พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนรถยนต์ที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้ผู้ซื้อรถยนต์ได้รับความเสียหายจากข้อมูลเท็จในทะเบียน
แม้ทะเบียนรถยนต์มิได้เป็นหลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ในตัวรถยนต์แต่ก็เป็นเอกสารราชการสำคัญ และเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะยังประโยชน์ให้สามารถใช้สอยรถยนต์ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่รับจดทะเบียนรถยนต์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อรับจดทะเบียนรถยนต์โดยไม่ถูกต้อง ทำให้โจทก์ซึ่งซื้อรถยนต์ต่อมาโดยหลงเชื่อในสิทธิของผู้มีชื่อที่ปรากฏในทะเบียนรถยนต์ต้องได้รับความเสียหาย การรับจดทะเบียนรถยนต์ที่ไม่ถูกต้องจึงเป็นเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดข้อผิดหลง และความเสียหายดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชนรถยนต์จากความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่าย ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด
โจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกจ้างขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่ 3ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ให้รับผิดจากการที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่ 2เป็นเงิน 10,000 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัย อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 เป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่า กันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 และ ส. คนขับรถของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ต่างขับรถยนต์ชนกันโดยประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ทั้งสองฝ่ายจึงไม่ต้องรับผิด ต่อ กันจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลย ที่ 2 ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2ผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ที่ชนกับรถยนต์ คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัย และเนื่องจากเป็นคดีเกี่ยวด้วย การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกาก็ให้มี ผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของพนักงานรถไฟและผลต่อความรับผิดทางอาญาต่อการชนจนมีผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นนายตรวจกลประจำโรงจักรดีเซลบางซื่อติดเครื่องยนต์รถจักรดีเซล โดยมิได้ตรวจดูให้แน่ก่อนว่าคันเร่งรอบเครื่องยนต์คันเปลี่ยนอาการและคันบังคับการไฟฟ้าอยู่ในตำแหน่งที่ว่าง และลงจากรถจักรไปโดยไม่ได้ดับเครื่องยนต์ เป็นเหตุให้รถจักรดีเซลแล่นออกไปโดยไม่มีคนขับ ไปชนคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท เครื่องตกรางที่ 1 อยู่ในเขตรางที่ 6 ซึ่งในวันเกิดเหตุมีประกาศปิดรางเพื่อซ่อมจึงเป็นทางปิด เมื่อปิดทางแล้วทางนั้นก็อยู่ในอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางที่จะถอดรางออกถอดประแจ ถอนไม้หมอนออกได้ ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถพ.ศ. 2524 ข้อ 107(1) ที่กำหนดให้ปิดเครื่องตกรางและกลับประแจให้อยู่ในท่าทางประธานนั้นใช้สำหรับทางเปิดเดินรถเป็นปกติไม่ได้ใช้บังคับแก่ทางปิด เพราะทางปิดนั้นตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถห้ามมิให้ขบวนรถผ่านเข้าไปโดยเด็ดขาด จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานควบคุมย่านสถานีรถไฟบางซื่อมีหน้าที่ควบคุมขบวนรถไฟต่าง ๆ ที่ผ่านสถานีรถไฟบางซื่อและควบคุมการเข้าออกของหัวรถจักรดีเซลบริเวณโรงรถจักรดีเซล การที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางที่ 1 โดยไม่ได้ปิด จึงไม่อยู่ในข้อบังคับและระเบียบการเดินรถดังกล่าว อย่างไรก็ตามการที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางที่ 1 ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางขอให้เปิดเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางนำรถผลักเบาบรรทุกอุปกรณ์การซ่อมทางเข้าไปจึงนับว่ามีเหตุผลอันสมควรในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางที่ 1 นั้น รถจักรดีเซลคันเกิดเหตุได้แล่นออกไปโดยไม่มีคนขับและก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเหตุให้คนตายและบาดเจ็บ ที่ปลายทางสถานีรถไฟหัวลำโพงซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจคาดคิดได้ว่าจะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น จึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด, อำนาจฟ้อง, ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รัฐ, การเก็บรักษาเงินและใบเสร็จรับเงิน
จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มี อำนาจฟ้องนั้นวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 จึงถือว่าจำเลยที่ 2 มิได้ยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร จึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามป.วิ.พ. มาตรา 142(5) คณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งสอบสวนเสร็จส่งเรื่องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา และผู้ว่าราชการจังหวัดได้ส่งเรื่องให้อธิบดีของโจทก์ดำเนินคดี ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ต้องรับผิดในวันที่อธิบดีของโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดี ภายใน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งโดยปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บรักษาใบเสร็จรับเงินสมุดทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงินเพียงคนเดียว จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวมาเป็นเวลานานก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมารับราชการที่สำนักงานนั้น ถือเป็นธรรมเนียม ปฏิบัติหาได้ไม่ และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, อายุความ, ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขึ้นเป็นประเด็นในคำให้การไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องนั้นวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 จึงถือว่าจำเลยที่ 2 มิได้ยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) คณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งสอบสวนเสร็จส่งเรื่องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา และผู้ว่าราชการจังหวัดได้ส่งเรื่องให้อธิบดีโจทก์ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องรับผิดในทางแพ่งอธิบดีของโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน2526 ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2527 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้างานรับผิดชอบการปฏิบัติราชการ กำกับควบคุมงานการเงินบัญชีและธุรการสารบรรณทั้งหมด มีหน้าที่ดูแลเก็บรักษาใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม ใบเสร็จรับเงินค่าภาษี แต่กลับไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บรักษาใบเสร็จรับเงิน สมุดทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงินเพียงคนเดียวจึงเป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 ทุจริต นำใบเสร็จรับเงินเล่มที่ยังไม่ถึงกำหนดนำออกใช้ เอาออกมาใช้รับเงินค่าภาษีรถและไม่ลงบัญชีไม่นำส่งเงินตามระเบียบ ได้เบียดบังเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวมาเป็นเวลานานก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมารับราชการที่สำนักงานเกิดเหตุถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อปัดความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่แต่ละคัน และการแบ่งความรับผิด
รถ 5 คันขับตามกันมาในทิศทางเดียวกัน ธ.เป็นผู้ขับรถคันที่ 4 ซึ่งเป็นคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ จำเลยเป็นผู้ขับรถคันที่ 5 แล่นตามมา ธ. ขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังหยุดรถไม่ทัน เป็นเหตุให้ไปชนรถคันที่ 3 ที่แล่นนำหน้าอยู่ และเป็นผลทำให้จำเลยที่ขับรถคันที่ 5 ตามมาด้วยความประมาทเช่นกัน หยุดรถไม่ทัน จึงชนท้ายรถคันที่ 4 อักคันหนึ่ง กรณีเช่นนี้ ธ. ผู้ขับรถคันที่ 4ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ตนขับแต่ประการใดดังนั้น ค่าเสียหายที่รถคันที่ 4 จะได้รับจากการที่ถูกรถคันที่ 5 ชน จะพิจารณาโดยอาศัยพฤติการณ์ที่ ธ. ผู้ขับรถคันที่ 4 ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 โดยถือว่า ธ.หรือจำเลยผู้ใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด ย่อมไม่ได้ ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับ ต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากคำสั่งอายัดทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง แม้ตรวจสอบแล้ว แต่ยังประมาทเลินเล่อ
โจทก์เป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัท ต. กรมสรรพากร จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ออกคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างก่อสร้างทางหลวงที่โจทก์พึงจะได้รับจากกรมทางหลวง โดยอ้างว่าโจทก์คือบริษัท ต.ซึ่งค้างชำระค่าภาษีอากรแก่จำเลยที่ 1 โดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกระทำผิดพลาดไปโดยไม่ตรวจสอบให้รอบคอบเสียก่อนออกคำสั่งอายัดเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย ไม่ได้รับเงินดังกล่าวจากกรมทางหลวง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากคำสั่งอายัดทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง แม้ตรวจสอบแล้ว แต่ยังประมาทเลินเล่อ
บริษัทโจทก์เป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัท ต.กรมสรรพกรจำเลยที่ 1 โดย จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างก่อสร้างทางหลวงที่โจทก์พึงจะได้รับจากกรมทางหลวงอ้างว่าโจทก์คือบริษัทต. ซึ่งค้างชำระค่าภาษีอากรแก่จำเลยที่ 1 โดย อาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกระทำผิดพลาดไปโดย ไม่ตรวจสอบให้รอบคอบก่อนออกคำสั่งอายัด เป็นการประมาทเลินเล่อโดย ผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินจากกรมทางหลวงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรุกล้ำที่ดิน การประมาทเลินเล่อ และความสุจริตของผู้ก่อสร้าง
จำเลยทราบดีว่าที่ดินข้างเคียงมีเจ้าของและที่ดินของจำเลยกับที่ดินข้างเคียงเป็นที่ดินมีโฉนด ก่อนทำการก่อสร้างจำเลยควรรังวัดสอบเขตให้ตรงกับโฉนดที่ดินของจำเลยเสียก่อน แต่จำเลยไม่กระทำจึงเป็นการก่อสร้างตามอำเภอใจ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงทราบแล้วไม่คัดค้านหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินในขณะที่จำเลยทำการก่อสร้างเมื่อตึกแถวที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคแรกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่สถานธนานุเคราะห์ กรณีทุจริตลักทรัพย์ จำเลยไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อ
การที่จำเลยที่ 2 พนักงานเก็บของลางานอยู่เสมอเพราะเหตุเจ็บป่วยแล้วจำเลยที่ 3 ผู้ช่วยพนักงานเก็บของสามารถเข้าไปในห้องเก็บของได้นั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ปล่อยให้จำเลยที่ 3กระทำการแทนโดยตลอด การที่จำเลยที่ 2 ออกไปช่วยคนอื่นทำงานบ้างเล็กน้อย เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 2 ไม่มีงานของตนเองที่จะต้องทำนั้น ไม่ถือเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ และการที่จำเลยที่ 3 ลักลอบเอาทรัพย์ที่รับจำนำไปจากห้องเก็บของนั้นแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยที่ 3 ได้กระทำโดยปกปิดมิให้ผู้อื่นโดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ทราบ แม้แต่ผู้ตรวจการซึ่งมา ตรวจ เป็นประจำก็ยังไม่ทราบ จนกระทั่งมีการร้องขอให้มีการตรวจเป็นพิเศษจึงทราบทั้งไม่มีระเบียบกำหนดให้พนักงานเก็บของต้องตรวจสิ่งของเป็นประจำทุกเดือนหรือในกำหนดเวลาเท่าใด ประกอบกับไม่ปรากฏพฤติการณ์น่าสงสัยว่าจำเลยที่ 3 กระทำการทุจริตมาก่อน เช่นนี้พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ถึงขนาดที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย.