พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการ-ผู้ช่วยจัดการต่อการขาดหายของสินค้าบริษัทจากการประมาทเลินเล่อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการบริษัทโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อจัดการเกี่ยวกับกิจการค้า ทำบัญชีรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินของบริษัทโจทก์ ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ทำให้สินค้าบุหรี่ของบริษัทโจทก์ขาดหายไป ทั้งนี้ เป็นด้วยการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสอง ละเลยมิได้จัดการควบคุมดูแลรักษาตามหน้าที่ จำเลยทั้งสองให้การว่า สินค้าบุหรี่ของบริษัทโจทก์มิได้ขาดหาย หรืออาจจะขาดหายไปก่อนจำเลยเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ซึ่งจำเลยไม่รับรู้ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นข้อต่อสู้ในตัวว่าจำเลยทั้งสองมิได้ประมาทเลินเล่อทำให้บุหรี่ของบริษัทโจทก์ขาดหาย
บุหรี่ของบริษัทโจทก์ขาดหายไปเนื่องจากความทุจริตของเจ้าหน้าที่ในบริษัทโจทก์ หากผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทโจทก์ไม่ปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ ก็ย่อมจะทราบได้ว่าบุหรี่ขาดหายไปจากบัญชี การปล่อยปละละเลยเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้บริษัทโจทก์เสียหาย ผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทโจทก์ต้องรับผิด
บุหรี่ของบริษัทโจทก์ขาดหายไปเนื่องจากความทุจริตของเจ้าหน้าที่ในบริษัทโจทก์ หากผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทโจทก์ไม่ปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ ก็ย่อมจะทราบได้ว่าบุหรี่ขาดหายไปจากบัญชี การปล่อยปละละเลยเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้บริษัทโจทก์เสียหาย ผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทโจทก์ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามการเข้าชื่อซื้อหุ้นก่อนบริษัทจดทะเบียน และผลของการถอนหุ้นก่อนการประกาศจัดตั้ง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106 การที่ผู้ร้องเข้าชื่อซื้อหุ้นบริษัทผู้ล้มละลาย ย่อมต้องถูกผูกพันอยู่ในอันที่จะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้น ฉะนั้น ระหว่างที่เงื่อนไขอันนี้ซึ่งเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนยังไม่สำเร็จผู้ร้องซึ่งได้เข้าชื่อซื้อหุ้นไว้แล้วจะต้องถูกผูกพันอยู่ตลอดไปผู้ร้องจะถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้นหาได้ไม่ และการที่ผู้ร้องถอนหุ้นภายหลังที่บริษัทจำเลยจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว แม้ก่อนประกาศการจดทะเบียนในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใดฉะนั้น เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้ว ผู้ร้องย่อมมีความผูกพันที่จะใช้เงินค่าหุ้นที่ได้เข้าชื่อซื้อไว้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ แม้ไม่มีตราบริษัท ก็ผูกพันบริษัทได้ หากทำในนามบริษัท
โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลยร่วมกันเรื่องผิดสัญญาเช่า จำเลยให้การว่าหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะส่วนตัวเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ต้องรับผิดเพราะหุ้นส่วนผู้จัดการลงชื่อในสัญญาโดยไม่ได้ประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าในการทำสัญญาอื่น ๆ หุ้นส่วนผู้จัดการได้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยไม่ได้ประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัดและสัญญาเช่ารายพิพาทหุ้นส่วนผู้จัดการก็ทำในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ดังนี้ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาเช่ารายพิพาทในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องรับผิดตามสัญญา หุ้นส่วนผู้จัดการไม่ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญาของหุ้นส่วนผู้จัดการ: แม้ไม่มีตราบริษัท แต่ลงนามในฐานะผู้จัดการ ย่อมผูกพันบริษัท
โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลยร่วมกันเรื่องผิดสัญญาเช่า จำเลยให้การว่าหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะส่วนตัวเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ต้องรับผิดเพราะหุ้นส่วนผู้จัดการลงชื่อในสัญญาโดยไม่ได้ประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าในการทำสัญญาอื่นๆ หุ้นส่วนผู้จัดการได้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยไม่ได้ประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัดและสัญญาเช่ารายพิพาทหุ้นส่วนผู้จัดการก็ทำในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดดังนี้ ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาเช่ารายพิพาทในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องรับผิดตามสัญญา หุ้นส่วนผู้จัดการไม่ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทายาทฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ และการแต่งตั้งกรรมการบริษัทที่มิชอบ
เจ้ามรดกมีหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลย เมื่อเจ้ามรดกตายหุ้นของเจ้ามรดกย่อมตกมาเป็นของทายาททันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และ 1600 ทายาท จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ ตามมาตรา 1195 ได้ แม้ว่าบริษัทจำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนทายาทเป็นผู้ถือหุ้นก็ตาม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194 หมายความว่าการประชุมครั้งที่ 2 ต้องประชุมกันในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน และไม่มากกว่า 6 สัปดาห์ นับแต่วันประชุมครั้งที่ 1(มิใช่ว่าต้องมีคำบอกกล่าวนัดประชุมครั้งที่ 2 ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน นับตั้งแต่วันประชุมครั้งที่ 1)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1190 เมื่อผู้ถือหุ้นสองคนขอให้ลงคะแนนลับแล้ว บริษัทจะต้องลงคะแนนลับ หากฝ่าฝืนมติของที่ประชุมย่อมขัดต่อมาตรา 1194 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นร้องขอ ศาลก็สั่งเพิกถอนมติขอ ที่ประชุมใหญ่นี้ได้ตามมาตรา 1195
การขอให้ลงคะแนนลับไม่ใช่เป็นการเข้าประชุมแทนผู้ถือหุ้นและการขอให้ลงคะแนนลับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ถือหุ้นจะต้องไปร่วมประชุมด้วย
กรรมการของบริษัทผู้หนึ่งจะอยู่ในตำแหน่งได้ถึงสิ้นปี 2497 เมื่อกรรมการผู้นั้นตายลง กรรมการที่เหลือเลือกผู้อื่นเป็นกรรมการแทนเมื่อ พ.ศ. 2505 ดังนี้ ย่อมขัดกับมาตรา 1155
เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้น อาจตั้งหรือถอนกรรมการได้ตามมาตรา 1151 ฉะนั้น เมื่อบริษัทไม่มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นจะมาฟ้องขอให้เพิกถอนการตั้งกรรมการมิได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2510)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194 หมายความว่าการประชุมครั้งที่ 2 ต้องประชุมกันในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน และไม่มากกว่า 6 สัปดาห์ นับแต่วันประชุมครั้งที่ 1(มิใช่ว่าต้องมีคำบอกกล่าวนัดประชุมครั้งที่ 2 ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน นับตั้งแต่วันประชุมครั้งที่ 1)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1190 เมื่อผู้ถือหุ้นสองคนขอให้ลงคะแนนลับแล้ว บริษัทจะต้องลงคะแนนลับ หากฝ่าฝืนมติของที่ประชุมย่อมขัดต่อมาตรา 1194 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นร้องขอ ศาลก็สั่งเพิกถอนมติขอ ที่ประชุมใหญ่นี้ได้ตามมาตรา 1195
การขอให้ลงคะแนนลับไม่ใช่เป็นการเข้าประชุมแทนผู้ถือหุ้นและการขอให้ลงคะแนนลับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ถือหุ้นจะต้องไปร่วมประชุมด้วย
กรรมการของบริษัทผู้หนึ่งจะอยู่ในตำแหน่งได้ถึงสิ้นปี 2497 เมื่อกรรมการผู้นั้นตายลง กรรมการที่เหลือเลือกผู้อื่นเป็นกรรมการแทนเมื่อ พ.ศ. 2505 ดังนี้ ย่อมขัดกับมาตรา 1155
เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้น อาจตั้งหรือถอนกรรมการได้ตามมาตรา 1151 ฉะนั้น เมื่อบริษัทไม่มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นจะมาฟ้องขอให้เพิกถอนการตั้งกรรมการมิได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และการรับผิดร่วมของบริษัท
จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูง ขับผิดทางจราจร จนเป็นเหตุให้ชนรถคันอื่นที่เขาอยู่ในเส้นทางแล้ว เช่นนี้ ฟังได้ว่า เหตุทั้งนี้ย่อมเกิดขึ้นด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบริษัทขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ แม้ไม่ใช่เจ้าของรถ
จำเลยเป็นบริษัทกระทำกิจการรับขนคนโดยสาร ต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่โจทก์ซึ่งเป็นคนโดยสาร เว้นแต่การเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของโจทก์ ฉะนั้น แม้รถคันเกิดเหตุจะไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยก็ตาม แต่ถ้ารถคันนั้นอยู่ในความควบคุมของจำเลยและรับส่งคนโดยสารในปกติธุรกิจของจำเลยโดยตรง เมื่อคนขับประจำรถได้ขับรถโดยประมาททำให้โจทก์เสียหายแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบริษัทขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ แม้ไม่ใช่เจ้าของรถ
จำเลยเป็นบริษัทกระทำกิจการรับขนคนโดยสารต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่โจทก์ซึ่งเป็นคนโดยสาร เว้นแต่การเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่ความผิดของโจทก์ ฉะนั้น แม้รถคันเกิดเหตุจะไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยก็ตาม แต่ถ้ารถคันนั้นอยู่ในความควบคุมของจำเลยและรับส่งคนโดยสารในปกติธุรกิจของจำเลยโดยตรงเมื่อคนขับประจำรถได้ขับรถโดยประมาททำให้โจทก์เสียหายแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการในการทำสัญญาและการกระทำแทนบริษัท: แม้ลงชื่อคนเดียวแต่ทำหน้าที่กรรมการผู้จัดการและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท ถือว่าบริษัทผูกพันตามสัญญา
บริษัทจำเลยมีกรรมการ 3 คน ตามข้อบังคับต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อเป็นสำคัญจึงจะผูกพันบริษัท แต่สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีกรรมการคนเดียว ลงชื่อ ตั้งแต่ตั้งบริษัทมากรรมการอีก 2 คนไม่เคยเข้าจัดการ ได้มอบอำนาจให้กรรมการจัดการลงชื่อเป็นผู้จัดการ จึงเป็นการเชิดกรรมการผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ทำการในฐานะตัวแทน ดังนั้น สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญากู้ที่กรรมการที่ลงชื่อได้กระทำไปในหน้าที่กรรมการผู้จัดการ และเป็นตัวแทนบริษัทจำเลยและได้ประทับตราบริษัทไว้ด้วย ถือได้ว่าบริษัทจำเลยได้กระทำนิติกรรมและกิจการกับโจทก์เอง บริษัทจำเลยจะกลับปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
กรรมการบริษัทคนที่ลงชื่อในสัญญากู้ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์เพื่อสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในนามของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยรับไว้แล้ว ถือว่ากรรมการผู้จัดการกระทำไปในนามบริษัทจำเลยทั้งสิ้น มิใช่กระทำการในฐานะส่วนตัว และบริษัทจำเลยได้รับประโยชน์จากการสั่งสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเข้ามาจำหน่ายโดยตรง บริษัทจำเลยจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
กรรมการบริษัทคนที่ลงชื่อในสัญญากู้ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์เพื่อสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในนามของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยรับไว้แล้ว ถือว่ากรรมการผู้จัดการกระทำไปในนามบริษัทจำเลยทั้งสิ้น มิใช่กระทำการในฐานะส่วนตัว และบริษัทจำเลยได้รับประโยชน์จากการสั่งสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเข้ามาจำหน่ายโดยตรง บริษัทจำเลยจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นบริษัทที่ไม่ได้ออกใบหุ้น การโอนทำได้โดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และชื่อในทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน
บริษัทจำกัดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งไว้แล้วแต่ไม่ได้ออกใบหุ้นเลยนั้นการโอนขายหุ้นให้แก่กันในระหว่างผู้ถือหุ้นจึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่
การมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนของทางการนั้นเป็นแต่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายซึ่งอาจนำสืบหักล้างได้
การมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนของทางการนั้นเป็นแต่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายซึ่งอาจนำสืบหักล้างได้