พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1476/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์ประวิงคดีและการจำหน่ายคดีเนื่องจากไม่วางเงินประกัน
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์โดยไม่มีมูลฟังได้ในเบื้องต้นว่าประวิงให้ชักช้าศาลชั้นต้นสั่งให้วางเงินประกันค่าเสียหาย 3,000 บาท ผู้ร้องไม่วางเงินตามกำหนด ศาลจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเช่าที่ดิน, การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลของหน่วยงานรัฐ, และการประวิงคดี
การที่จำเลยเช่าที่ดินบริเวณสวนลุมพินีกับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์คราวละ 1 ปีนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ หากเช่าเกินกว่า 1 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยก่อน เช่นนี้ เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่ากระทรวงมหาดไทยให้โจทก์มีอำนาจให้เช่าที่พิพาทได้คราวละ 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าที่พิพาทได้ เมื่อโจทก์มีสิทธิให้เช่าแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าตามสัญญาได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวงประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวงเทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบยกเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โดยได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวงประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวงเทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบยกเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โดยได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่า, นิติสัมพันธ์เทศบาล/กรุงเทพมหานคร, การประวิงคดี และค่าเสียหายจากการ占ครองพื้นที่
การที่จำเลยเช่าที่ดินบริเวณสวนลุมพินีกับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์คราวละ 1 ปีนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ หากเช่าเกินกว่า 1 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยก่อน เช่นนี้เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่ากระทรวงมหาดไทยให้โจทก์มีอำนาจให้เช่าที่พิพาทได้คราวละ 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าที่พิพาทได้เมื่อโจทก์มีสิทธิให้เช่าแล้วโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าตามสัญญาได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวง ประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฏกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลกรุงเทพ เทศบาลธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวง เทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการทรัพย์สิน หนี้ ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวง ประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฏกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลกรุงเทพ เทศบาลธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวง เทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการทรัพย์สิน หนี้ ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันเพื่อป้องกันการประวิงคดีและการพิจารณาค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อมีหลักฐานเบื้องต้นว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์เข้ามาเพื่อประวิงคดี ศาลสั่งให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288(1) มิฉะนั้นให้จำหน่ายคดี
ศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับได้เป็นดุลพินิจของศาล ไม่จำต้องให้ผู้แพ้คดีในที่สุดเป็นผู้เสียก็ได้
ศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับได้เป็นดุลพินิจของศาล ไม่จำต้องให้ผู้แพ้คดีในที่สุดเป็นผู้เสียก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 25-27/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ที่ไม่ใช่ของลูกหนี้: ศาลมีอำนาจสั่งวางเงินประกันเพื่อป้องกันความเสียหายจากการประวิงคดี
เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องว่าทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา และขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคแรกเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล แม้ต่อมาศาลจะสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องตามมาตรา 288(1) แต่ผู้ร้องก็ยังคงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นอยู่ โจทก์จึงขอให้ขายทรัพย์พิพาทไม่ได้
เมื่อโจทก์เห็นว่า ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่พิพาทเข้ามานั้นไม่มีมูล และยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า โจทก์ก็ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ผู้ร้องวางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสำหรับความเสียหายที่อาจได้รับนั้นได้ และเมื่อศาลพิจารณาเป็นเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ร้องวางเงินต่อศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนดได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทน ฯลฯ ตามมาตรา 288(1)(อ้างฎีกาที่ 1293/2514)
เมื่อโจทก์เห็นว่า ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่พิพาทเข้ามานั้นไม่มีมูล และยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า โจทก์ก็ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ผู้ร้องวางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสำหรับความเสียหายที่อาจได้รับนั้นได้ และเมื่อศาลพิจารณาเป็นเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ร้องวางเงินต่อศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนดได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทน ฯลฯ ตามมาตรา 288(1)(อ้างฎีกาที่ 1293/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันค่าสินไหมทดแทนในคดีร้องขัดทรัพย์ เพื่อป้องกันการประวิงคดี
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา บริษัทผู้ร้องโดย พ. กรรมการผู้จัดการร้องขัดทรัพย์ ก่อนชี้สองสถาน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องวางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288(1) เมื่อปรากฏว่า พ. ซึ่งยื่นคำร้องแทนบริษัทผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ โดยเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดตามคำพิพากษากับจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว ที่ดินที่นำยึดก็มีชื่อในโฉนดเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องเป็นแต่อ้างว่าให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อแทนไว้ พยานหลักฐานเบื้องต้นจึงพอแสดงว่า คำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลย่อมสั่งให้ผู้ร้องวางเงินต่อศาลได้ และการวางเงินเช่นนี้เป็นเพียงเพื่อประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่โจทก์อาจได้รับเท่านั้น ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องได้รับความเสียหายจริง ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์โดยไม่มีมูลและประวิงคดี ศาลมีอำนาจสั่งวางเงินประกันค่าสินไหมทดแทน
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา บริษัทผู้ร้องโดย พ.กรรมการผู้จัดการร้องขัดทรัพย์ ก่อนชี้สองสถาน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องวางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288(1) เมื่อปรากฏว่า พ.ซึ่งยื่นคำร้องแทนบริษัทผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีนี้โดยเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดตามคำพิพากษากับจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว ที่ดินที่นำยึดก็มีชื่อในโฉนดเป็นของจำเลยที่ 1ผู้ร้องเป็นแต่อ้างว่าให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อแทนไว้ พยานหลักฐานเบื้องต้นจึงพอแสดงว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูล และยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลย่อมสั่งให้ผู้ร้องวางเงินต่อศาลได้ และการวางเงินเช่นนี้เป็นเพียงเพื่อประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่โจทก์อาจได้รับเท่านั้น ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องได้รับความเสียหายจริงๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1018/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีโดยทนายโจทก์ที่เพิ่งแต่งตั้ง: ศาลฎีกาพิจารณาเหตุผลสมควรและไม่เป็นการประวิงคดี
ทนายโจทก์คนแรกได้ขอถอนตัวจากการเป็นทนายให้โจทก์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2516 ต่อมาวันที่ 3 ธันวาคม 2516 โจทก์แต่งตั้งให้ ส.เป็นทนายคนใหม่ และในวันเดียวกันนั้น ส. ก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลจังหวัดนครปฐมซึ่งนัดไว้ก่อน ดังนี้การขอเลื่อนคดีของ ส.ทนายโจทก์เป็นการขอเลื่อนครั้งแรก และได้ยื่นคำร้องก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า "หากทนายไม่ว่าง ให้รีบแถลงศาล" เหตุที่ขอเลื่อนก็เป็นเหตุสมควร ไม่ใช่เป็นการประวิงคดี ทั้งทนายจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องขอเลื่อนคดีของโจทก์ จึงสมควรให้เลื่อนคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีเนื่องจากความเจ็บป่วยและการไม่มาศาลของพยาน ศาลต้องพิจารณาเหตุผลสมควรและไม่ถือว่าประวิงคดี
ศาลอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเพราะทนายโจทก์ป่วยมาครั้งหนึ่งแล้ว โดยกำชับว่านัดหน้าถ้าขอเลื่อนด้วยความเจ็บป่วยของทนายโจทก์หรือตัวโจทก์อีก จะพิจารณาสั่งโดยเคร่งครัดพอถึงวันนัดครั้งที่สอง ทนายโจทก์แถลงว่าตัวโจทก์ป่วยเป็นโรคท้องร่วงมาศาลไม่ได้ พยานอื่นได้รับหมายแล้วไม่มาศาลสองคน และบวชอยู่ต่างจังหวัดส่งหมายไม่ได้อีกหนึ่งคน จึงขอเลื่อนคดีทนายจำเลยไม่คัดค้านเช่นนี้ ตามข้ออ้างของทนายโจทก์ที่ว่าตัวโจทก์ป่วยนั้น เมื่อทนายจำเลยไม่คัดค้านย่อมแสดงว่าฝ่ายจำเลยรับว่าตัวโจทก์ป่วยจริง ยังไม่มีเหตุควรสงสัยว่าโจทก์แกล้งประวิงคดีโดยอ้างความเจ็บป่วยอันเป็นเท็จ ส่วนพยานอื่นของโจทก์ที่ไม่มาศาลก็มีเหตุผลอันสมควรที่โจทก์จะขอเลื่อนคดีได้ เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจอันใดที่จะบังคับให้พยานอื่นซึ่งได้รับหมายแล้วมาศาลได้ จึงไม่มีเหตุอย่างใดที่จะฟังว่าโจทก์ไม่นำพาต่อคดีหรือประวิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเช่าอสังหาริมทรัพย์และประวิงคดี: หลักฐานสัญญาเช่า, ดุลยพินิจศาล, เจตนาประวิงคดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับแต่เพียงว่าในการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้เท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องแนบสัญญาเช่าหรือหลักฐานการเช่ามาพร้อมกับคำฟ้องด้วย จึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ทั้งไม่มีกฎหมายบทใดบังคับไว้เช่นนั้นด้วย
การที่ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไปทีเดียว หรือจะรอไว้วินิจฉัยในคำพิพากษานั้น เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นและปัญหากฎหมายที่จำเลยขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นนั้น แม้จะวินิจฉัยชี้ขาดก็ไม่เป็นคุณแก่จำเลย เพราะข้ออ้างของจำเลยฟังไม่ขึ้น ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจะพิจารณาวินิจฉัยพร้อมคำพิพากษาให้ดำเนินการสืบพยานไป ดังนี้ชอบด้วยกระบวนพิจารณาความแล้ว
ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีเพราะจำเลยไม่มาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง และทนายจำเลยแถลงด้วยว่านัดหน้าถ้าจำเลยไม่มาศาล ก็จะไม่ขอเลื่อน ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยกลับไม่เตรียมพยานมาและขอเลื่อนอีก ศาลชั้นต้นไม่ยอมให้เลื่อนและให้ทนายจำเลยนำจำเลยเข้าเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยก็ไม่ยอมนำเข้าเบิกความ ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะประวิงคดีเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีล่าช้า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้เลื่อนวันสืบพยาน และถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน และไม่มีพยานมาสืบจึงเป็นการชอบ
การที่ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไปทีเดียว หรือจะรอไว้วินิจฉัยในคำพิพากษานั้น เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นและปัญหากฎหมายที่จำเลยขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นนั้น แม้จะวินิจฉัยชี้ขาดก็ไม่เป็นคุณแก่จำเลย เพราะข้ออ้างของจำเลยฟังไม่ขึ้น ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจะพิจารณาวินิจฉัยพร้อมคำพิพากษาให้ดำเนินการสืบพยานไป ดังนี้ชอบด้วยกระบวนพิจารณาความแล้ว
ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีเพราะจำเลยไม่มาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง และทนายจำเลยแถลงด้วยว่านัดหน้าถ้าจำเลยไม่มาศาล ก็จะไม่ขอเลื่อน ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยกลับไม่เตรียมพยานมาและขอเลื่อนอีก ศาลชั้นต้นไม่ยอมให้เลื่อนและให้ทนายจำเลยนำจำเลยเข้าเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยก็ไม่ยอมนำเข้าเบิกความ ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะประวิงคดีเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีล่าช้า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้เลื่อนวันสืบพยาน และถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน และไม่มีพยานมาสืบจึงเป็นการชอบ