มิให้ลูกจ้างถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่เท่านั้นการที่ลูกจ้างประสบอันตรายจนถึงแก่ความตายขณะเดินทางไปเบิกเงินค่าจ้างจากธนาคารจึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนแก่ทายาทของลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค: การปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรกเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ แม้ไม่มีลายลักษณ์อักษร
โจทก์มอบเช็คพิพาทให้ธนาคารตรวจสอบบัญชีของจำเลย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2527 เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบแล้วบอกว่าไม่มีเงินจึงคืนเช็คให้โจทก์ ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินใหม่ เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์แสดงความจำนงขอรับเงินตามเช็คจากธนาคารในวันที่ 26 มกราคม 2527นั้นแล้ว แม้ธนาคารจะมิได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นลายลักษณ์อักษรก็ต้องถือว่าความผิดตามพ.ร.บ.เช็คฯ พ.ศ. 2497มาตรา 3 ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้แต่มาฟ้องคดีเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินคดีโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง กรณีเปิดเผยข้อมูลลับทางการเงินของลูกค้าธนาคาร
จำเลยเป็นธนาคารพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจการค้าด้าน การเงินดังนั้น บัญชีเงินฝากหรือฐานะการเงินของลูกค้าต้องถือว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่พึงเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกและต้องถือว่าเป็นความลับ การที่โจทก์เปิดเผยบัญชีเงินฝากของลูกค้าหรือฐานะการเงินของลูกค้า ย่อมทำให้ลูกค้าของจำเลยสิ้นความไว้วางใจจำเลย มีผลกระทบกระเทือนต่อการดำเนินธุรกิจการค้าของจำเลย เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โจทก์กระทำผิดวินัย แม้จะเกินกว่าหนึ่งปี จำเลยก็มีอำนาจพิจารณาลงโทษโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คขีดคร่อม: ธนาคารจ่ายเงินเข้าบัญชีผู้สั่งจ่ายได้ หากผู้สั่งจ่ายมีอำนาจและไม่ทำให้โจทก์เสียหาย
การที่ธนาคารจำเลยนำเช็คซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะมีคำสั่งในระหว่างเส้นขีดคร่อมนั้นว่า ACCOUNT PAYEE ONLY ไปเข้าบัญชีของจำเลยร่วม โดยกระทำไปตามคำสั่งของจำเลยร่วมซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ มีอำนาจสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ ทั้งไม่ได้ความว่าการที่จำเลยไม่นำเงินตามเช็คดังกล่าวมาเข้าบัญชีโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายธนาคารจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์
เช็คที่มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 แล้ว ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำว่า'โปรดจ่าย' หรือใช้ถ้อยคำว่า 'ให้ใช้เงิน' ก็ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันว่าให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย.
เช็คที่มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 แล้ว ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำว่า'โปรดจ่าย' หรือใช้ถ้อยคำว่า 'ให้ใช้เงิน' ก็ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันว่าให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คระบุชื่อผู้รับเงินขีดคร่อมเฉพาะ ธนาคารจ่ายเงินเข้าบัญชีผู้สั่งจ่ายได้ หากไม่มีเสียหายต่อผู้รับเงิน
การที่ธนาคารจำเลยนำเช็คซึ่งระบุชื่อ โจทก์ เป็นผู้รับเงินและเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ มีคำสั่งในระหว่างเส้นขีดคร่อมนั้นว่าACCOUNTPAYEEONLY ไปเข้าบัญชีของจำเลยร่วม โดยกระทำไปตามคำสั่งของจำเลยร่วมซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ มีอำนาจสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ ทั้งไม่ได้ความว่าการที่จำเลยไม่นำเงินตามเช็คดังกล่าวมาเข้าบัญชีโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหาย ธนาคารจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ เช็คที่มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 988แล้ว ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำว่า "โปรดจ่าย" หรือใช้ถ้อยคำว่า"ให้ใช้เงิน" ก็ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันว่าให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คขีดคร่อมเฉพาะ: ธนาคารจ่ายเงินเข้าบัญชีผู้รับเงินที่ถูกต้องตามอำนาจกรรมการ แม้ขัดกับข้อความในเช็ค ไม่ถือเป็นการละเมิด
การที่ธนาคารจำเลยนำเช็คซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะมีคำสั่งในระหว่างเส้นขีดคร่อมนั้นว่าACCOUNTPAYEEONLY ไปเข้าบัญชีของจำเลยร่วม โดยกระทำไปตามคำสั่งของจำเลยร่วมซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ มีอำนาจสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ ทั้งไม่ได้ความว่าการที่จำเลยไม่นำเงินตามเช็คดังกล่าวมาเข้าบัญชีโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายธนาคารจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์
เช็คที่มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 แล้ว ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำว่า'โปรดจ่าย' หรือใช้ถ้อยคำว่า 'ให้ใช้เงิน' ก็ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันว่าให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย.
เช็คที่มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 แล้ว ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำว่า'โปรดจ่าย' หรือใช้ถ้อยคำว่า 'ให้ใช้เงิน' ก็ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันว่าให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย.