พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงผู้เสียชีวิตโดยสำคัญผิดเกินสมควรแก่เหตุ และความผิดเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จำเลยมีปากเสียงกับพวกผู้ตายก่อนเกิดเหตุเมื่อผู้ตายเดินมาหาพวก ซึ่งพากันออกมายืนหน้าร้านพร้อมกับจำเลย ผู้ตายก้มลงเก็บของตกห่างจำเลยประมาณ 2 วา จำเลยซึ่งมีอาการเมาสุราอยู่ด้วย สำคัญผิดว่าผู้ตายจะทำร้ายตนจึงชักปืนยิงผู้ตายเช่นนี้เป็นการเข้าใจโดยไม่มีเหตุอันควรและแม้ความสำคัญผิดจะเกิดจากความประมาทก็เป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวที่เกินสมควรแก่เหตุ
ความผิดฐานลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา199 จะต้องกระทำด้วยความมุ่งหมายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด
ความผิดตามมาตรา 200 ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นกระทำในตำแหน่งอันมิชอบ จะต้องมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลอื่น จึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้หากเพื่อช่วยเหลือตัวผู้กระทำผิดเอง และเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 157
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยฆ่าผู้ตายโดยสำคัญผิดอันเกิดจากความประมาท โจทก์ฎีกาให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาได้ เพราะเป็นปัญหาเรื่องกรรมเดียวเป็นผิดกฎหมายหลายบทเมื่อศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปีจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
ความผิดฐานลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา199 จะต้องกระทำด้วยความมุ่งหมายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด
ความผิดตามมาตรา 200 ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นกระทำในตำแหน่งอันมิชอบ จะต้องมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลอื่น จึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้หากเพื่อช่วยเหลือตัวผู้กระทำผิดเอง และเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 157
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยฆ่าผู้ตายโดยสำคัญผิดอันเกิดจากความประมาท โจทก์ฎีกาให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาได้ เพราะเป็นปัญหาเรื่องกรรมเดียวเป็นผิดกฎหมายหลายบทเมื่อศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปีจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งรับมรดกของเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบและไม่มีเจตนาละเมิด
โจทก์ร้องขอรับมรดกที่ดิน โฉนดที่ 5130 ของ พ..ว.ยื่นคำร้องคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช.ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว. ศาลฎีกาวินิจฉัยรับรองไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1927/2506 ว่า ว.มีสิทธิในส่วนของช.ในโฉนดที่กล่าวด้วย. จำเลยที่ 1 ในนามจังหวัด ได้มีหนังสือหารือการปฏิบัติในการสั่งคำร้องของโจทก์มายังจำเลยที่ 2(กรมที่ดิน). จำเลยที่ 2 เห็นว่าคำพิพากษาฎีกาได้วินิจฉัยว่า ว.มีส่วนได้เสียในที่ดินอยู่ด้วย. จำเลยที่ 1 จึงสั่งให้โจทก์และ ว.ลงชื่อร่วมกันในโฉนดในฐานะผู้รับมรดก. และสั่งด้วยว่าฝ่ายใดไม่เห็นพ้องด้วยก็ให้ฟ้องศาลภายใน 60 วัน. มิฉะนั้นจะดำเนินการไปตามคำสั่งต่อไป.ดังนี้ เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการในการออกคำสั่งคำร้องของโจทก์ ได้ปฏิบัติการไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 โดยชอบ. เช่น การประกาศการขอรับมรดกของโจทก์เป็นต้น. ครั้น ว.คัดค้าน ก็ได้ขอความเห็นจากจำเลยที่ 2 อันเป็นสำนักงานต้นสังกัดในการรับผิดชอบ. แสดงว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้การงานเป็นไปโดยถูกต้อง. การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ว.รับมรดกร่วมกับโจทก์ ก็เห็นว่าเนื่องจากหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่า ว.มีส่วนได้ส่วนเสียในที่ดินโฉนดนี้อยู่ด้วย และทั้งสองฝ่ายไม่ยอมตกลงตามข้อเปรียบเทียบของจำเลยที่ 1. จำเลยก็ย่อมสั่งการไปได้ตามที่เห็นสมควร. ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสอง มิได้ก่อการเสียหายอันเป็นละเมิดต่อโจทก์. เพราะถ้าโจทก์หรือ ว.ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของจำเลยที่1ก็ย่อมนำคดีเสนอต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับสินบนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจที่มีอยู่แล้ว ข้อตกลงเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีหน้าที่สืบสวนเกี่ยวกับการกระทำผิดอาญา เมื่อโจทก์รู้ว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น โจทก์มีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดหรือมีหน้าที่ต้องแจ้งการกระทำผิดนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจับกุม หากการะกระทำผิดนั้นเกิดนอกเขตอำนาจของตน การที่โจทก์ไปแจ้งความต่อนายตรวจศุลกากรขอให้จับกุมผู้ลักลอบนำทองคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจับกุม โดยหวังจะขอรับเงินสินบนนำจับในการที่โจทก์จะปฏิบัติหน้าที่ ข้อตกลงในการเรียกและยอมให้เงินสินบนนำจับแก่เจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามหน้าที่ ย่อมมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เพราะมีลักษณะเป็นการที่เจ้าพนักงานเรียกและรับสินบนฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา ข้อตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินสินบนนำจับ
(พิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17-18/2511)
(พิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17-18/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยจากการประสบเหตุฉุกเฉินขณะปฏิบัติหน้าที่: การใช้ความระมัดระวังตามสมควรและการเกิดเหตุบังเอิญ
จำเลยขับรถยนต์ในราชการตำรวจไปตามถนนโดยใช้สัญญาณไฟแดงกระพริบและแตรไซเรนเพื่อนำคนประสพอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาล การขับรถโดยใช้สัญญาณดังกล่าวมิได้หมายความว่าขับได้เร็วเท่าใดก็ไม่เป็นการละเมิดหากเกิดการเสียหายขึ้น แต่จะต้องขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินกว่าที่ควรกระทำในพฤติการณ์เช่นนั้น และต้องใช้ความระมัดระวังในฐานะที่ต้องใช้ความเร็วสูงกว่าธรรมดาตามสมควรแก่พฤติการณ์เช่นนั้นด้วย
จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดยไม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกมาในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกินสมควรตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่งตัดหลัง รถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญ มิอาจคาดหมายได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จาก บุคคลในฐานะที่ประสบเหตุเช่นนั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437
จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดยไม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกมาในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกินสมควรตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่งตัดหลัง รถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญ มิอาจคาดหมายได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จาก บุคคลในฐานะที่ประสบเหตุเช่นนั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทนายจำเลยในการยื่นคำให้การล่าช้า และการปฏิบัติหน้าที่ทนายโจทก์ในชั้นอุทธรณ์
ทนายจำเลยมอบหมายให้ผู้ใดมายื่นคำให้การก็ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของผู้นั้น เสมือนหนึ่งว่าทนายจำเลยมายื่นคำให้การด้วยตนเอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง มิได้บังคับว่าศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งแล้ว ศาลก็มีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปได้ โดยไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ทนายโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ในลักษณะเช่นนี้พอถือได้ว่าเป็นคำแถลงการณ์ ฟังได้ว่าทนายโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายแทนโจทก์ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง มิได้บังคับว่าศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งแล้ว ศาลก็มีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปได้ โดยไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ทนายโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ในลักษณะเช่นนี้พอถือได้ว่าเป็นคำแถลงการณ์ ฟังได้ว่าทนายโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409-410/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานออกเอกสารเท็จเพื่อเอื้อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ถือว่าทุจริต แต่เป็นความผิดปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งครูใหญ่ มีหน้าที่ออกใบสุทธิให้แก่นักเรียนที่ออกไปจากโรงเรียนตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ แม้แบบพิมพ์ใบสุทธิจะอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็เพียงเพื่อออกเป็นใบสุทธิให้แก่นักเรียนซึ่งจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ออกตามระเบียบ ถ้านำไปใช้ในทางที่ไม่ตรงต่อความจริง และผิดระเบียบ ก็เป็นเรื่องผิดหน้าที่ในการใช้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ในการรักษาตามความมุ่งหมายของมาตรา 151 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 157 ตอนแรก กับมาตรา 162 ไม่มีบทบัญญัติว่าจะต้องเป็นการกระทำโดยทุจริต ฉะนั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานออกใบสุทธิโดยจดเปลี่ยนแปลงข้อความไม่ตรงต่อความจริงและผิดระเบียบเพื่อให้พลทหารเอก พลทหารเบ็ญนำไปแสดงต่อผู้บังคับบัญชาในการขอบำเหน็จความชอบนั้น ก็ได้ชื่อว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ราชการทหารในตัว ครบองค์ความผิดตามมาตรา 157 ตอนแรก และมาตรา 162(3) เป็นความผิดตามบทกฎหมายสองมาตราดังกล่าว และให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนัก
สำหรับจำเลยที่ 2 (เป็นครูน้อย โจทก์ฟ้องว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิดดังกล่าว) ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงผู้สนับสนุน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น(จำคุกไม่เกิน 5 ปี ) นั้น การที่ศาลจะรอการลงโทษจำเลยหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดุลพินิจ โจทก์ฎีกาโต้แย้งข้อนี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218.
(ปัญหาที่ 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19-20/2508).
มาตรา 157 ตอนแรก กับมาตรา 162 ไม่มีบทบัญญัติว่าจะต้องเป็นการกระทำโดยทุจริต ฉะนั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานออกใบสุทธิโดยจดเปลี่ยนแปลงข้อความไม่ตรงต่อความจริงและผิดระเบียบเพื่อให้พลทหารเอก พลทหารเบ็ญนำไปแสดงต่อผู้บังคับบัญชาในการขอบำเหน็จความชอบนั้น ก็ได้ชื่อว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ราชการทหารในตัว ครบองค์ความผิดตามมาตรา 157 ตอนแรก และมาตรา 162(3) เป็นความผิดตามบทกฎหมายสองมาตราดังกล่าว และให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนัก
สำหรับจำเลยที่ 2 (เป็นครูน้อย โจทก์ฟ้องว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิดดังกล่าว) ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงผู้สนับสนุน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น(จำคุกไม่เกิน 5 ปี ) นั้น การที่ศาลจะรอการลงโทษจำเลยหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดุลพินิจ โจทก์ฎีกาโต้แย้งข้อนี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218.
(ปัญหาที่ 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19-20/2508).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำรับสารภาพชั้นสอบสวนประกอบพยานหลักฐานอื่น และการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนไว้โดยชอบย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยได้และศาลย่อมอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยชั้นสอบสวนประกอบคำพยานบุคคลของโจทก์ได้
การกระทำของจำเลยที่ฟังได้ว่าจำเลยใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าเพื่อขู่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้ไล่จับจำเลยต่อไปนั้น เป็นการกระทำส่วนหนึ่งตามฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยบังอาจต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานโดยใช้อาวุธปืนยิงแม้จะยังไม่ถึงขั้นยิงทำร้ายเจ้าพนักงานโดยเจตนาฆ่าก็หาใช่นอกข้อหาคำฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ยังลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงนั้นได้
การที่จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อขู่ตำรวจมิให้ไล่จับกุมจำเลยต่อไปนั้นเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานมิให้จับกุมจำเลยหรือมิให้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 บัญญัติเป็นความผิดแล้ว ต้องลงโทษตามมาตรา 140
การกระทำของจำเลยที่ฟังได้ว่าจำเลยใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าเพื่อขู่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้ไล่จับจำเลยต่อไปนั้น เป็นการกระทำส่วนหนึ่งตามฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยบังอาจต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานโดยใช้อาวุธปืนยิงแม้จะยังไม่ถึงขั้นยิงทำร้ายเจ้าพนักงานโดยเจตนาฆ่าก็หาใช่นอกข้อหาคำฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ยังลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงนั้นได้
การที่จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อขู่ตำรวจมิให้ไล่จับกุมจำเลยต่อไปนั้นเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานมิให้จับกุมจำเลยหรือมิให้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 บัญญัติเป็นความผิดแล้ว ต้องลงโทษตามมาตรา 140
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214-215/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การจับกุมและหน่วงเหนี่ยวโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจหลอกให้โจทก์มาด้วยโดยอ้างว่าผู้บังคับกองเรียกให้ไปพบนั้น หาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายไม่
แม้ว่าต่อมาผู้บังคับกองจะสั่งให้จำเลยพาโจทก์ไปหานายร้อยเวรก็ตาม ก็ไม่ถือว่าโจทก์ยอมไปด้วยความสมัครใจ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอตัวกลับ แต่จำเลยยังคงหน่วงเหนี่ยวตัวไว้ จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ซึ่งห้ามไว้เด็ดขาดว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับไม่ได้ นอกจากในกรณี 4 ประการอันบัญญัติเป็นบทยกเว้น การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
แม้ว่าต่อมาผู้บังคับกองจะสั่งให้จำเลยพาโจทก์ไปหานายร้อยเวรก็ตาม ก็ไม่ถือว่าโจทก์ยอมไปด้วยความสมัครใจ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอตัวกลับ แต่จำเลยยังคงหน่วงเหนี่ยวตัวไว้ จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ซึ่งห้ามไว้เด็ดขาดว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับไม่ได้ นอกจากในกรณี 4 ประการอันบัญญัติเป็นบทยกเว้น การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214-215/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การจับกุมโดยไม่มีหมายจับ และการทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจหลอกให้โจทก์มาด้วยโดยอ้างว่าผู้บังคับกองเรียกให้ไปพบนั้น หาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายไม่
แม้ว่าต่อมาผู้บังคับกองจะสั่งให้จำเลยพาโจทก์ไปหานายร้อยเวรก็ตาม ก็ไม่ถือว่าโจทก์ยอมไปด้วยความสมัครใจ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอตัวกลับ แต่จำเลยยังคงหน่วงเหนี่ยวตัวไว้ จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ซึ่งห้ามไว้เด็ดขาดว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับไม่ได้ นอกจากในกรณี 4 ประการอันบัญญัติเป็นบทยกเว้นการกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
แม้ว่าต่อมาผู้บังคับกองจะสั่งให้จำเลยพาโจทก์ไปหานายร้อยเวรก็ตาม ก็ไม่ถือว่าโจทก์ยอมไปด้วยความสมัครใจ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอตัวกลับ แต่จำเลยยังคงหน่วงเหนี่ยวตัวไว้ จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ซึ่งห้ามไว้เด็ดขาดว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับไม่ได้ นอกจากในกรณี 4 ประการอันบัญญัติเป็นบทยกเว้นการกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่จากอาการมึนเมา
จำเลยเสพสุราจนเป็นเหตุให้ตนเมา ครองสติไม่ได้ ขณะอยู่ในถนนสาธารณ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม จำเลยพูดว่า "คุณแกล้งจับผม" คำกล่าวของจำเลยในลักษณะเช่นนี้เป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่