คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดีตามข้อตกลงคู่ความ และการบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ (พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์) เหนือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เดิมศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีไว้แล้วต่อมาคู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงว่า ขอสละประเด็นในชั้นชี้สองสถานทั้งหมด และติดใจขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตามคำแถลงที่ศาลชั้นต้นจดไว้นั้น ดังนี้ หมายความว่า ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นในชั้นชี้สองสถานคู่ความขอสละ หาได้หมายความรวมถึงข้อเท็จจริงข้อกฎหมายที่ปรากฏในคำฟ้อง คำให้การที่ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งโจทก์กล่าวอ้าง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธถือว่าจำเลยยอมรับแล้วตามกฎหมายไม่ ศาลจึงย่อมนำมารับฟังและวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน
เมื่อหุ้นพิพาทที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยเป็น หลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129
ในการวินิจฉัยคดีศาลต้องนำกฎหมายมาปรับแก่คดีให้ตรงตามรูปคดีที่พิพาทกัน ไม่จำต้องพิพากษาไปตามคำแถลงของคู่ความหรือตามความประสงค์ของคู่ความ เมื่อฟังว่าเป็นเรื่องพิพาทกันตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอันเป็นกฎหมายพิเศษก็จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่ แม้จะเป็นความประสงค์ของคู่ความหรือคู่ความแถลงขอก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มิใช่การซื้อขายหุ้นตามปกติ แต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษ จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง กำหนด
แม้การซื้อขายหุ้นตามฟ้องจะเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคากว่าห้าร้อยบาทซึ่งกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสอง แต่บทกฎหมายดังกล่าวบังคับเพื่อความสมบูรณ์ขอสัญญาที่ตัวแทนทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างจำเลยซึ่งเป็นตัวการกับโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทน
ประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงินฯ ลงวันที่ 14 เมษายน 2520 ข้อ 1 เป็นระเบียบหรือข้อบังคับที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ถือปฏิบัติ หากสมาชิกใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับ ทั้งการที่โจทก์ออกเงินทดรองซื้อหุ้นให้จำเลยแล้วเรียกร้องให้จำเลยชดใช้คืนก็มิใช่เป็นการพนันขันต่อ แม้จะมีข้อตกลงซื้อขายหลักทรัพย์บางประการขัดกับประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ไม่ทำให้ความผูกพันระหว่างจำเลยกับโจทก์ในฐานะตัวแทนจับตัวการเสียไป
พยานที่ระบุเพิ่มเติมส่วนใหญ่เป็นพยานที่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลวินิจฉัยได้เอง และบางส่วนเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ ศาลไม่รับพยานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิซื้อขายที่ดิน การบอกกล่าวหนี้ และยินยอมของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ ม. โดย ให้ผ่อนชำระราคาต่อมา ม. โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ ก. โดย ล. ยินยอม แล้ว ก. โอนขายสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ ว.อีกทอดหนึ่ง ในการโอนขายสิทธิกันระหว่างก. กับ ว. นั้น ได้ทำหนังสือสัญญาโอนกันตามเอกสารหมาย จ.2 ต่อหน้า ล. และจำเลย จำเลยในฐานะตัวแทนของ ล. ได้ลงชื่อเป็นพยานในเอกสารหมาย จ.2 ด้วย เมื่อ ว. รับโอนสิทธิมาแล้วก็ได้ผ่อนชำระราคาที่ดินต่อจากผู้จะซื้อคนก่อน ๆ ให้แก่จำเลย จำเลยก็รับชำระและออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ ว. ดังนี้ถือได้ว่าเอกสารหมาย จ.2 เป็นหนังสือบอกกล่าวการโอนหนี้ไปยัง ล.ลูกหนี้และล. ได้ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 แล้ว จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล. ต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องไม่เป็นหนี้ที่มีข้อพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องที่มีข้อต่อสู้ยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างขนส่งแร่ดีบุกจากจำเลยเป็นคดีนี้ส่วนจำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เครื่องแยกแร่ตกจากรถของโจทก์ที่รับขนส่ง คดีอยู่ระหว่างพิจารณา และคดีดังกล่าวโจทก์ให้การปฏิเสธความรับผิดอ้างเหตุสุดวิสัย เมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่จำเลยจึงไม่มีสิทธินำมาขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าทำงานนอกเวลาและค่าวันหยุดพักผ่อน: สินจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 575 มีอายุความ 2 ปี
ค่าทำงานในวันหยุดและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแม้จะไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้ในวันหยุดซึ่ง ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติ และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนแก่ลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างมิได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิ เงินทั้งสองประเภทนี้นายจ้างผูกพันต้องจ่ายแก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นสินจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างหรือเงินจ้างดังกล่าวจึงอยู่ภายใต้บังคับ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) ซึ่งมีกำหนด 2 ปี หาใช่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่
การที่จำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์นั้นเป็น เพราะจำเลยเห็นว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องจ่าย ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวันให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การตีความกำหนดชำระรายเดือน, การบอกเลิกสัญญา, และข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่ง
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์มีข้อความว่า ผู้เช่าซื้อสัญญาจะผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือน มีกำหนด 2 เดือน ดังนี้ต้องตีความว่าแบ่งชำระเป็น 2 งวด เดือนละ 1 งวดจะตีความว่าชำระงวดเดียวภายใน 2 เดือนหาได้ไม่
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องบอกเลิกเป็นหนังสือและการเช่าซื้อนั้นผู้ให้เช่าซื้อต้องเอาทรัพย์สินออกให้ผู้เช่าซื้อได้ใช้ การที่ผู้ให้เช่าซื้อยึดเอาทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อคืนไป ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว
สัญญาเช่าซื้อที่ว่าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงคราวเดียวหรืองวดเดียว ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้นั้น แม้จะแตกต่างกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และมิได้เป็นสัญญาที่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสาร 'เอาเงิน' ไม่เป็นหลักฐานการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
ตอนบนของเอกสารมีชื่อและนามสกุลของจำเลย ถัดไปเป็นรายการลงวันเดือนปีและข้อความว่า "เอาเงิน" กับจำนวนเงินต่างๆ กัน รวม 12 รายการ อีก 5 รายการ มีข้อความว่า "ข้าวสาร" และลงจำนวนไว้ว่า 1 กส.บ้าง 1 ถังบ้าง 3 ถังบ้าง และทุกรายการมีชื่อจำเลยลงกำกับไว้ เอกสารดังกล่าวไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3725/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาขายฝากหลังครบกำหนดสัญญาเดิม เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496
สัญญาขายฝากที่ดินมีโฉนดทำเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2520 มีกำหนด 1 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 6 กรกฎาคม 2521 จำเลยผู้ซื้อฝากทำบันทึกไว้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2521 และทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2521 ซึ่งเป็นวันที่ยังไม่ครบกำหนดเวลาขายฝากทั้งสองฉบับ มีใจความว่า ผู้ซื้อฝากยอมให้ผู้ขายฝากต่อสัญญาขายฝากไปอีก 1 ปี โดยรับชำระเงินไว้ 300,000 บาท เงินที่ค้างอีก 320,000 บาท ผู้ขายฝากต้องเสียดอกเบี้ยฉบับหนึ่ง และอีกฉบับหนึ่งมีใจความว่าผู้ซื้อฝากจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่ผู้ขายฝากในวันที่ 6 กรกฎาคม 2522 ข้อความในเอกสารทั้งสองฉบับแสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าเป็นเรื่องที่จำเลยยอมขยายกำหนดเวลาขายฝากให้แก่โจทก์อีก 1 ปี จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 บันทึกทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่ดินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีพ่อค้า: สหกรณ์ขายเชื่อและขอบเขตการเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่ง
สหกรณ์โจทก์จัดอาหารสัตว์มาจำหน่าย แม้โจทก์จะมีระเบียบการให้สินเชื่อแก่สมาชิก ระเบียบดังกล่าวก็เพียงกำหนดวงเงินที่จะให้สินเชื่อและกำหนดวิธีการที่จะควบคุมมิให้ผู้ที่ได้รับสินเชื่อจำหน่ายทรัพย์สินของตนเท่านั้น ซึ่งถ้าสมาชิกหรือบุคคลภายนอกมาขอซื้อสินค้าด้วยเงินสดโจทก์ก็หามีอำนาจควบคุมไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ติดต่อค้าขายกับบุคคลภายนอกจึงต้องถือว่าโจทก์ขายอาหารสัตว์เป็นปกติธุระแก่บุคคลทั่วไป โจทก์จึงเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) และต้องใช้อายุความ 2 ปีในการใช้สิทธิเรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้ปกครองซ้ำซ้อน: ศาลตั้งผู้ปกครองใหม่เมื่อมีผู้ปกครองเดิมอยู่แล้ว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1590
เดิมศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมามีคำสั่งตั้งผู้ร้องคัดค้านเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดมหาสารคามให้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ดังนั้นขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดมหาสารคามผู้เยาว์จึงมีผู้ปกครองอยู่แล้วซึ่งศาลจะตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์อีกไม่ได้ ทั้งกรณีของผู้ร้องก็มิใช่เป็นเรื่องการตั้งผู้ปกครองหลายคน เพราะขอตั้งคนละคราวกับผู้คัดค้าน คำขอของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1590 การที่ศาลจังหวัดมหาสารคามมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 42