พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในกองมรดก: ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 มีสิทธิเหนือทายาทลำดับที่ 3 แม้มีการประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่1อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายและผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งเกิดจากผู้คัดค้านที่1ขอให้ยกคำร้องขอและตั้งผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแม้ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสองจะขอถอนคำคัดค้านก็เพียงทำให้ข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านระงับไปหาทำให้คำคัดค้านทั้งหมดรวมตลอดถึงเอกสารที่แนบมาไม่มีผลต่อคดีไม่เพราะผู้คัดค้านไม่ได้ยอมรับด้วยว่าคำคัดค้านพร้อมเอกสารที่เสนอต่อศาลไม่ถูกต้องทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆที่ผู้คัดค้านทั้งสองเสนอต่อศาลภายหลังยื่นคำคัดค้านก็ไม่ได้มีการเพิกถอนจึงรับฟังประกอบการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องได้ แม้ผู้คัดค้านที่2จะเพิ่งคลอดและศาลมีคำสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8เดือนว่าผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตามผู้คัดค้านที่2ก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1558วรรคแรกและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่1ผู้ร้องเป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเพราะผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้นขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7421/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำและการตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีไม่ซ้ำกันเนื่องจากประเด็นและจำนวนเงินต่างกัน
เมื่อคดีแรกที่โจทก์ฟ้องจำเลย ศาลแรงงานได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ดังนั้น ในวันที่ 24พฤศจิกายน ปีเดียวกันอันเป็นวันที่โจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีหลังคดีแรกจึงยังไม่ถึงที่สุด ฟ้องโจทก์ในคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก และเมื่อในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องเรียกค่านายหน้าจากการขายจากจำเลยในคดีแรกนั้น โจทก์ยังไม่มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากการขายจากจำเลยที่โจทก์ฟ้องเรียกในคดีหลัง ค่านายหน้าจากการขายที่โจทก์ฟ้องจากจำเลยในคดีหลังจึงเป็นคนละจำนวนกับค่านายหน้าที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยในคดีแรก ประเด็นแห่งคดีทั้งสองเรื่องจึงต่างกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีหลังจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลมีข้อความว่า ข้อ 1 จำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์จำนวน 10,000 บาท ภายในวันที่22 เดือนนี้ โดยจะนำมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไป ข้อ 2 โจทก์ยอมตามข้อ 1 ทุกประการไม่ติดใจเรียกร้องนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นข้อความดังกล่าวหมายความว่า โจทก์ยอมรับเงินจากจำเลยจำนวน10,000 บาท โดยไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเอาเงินตามฟ้อง 54,572.33 บาทซึ่งนอกเหนือจากที่จำเลยยอม หาใช่เป็นการที่โจทก์ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเอาเงินจำนวนอื่นที่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกจากจำเลยอีกไม่คำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ในอันที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในคดีอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมทั้งหมด ไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ไม่ยินยอม
ตามคำฟ้องโจทก์ยืนยันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์มาแต่เดิมขอให้จำเลยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้เป็นของโจทก์ตามสัญญา มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะครอบครองมากว่า10 ปี ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต่อกัน โดยจำเลยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดที่ดินรวมเอาที่พิพาทเข้าด้วยเพื่อแบ่งแยกออกโฉนดที่ดินระหว่างเจ้าของรวม แต่โจทก์ไม่ยอมโดยได้ระวังชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์รวมไปถึงที่พิพาทตามที่ครอบครองมาด้วย จำเลยจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงมีข้อความว่าที่ดินแปลงที่แบ่งแยกจากโฉนดเป็นแปลงที่ 7(ซึ่งหมายถึงที่พิพาท) แบ่งให้โจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยดำเนินการรังวัดไปได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 เจ้าของรวมเพียง 2 คน ทำบันทึกอันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้แบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินของเจ้าของรวม เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 ผู้เป็นเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ตกลงยินยอมในการให้ที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และในขณะที่ทำบันทึกที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นหนี้สินที่เคยยกเป็นข้อต่อสู้ในคดีแบ่งสินสมรสแล้ว แม้ไม่ได้ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยเคยฟ้องโจทก์ขอให้ส่งมอบสินส่วนตัวและแบ่งสินสมรส โจทก์ให้การประการหนึ่งว่าโจทก์เป็นหนี้ธนาคารซึ่งโจทก์กู้มาใช้ในครอบครัว หากต้องแบ่งสินสมรสให้จำเลยแล้วจะต้องหักเงินดังกล่าวกึ่งหนึ่งให้โจทก์ด้วย ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้กล่าวถึงหนี้ดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดการที่โจทก์นำหนี้สินซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมาฟ้องเป็นคดีอีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประนีประนอมยอมความครอบคลุมหนี้สินแล้ว แม้ไม่ได้ระบุชัดเจน
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ส่งมอบสินส่วนตัวและแบ่งสินสมรสโจทก์ให้การว่า โจทก์เป็นหนี้ธนาคาร ก. จำนวน 50,000 บาทซึ่งกู้มาใช้ในครอบครัว หากจะต้องแบ่งสินสมรสให้จำเลยจะต้องหักเงินจำนวน 25,000 บาท ให้โจทก์ด้วย ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมถึงที่สุดโดยไม่ได้กล่าวถึงหนี้จำนวน 50,000 บาท ดังกล่าว เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้ธนาคาร ก. ไปแล้ว โจทก์มาฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดครึ่งหนึ่งเป็นคดีนี้ กรณีเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 วรรคแรก เพราะปัญหาหนี้สินที่โจทก์นำมาฟ้องนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน ซึ่งได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้ว แม้ศาลจะมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานในคดีก่อนก็ตาม และข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเรียกร้องมากไปกว่านี้อีกย่อมหมายถึงหนี้สินที่โจทก์ฟ้องนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ การฟ้องรื้อฟื้นสิทธิที่ระงับแล้ว
ปรากฎตามคำฟ้องว่า ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องมาก่อนวันที่โจทก์ทำข้อตกลงกับจำเลยตามเอกสารหมาย ล.6 แสดงว่าโจทก์จำเลยตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นและมีอยู่ก่อนวันทำเอกสารหมาย ล.6 ให้ถือตามข้อความที่ตกลงกันไว้ในเอกสารฉบับดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและเงินช่วยเหลืออื่นให้แก่โจทก์จำนวน 41,072.75 บาท และโจทก์ตกลงว่าจะไม่เรียกร้องประโยชน์หรือสิทธิอื่นใดจากจำเลยอีก เช่นนี้ข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.6 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ ที่มีข้อพิพาทอยู่ก่อนวันทำข้อตกลงดังกล่าวเป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย ล.6 ตามมาตรา 852 โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้นสิทธิที่ระงับไปแล้วตามกฎหมายขึ้นมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง แม้แต่ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ปรากฏตามคำฟ้องว่า ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องมาก่อนวันที่โจทก์ทำข้อตกลงกับจำเลยตามเอกสารหมาย ล.6 แสดงว่าโจทก์จำเลยตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นและมีอยู่ก่อนวันทำเอกสารหมาย ล.6 ให้ถือตามข้อความที่ตกลงกันไว้ในเอกสารฉบับดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและเงินช่วยเหลืออื่นให้แก่โจทก์จำนวน41,072.75 บาท และโจทก์ตกลงว่าจะไม่เรียกร้องประโยชน์หรือสิทธิอื่นใดจากจำเลยอีก เช่นนี้ข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.6จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ ที่มีข้อพิพาทอยู่ก่อนวันวันทำข้อตกลงดังกล่าวเป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย ล.6 ตามมาตรา 852 โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้นสิทธิที่ระงับไปแล้วตามกฎหมายขึ้นมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันต่อจำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ส. ทนายจำเลยทั้งสามร่วมกับฝ่ายโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสาม การที่ ส. ทนายจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสามมิได้รู้เห็นยินยอมหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามจะต้องไปว่ากล่าวกับ ส.เอง เมื่อจำเลยทั้งสามตั้ง ส. เป็นทนาย-ความดำเนินคดีแทนโดยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ตราบใดที่จำเลยทั้งสามยังมิได้ขอถอน ส. จากการเป็นทนายความของตน การกระทำของ ส.ในฐานะทนายความของจำเลยทั้งสามย่อมจะต้องผูกพันจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลบังคับใช้ได้ในการแบ่งทรัพย์มรดกและหน้าที่ในการโอนกรรมสิทธิ์
การที่จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิในฐานะทายาทและโจทก์จำเลยได้ตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันและทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสืออันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลบังคับกันได้ตามมาตรา 850,1750 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผลแห่งข้อตกลงทำให้ข้อคัดค้านของโจทก์ระงับไป และได้สิทธิในที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ การครอบครองแทนโจทก์ การได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับว่า บางส่วนของที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นของโจทก์ทั้งสี่ การครอบครองที่ดินพิพาทบางส่วนตั้งแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสี่ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสี่ว่าไม่เจตนายึดถือทรัพย์สินแทนโจทก์ต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381การครอบครองของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ตลอดมา จำเลยที่ 1 นำที่พิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และได้แบ่งแยกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ทางราชการได้ประกาศให้บุคคลภายนอกทั่วไปทราบ โจทก์ทั้งสี่ไม่ไปคัดค้าน เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่พิพาทรู้เห็นการกระทำดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะการครอบครองต่อโจทก์ทั้งสี่