คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกเลิกสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ, บอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, เบี้ยปรับ, หลักประกันสัญญา: สิทธิและขอบเขตการบังคับใช้
จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้ทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลโดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเองเมื่อวันที่31 กรกฎาคม 2535 ซึ่งหมายเรียกดังกล่าวระบุให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมาย จำเลยที่ 2 สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงย่อมอ่านและเข้าใจข้อความในหมายเรียกได้ดีว่าจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำให้การต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมายเรียกนั้นแต่จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กำหนด จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 27 สิงหาคม 2535 ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามที่โจทก์ขอเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ข้ออ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่าไม่เคยถูกฟ้องคดีแพ่งมาก่อนและไม่ทราบกระบวนพิจารณาทางกฎหมาย เข้าใจว่าคงเป็นเช่นเดียวกับคดีอาญาซึ่งจำเลยทั้งสองเคยถูกฟ้องและได้ไปหาทนายความก่อนวันที่ศาลนัดเพียง2 ถึง 3 วันก็ได้นั้น ไม่เป็นเหตุผลให้รับฟังได้
แม้ได้ความจากเอกสารการตรวจรับงานและการจ่ายเงินว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ยึดถือระยะเวลาการทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนด 300 วัน ตามสัญญา โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาพอสมควรแล้ว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387
โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ.ก่อสร้างบ้านต่อจากจำเลยที่ 1ซึ่งก่อสร้างไว้ไม่แล้วเสร็จ โดยตกลงค่าจ้างเป็นเงินจำนวน 3,916,901 บาทและโจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ.ทำการก่อสร้างบ้านต่อจากที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเป็นเงิน 1,816,901 บาทจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มขึ้นดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามที่ได้สัญญาไว้ แต่โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์เป็นเงินเพียง 900,000 บาท และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียง 900,000 บาท
คดีนี้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ทำงานนอกสัญญาจ้างเดิมโดยให้ก่อสร้างรั้วป้อมยามกับศาลาพักร้อนและโจทก์ค้างชำระค่าจ้างดังกล่าวเป็นเงิน 624,000 บาทเศษ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยได้นั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ขอหักกลบลบหนี้จำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองจะขอหักกลบลบหนี้ได้เช่นนั้น ศาลไม่มีอำนาจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยได้
เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 เป็นเรื่องลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ ข้อกำหนดตามสัญญาข้อ 3ที่ว่าถ้าจำเลยผู้รับเหมาเพิ่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่โจทก์ผู้ว่าจ้างมิได้บอกเลิกสัญญาจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันวันละ 5,000บาท มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้นในกรณีจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแยกไว้ชัดแจ้งเป็นส่วนหนึ่งต่างหากแล้ว ส่วนการที่หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร ข้อ 5มีข้อความว่า ในวันทำสัญญานี้จำเลยได้นำหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาทมีกำหนดเวลาค้ำประกันตั้งแต่วันที่สัญญานี้มีผลบังคับใช้จนกว่าจำเลยจะพ้นความรับผิดชอบตามสัญญามามอบให้ผู้ว่าจ้างยึดถือไว้เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา ถ้าระยะเวลาการก่อสร้างต้องล่าช้ากว่ากำหนดเป็นเหตุให้ระยะเวลาต้องยืดออกไปด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม หรือมีเหตุให้จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาเพิ่มขึ้น จำเลยสัญญาว่าจะต่ออายุหนังสือค้ำประกันออกไปหรือเพิ่มจำนวนเงินที่ค้ำประกันให้เพียงพอกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น โดยจะนำมามอบให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์เรียกร้อง และวรรคสองระบุว่า หนังสือค้ำประกันที่จำเลยนำมามอบให้โจทก์ยึดถือไว้ตามวรรคแรก โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยได้มอบงานซึ่งเสร็จสมบูรณ์ให้แก่โจทก์และนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันความชำรุดบกพร่องของอาคารที่สร้างขึ้นตามข้อ 22 มามอบให้โจทก์แล้ว และข้อ 21 ระบุว่า เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยอมให้โจทก์ดำเนินการตามข้อ 21.1 คือริบหลักประกันดังกล่าวในสัญญาข้อ 5 เช่นนี้ ข้อสัญญาเกี่ยวกับหลักประกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 5เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยทั้งสอง แต่ในที่สุดจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันมาวางเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์สัญญาข้อ 5 และข้อ 21.1 ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำขึ้นและปฏิบัติต่อกันเช่นที่กล่าวมานี้จึงเป็นเพียงให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งโจทก์อาจมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเช่นที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 3 เท่านั้น หาใช่เป็นข้อสัญญาเพื่อกำหนดเบี้ยปรับขึ้นใหม่ไม่ และกรณีนี้เมื่อไม่มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 5และ ข้อ 21.1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินจำนวน500,000 บาท ให้แก่โจทก์
(วรรคห้าวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2539)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินทำนาที่เปลี่ยนเป็นบ่อเลี้ยงปลา ไม่อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ทำนาต่อมาจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะการเช่านามาทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา อันเป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นซึ่งยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้เช่าได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับการเช่านาการบอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวก่อนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเปลี่ยนประเภทเป็นการเลี้ยงปลา ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินโจทก์เพื่อทำนาแต่ต่อมาได้เปลี่ยนลักษณะการเช่านามาทำเป็นบ่อเลี้ยงปลาอันเป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นซึ่งยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้เช่าได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับการเช่านาการบอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯโจทก์จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเปลี่ยนประเภทจากนาเป็นบ่อปลา ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ทำนาต่อมาจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะการเช่านามาทำเป็นบ่อเลี้ยงปลาอันเป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นซึ่งยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้เช่าได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับการเช่านาการบอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวก่อนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบอกเลิกสัญญาซื้อขายและเรียกค่าเสียหายจากการส่งมอบสินค้าล่าช้าและชำรุด
สัญญาซื้อขายข้อ 3 ระบุว่าจำเลยผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2528 ส่วนข้อ 10 วรรคแรกระบุว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และข้อ 11 วรรคแรก ระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 10 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสองของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนและในวรรคสามกำหนดว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกัน กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ คดีนี้ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายล่าช้านับแต่วันถึงกำหนดจนถึงวันส่งมอบรวม 13 วัน โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยทั้งสองได้รวมเป็นเงิน 23,920 บาท เมื่อหักเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นเงิน 920,000 บาท แล้ว โจทก์จึงชำระราคาแก่จำเลยทั้งสองไปเป็นเงิน 896,080 บาท ต่อมาภายหลังปรากฏว่า สินค้าที่จำเลยทั้งสองส่งมอบชำรุดบกพร่องและไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ดังนี้ ผลการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ย่อมไม่กระทบกระทั่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการส่งมอบของล่าช้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคท้าย การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเอาค่าปรับจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาข้อ 11 เพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองส่งมอบของล่าช้าโดยหักออกจากราคาที่โจทก์จะชำระแก่จำเลยทั้งสองนั้น ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีถือว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าแก่จำเลยทั้งสองไปจำนวน 920,000บาท เมื่อมีการเลิกสัญญากัน คู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนราคาสินค้าเต็มจำนวนเป็นเงิน 920,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบสินค้าชำรุด การบอกเลิกสัญญา และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขาย
สัญญาซื้อขายข้อ3ระบุว่าจำเลยผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในวันที่15ตุลาคม2528ส่วนข้อ10ระบุว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบตามสัญญาแล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และข้อ11ระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสองของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องและในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฎิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายล่าช้านับแต่วันถึงกำหนดจนถึงวันส่งมอบรวม13วันโจทก์มีสิทธิ์เรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยทั้งสองได้รวมเป็นเงิน23,920บาทเมื่อหักเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นเงิน920,000บาทแล้วโจทก์จึงชำระราคาแก่จำเลยทั้งสองไปเป็นเงิน896,080บาทแต่ต่อมาภายหลังโจทก์พบว่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองส่งมอบชำรุดบกพร่องและไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาดังนี้ผลการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ย่อมไม่กระทบกระทั่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการส่งมอบของล่าช้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคท้ายการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเอาค่าปรับจากจำเลยทั้งสองนั้นย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามบทกฎหมายดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าแก่จำเลยทั้งสองไปจำนวน920,000บาทเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาคู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยทั้งสองจึงต้องคืนราคาสินค้าเต็มจำนวนเป็นเงิน920,000บาทแก่โจทก์ สัญญาซื้อขายข้อ10วรรคสองระบุว่า"ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาด้วย"คดีนี้จำเลยทั้งสองได้ส่งมอบสินคาแก่โจทก์แล้วต่อมาเมื่อโจทก์นำสินค้าไปใช้ปรากฎว่าสินค้าไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรและให้จำเลยรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเนื่องจากโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นได้ตามสัญญาซื้อขายข้อ10วรรคสองเท่านั้นเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเนื่องจากเหตุดังกล่าวแล้วจึงเป็นเรื่องโจทก์ไม่ได้รับสินค้าตามที่สัญญากำหนดไว้ถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบสินค้ามิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองได้ส่งมอบสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาแก่โจทก์และโจทก์ยอมรับไว้โดยจะใช้สิทธิปรับเป็นรายวันโจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันในส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, สิทธิการเช่า, และขอบเขตการบังคับคดีความเสียหายจากสัญญาเช่า
ศาลชั้นต้น ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า การ เคหะ แห่งชาติ เคย มี หนังสือ บอกเลิก การ เช่า ห้อง พิพาท แก่ จำเลย แล้ว จำเลย ก็ ยอมรับ แต่ ปฏิเสธ ว่า หนังสือ บอกเลิก สัญญาเช่า ไม่มี ผลบังคับ เพราะ ได้ มี บัญชา ของ นายกรัฐมนตรี ขณะ นั้น ให้ ระงับ โครงการ รื้อถอน และ ให้ ผู้เช่า รวมทั้ง จำเลย เช่า อยู่ ต่อไป แต่ จำเลย ไม่มี พยาน มา สืบ ให้ เห็น เป็น ดัง ที่ จำเลย อ้าง เพียง กล่าวอ้าง ลอย ๆ ถือว่า การ บอกเลิก การ เช่า มีผล สมบูรณ์ จำเลย อยู่ ใน ห้อง พิพาท โดย ละเมิด การ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า โจทก์ และ โจทก์ร่วม ไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ จำเลย เนื่องจาก การ บอกเลิก การ เช่า ห้อง พิพาท ไม่มี ผล ตาม กฎหมาย นั้น เป็น การ โต้เถียง ข้อเท็จจริง ว่า หนังสือ บอกเลิก สัญญา ไม่มี ผลบังคับ เพื่อ นำ ไป สู่ ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย มีสิทธิ การ เช่า ใน ห้อง พิพาท ดีกว่า โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543(3) อุทธรณ์ ของ จำเลย จึง เป็น อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกา ของ จำเลย ใน ข้อ ที่ ว่า โจทก์ จะ เรียก สำนักงาน ทรัพย์สิน ส่วน พระมหากษัตริย์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ไม่ต้อง ด้วย เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3)( ก ) เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย ว่า กรณี ที่ โจทก์ เรียก สำนักงาน ทรัพย์สิน ส่วน พระมหากษัตริย์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ต้องด้วย เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)( ข ) แล้ว ดังนี้ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย จึง ไม่เป็น การ โต้แย้ง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่ วินิจฉัย ให้ ตาม สัญญาเช่า ระบุ ว่า ผู้เช่า สัญญา จะ เป็น ผู้ดำเนินการ ให้ ผู้ครอบครอง ผู้บุกรุก หรือ บุคคลอื่น ออกจาก สถานที่ เช่า และ สิ่งปลูกสร้าง ใน สถานที่ เช่า จน สามารถ ครอบครอง สถานที่ เช่า ได้ ทั้งหมด โดย ผู้ให้เช่า เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ตาม ที่ ผู้เช่า จ่าย จริง ภายใน วงเงิน ไม่เกิน สิบ ล้าน บาท นั้น สัญญา ได้ ระบุ ไว้ ชัดเจน ว่า ผู้เช่า คือ โจทก์ เป็น ผู้ดำเนินการ โดย ผู้ให้เช่า คือ โจทก์ร่วม เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย จึง เป็น เรื่อง การ กำหนด ค่าใช้จ่าย ใน การ ดำเนินการ ของ โจทก์ มิใช่ เป็น สัญญา เพื่อ ประโยชน์ ของ บุคคลภายนอก ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ร่วม ด้วย นั้น เมื่อ ปรากฏ ตาม คำร้อง เข้า เป็น โจทก์ร่วม ว่า โจทก์ร่วม เพียงแต่ ขอให้ บังคับ จำเลย และ บริวาร ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จาก ห้อง พิพาท และ ห้ามเข้า ไป เกี่ยวข้อง อีก เท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง ใน ส่วน นี้ จึง เป็น การ พิพากษา เกิน ไป กว่า คำขอ อันเป็น การ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ศาลฎีกา สมควร แก้ไข เสีย ให้ ถูกต้อง เป็น จำเลย ไม่ต้อง ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9937/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัมปทานทำไม้ไม่ใช่สัญญาแพ่ง การสั่งหยุดทำไม้ชั่วคราวไม่ถือเป็นการผิดสัญญาและไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
สัมปทานทำไม้เป็นเรื่องที่รัฐบาลอนุญาตให้บุคคลเข้าดำเนินการทำไม้ภายใต้เงื่อนไขระเบียบและกฎหมาย มิใช่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น การที่จำเลยสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงวางโครงการทำไม้และเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงไม่เป็นการผิดสัญญาสัมปทานทำไม้และโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัมปทานทำไม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 389 การที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้เป็นการชั่วคราว มิใช่เป็นการสั่งเพิกถอนสัมปทาน กรมป่าไม้จึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันที่โจทก์วางไว้เพื่อเป็นประกันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัมปทาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9933/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งหักทอนบัญชีกันณวันที่29มกราคม2531เป็นเงิน505,379.05บาทให้เสร็จสิ้นภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือโดยหนังสือของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วยแสดงว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้ที่คงเหลือแล้วจึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1อีกต่อไปถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา859ดังนั้นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงสิ้นสุดลงเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามกฎหมายแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมสิ้นสุดลงทันทีหากจะมีการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปอีกก็จะต้องมีการทำสัญญากันใหม่และในทางปฎิบัติของธนาคารโจทก์หลังจากที่มีการบอกเลิกสัญญาเงินเกินบัญชีแล้วหากลูกค้าต้องการเดินบัญชีต่อก็ต้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีใหม่เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ไม่ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่การกระทำของโจทก์และจำเลยที่1ที่ว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้จำเลยที่1ยังไม่ชำระหนี้และยังสั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีพร้อมทั้งนำเงินฝากเข้าบัญชีลดยอดหนี้หลายครั้งนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด15วันนับแต่วันที่จำเลยที่1ได้รับหนังสือของโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน300,000บาทนั้นจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงดังนี้ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่าจำเลยที่2ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ในการเบิกเงินเกินบัญชีไม่เกินจำนวน300,000บาทเท่านั้นหาใช่จำเลยที่2ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนไม่เพราะมิฉะนั้นแล้วในสัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้โดยชัดเจนให้จำเลยที่2รับผิดโดยไม่จำกัดวงเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9779/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทำไม้: คำสั่งหยุดทำไม้ชั่วคราวไม่ถือเป็นการผิดสัญญา และการบอกเลิกสัญญาโดยความสมัครใจ
ตามสัมปทานข้อ7กำหนดให้สัมปทานอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายกฎและข้อบังคับทั้งปวงที่ประกาศใช้บังคับอยู่แล้วในขณะนี้และที่จะได้ประกาศใช้บังคับต่อไปในภายหน้าผู้รับสัมปทานจะอ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใดๆในสัมปทานเป็นข้อยกเว้นมิให้ต้องถูกบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายกฎหรือข้อบังคับนั้นๆหรือจะอ้างเหตุที่ได้รับหรือจะได้รับโทษตามกฎหมายมาเป็นเหตุไม่ต้องถูกบังคับตามสัมปทานนี้หาได้ไม่การที่คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นรัฐผู้มีอำนาจให้รัฐมนตรีมีคำสั่งหยุดการทำไม้ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงการจัดโครงการทำไม้การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งเป็นคำสั่งที่ใช้รวมกันทุกสัมปทานใน14จังหวัดภาคใต้คำสั่งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกฎและข้อบังคับที่ประกาศใช้บังคับภายหลังมีสัมปทานทำไม้ย่อมมีผลผูกพันโจทก์มิให้อ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใดๆมาเป็นข้อยกเว้นมิให้ถูกบังคับตามคำสั่งดังกล่าวตามสัมปทานทำไม้ข้อ7ได้ สัมปทานข้อ34กำหนดว่า"ถ้าผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอเลิกสัมปทานก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อ2ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ให้สัมปทานทราบว่าประสงค์จะเลิกสัมปทานตั้งแต่เมื่อใดและผู้รับสัมปทานจะหยุดทำไม้นับแต่วันที่แจ้งก็ได้แต่ผู้รับสัมปทานยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัมปทานนี้จนถึงวันที่ผู้ให้สัมปทานกำหนดให้เป็นวันเลิกสัมปทานแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน180วันนับแต่วันที่ผู้ให้สัมปทานได้รับหนังสือแจ้งขอเลิกสัมปทาน การเลิกสัมปทานตามวรรคหนึ่งผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับเงินประกันที่วางไว้ตามข้อ31คืน" ตามข้อสัมปทานดังกล่าวเป็นเรื่องขอเลิกสัมปทานก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัมปทานซึ่งมีกำหนดระยะเวลา30ปีเมื่อโจทก์ได้แจ้งขอเลิกสัมปทานซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัมปทานหนังสือบอกเลิกสัมปทานดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัมปทานโดยความสมัครใจของโจทก์เองโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประกันที่วางไว้คืนทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในสัมปทานข้อ34วรรคสอง
of 103