คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปลอมเอกสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 284 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโฉนดที่ยังมิได้ส่งมอบโดยเจ้าพนักงานไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
โจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานได้ทำเสร็จเรียบร้อย และประกาศแจกโฉนดให้ราษฎรแล้ว โจทก์มาขอรับ เซ็นชื่อรับ และเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้มอบโฉนดให้โจทก์ไป ต่อมามีผู้มาขออายัดการออกโฉนด จำเลยจึงไม่แจกโฉนด และลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อซึ่งจำเลยได้เซ็นในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินเสีย เพราะเกรงว่าจะเป็นโฉนดที่สมบูรณ์ การที่จำเลยลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อของตนเองเช่นนี้ ไม่เป็นการปลอมเอกสาร เพราะว่าเมื่อยังไม่ได้ส่งมอบโฉนดให้โจทก์ ถือไม่ได้ว่าที่ดินรายนี้ได้ออกโฉนดแล้ว และโฉนดรายนี้ยังเป็นเอกสารที่อยู่ในความยึดถือหรือในความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ และถือได้ว่ายังอยู่ในระหว่างดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลง จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการออกโฉนด ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเสียได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโฉนดที่ดินก่อนการส่งมอบไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากอยู่ในอำนาจแก้ไขของเจ้าหน้าที่
โจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานได้ทำเสร็จเรียบร้อย และประกาศแจกโฉนดให้ราษฎรแล้วโจทก์มาขอรับ เซ็นชื่อรับและเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้มอบโฉนดให้โจทก์ไป ต่อมามีผู้มาขออายัดการออกโฉนด จำเลยจึงไม่แจกโฉนดและลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อซึ่งจำเลยได้เซ็นในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินเสียเพราะเกรงว่าจะเป็นโฉนดที่สมบูรณ์การที่จำเลยลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อของตนเองเช่นนี้ไม่เป็นการปลอมเอกสาร เพราะว่าเมื่อยังไม่ได้ส่งมอบโฉนดให้โจทก์ถือไม่ได้ว่าที่ดินรายนี้ได้ออกโฉนดแล้ว และโฉนดรายนี้ยังเป็นเอกสารที่อยู่ในความยึดถือหรือในความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ และถือได้ว่ายังอยู่ในระหว่างดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลงจำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการออกโฉนด ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิเป็นความผิดกระทงเดียว เมื่อศาลยกฟ้องฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานใช้จึงระงับตามกฎหมาย
ในการพิจารณาคดีแพ่ง จำเลยได้อ้างสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยาน โจทก์จึงฟ้องคดีอาญาหาว่าจำเลยปลอมสัญญากู้ยืมดังกล่าวก่อน แล้วต่อมาโจทก์ได้ฟ้องจำเลยฐานใช้และอ้างเอกสารที่หาว่าปลอมนั้นด้วย เช่นนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268 เห็นได้ชัดว่าในเรื่องมีผู้ทำปลอมเอกสารขึ้นแล้วผู้ทำนำเอกสารปลอมนั้นไปใช้หรืออ้างเองกฎหมายให้ลงโทษในการใช้หรืออ้างเอกสารปลอมแต่อย่างเดียว ถือว่าเป็นความผิดกระทงเดียวเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเพียงทำเอกสารสิทธิปลอมก่อนและฟังไม่ได้ว่าเป็นเอกสารปลอม คดีถึงที่สุดเสร็จเด็ดขาดแล้ว ก็ต้องถือว่าความผิดในข้อหาใช้หรืออ้างเอกสารปลอมคดีถึงที่สุดเสร็จเด็ดขาดไปแล้วด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) โจทก์จะขอให้ดำเนินคดีและสืบพยานต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อประโยชน์ทางการค้าและการฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายจากการกระทำนั้น
บิลซื้อเชื่อสินค้าต่าง ๆ รายนี้เป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้สินและสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นเอกสารสิทธิ
ข้อความที่โจทก์หาว่าจำเลยปลอมนั้นเป็นการเปลี่ยนตัวผู้ซื้อหรือลูกหนี้(ตามบิลซื้อเชื่อสินค้า) จากนายสมบูรณ์เป็นนางทองคำ วงศาโรจน์ เมื่อจำเลยอ้างส่งเป็นพยานในคดีแพ่งอันเป็นเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 (หลาน) เข้ารับมรดกความแทนนางทองคำ วงศาโรจน์ แล้ว โจทก์ที่ 1 อาจเสียหายจึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญามาตรา 2 (4)
การเติมข้อความในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเองแต่จำเลยหมดอำนาจที่จะเติมแล้วเพราะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าเชื่อให้แก่นายสมบูรณ์จนนายสมบูรณ์กับโจทก์ที่ 2 ได้ตรวจรับสิ่งของและเซ็นชื่อไว้ในบิลนำส่งของที่ซื้อเชื่อนั้นแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารได้
นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ ถ้าการกระทำผิดทางอาญานั้นกรรมการดำเนินการกระทำไปเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น (อ้างนัยฎีกา 1669/2506)
โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อรับของในบิลซื้อเชื่อบางฉบับไว้แทนนายสมบูรณ์ แล้วจำเลยปลอมเอกสารเหล่านั้นอ้างส่งเป็นพยานต่อศาลว่า โจทก์ที่ 2 เซ็นรับไว้แทนนางทองคำ วงศาโรจน์ เช่นนี้ เห็นได้ว่า โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดต่อนางทองคำ วงศาโรจน์ หรือทายาทได้โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารซื้อเชื่อ, ผู้เสียหาย, และความรับผิดของนิติบุคคล
บิลซื้อเชื่อสินค้าต่างๆ รายนี้เป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้สินและสิทธิเรียกร้องจึงเป็นเอกสารสิทธิ
ข้อความที่โจทก์หาว่าจำเลยปลอมนั้นเป็นการเปลี่ยนตัวผู้ซื้อหรือลูกหนี้ (ตามบิลซื้อเชื่อสินค้า)จากนายสมบูรณ์เป็นนางทองคำ วงศาโรจน์ เมื่อจำเลยอ้างส่งเป็นพยานในคดีแพ่งอันเป็นเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1(หลาน) เข้ารับมรดกความแทนนางทองคำ วงศาโรจน์แล้วโจทก์ที่ 1 อาจเสียหายจึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
การเติมข้อความในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเอง แต่จำเลยหมดอำนาจที่จะเติมแล้ว เพราะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าเชื่อให้แก่นายสมบูรณ์ จนนายสมบูรณ์กับโจทก์ที่ 2 ได้ตรวจรับสิ่งของและเซ็นชื่อไว้ในบิลนำส่งของที่ซื้อเชื่อนั้นแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารได้
นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ถ้าการกระทำผิดทางอาญานั้นกรรมการดำเนินการกระทำไปเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น(อ้างนัยฎีกา 1669/2506)
โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อรับของในบิลซื้อเชื่อบางฉบับไว้แทนนายสมบูรณ์แล้วจำเลยปลอมเอกสารเหล่านั้นอ้างส่งเป็นพยานต่อศาลว่า โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อไว้แทนนางทองคำ วงศาโรจน์ เช่นนี้ เห็นได้ว่า โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดต่อนางทองคำ วงศาโรจน์ หรือทายาทได้โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดเบิกความเท็จ ปลอมเอกสาร และการตีความอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำในประมวลกฎหมายอาญา
คำว่า ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181(1) นี้ หมายถึงว่า อัตราโทษชั้นต่ำของความผิดนั้น จะต้องมีระวางโทษจำคุก 3 ปี เป็นอย่างน้อยที่สุด
การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญาไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความ แต่เป็นเรื่องเบิกความซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจดข้อความตอนใดหรือไม่จดก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ การจดจึงเป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องของพยานที่จะแจ้งให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267
จำเลยไม่ใช่นายช่วง แต่มาอ้างต่อศาลว่าเป็นนายช่วง และข้อเท็จจริงที่จำเลยเบิกความว่าได้รู้เห็นเหตุการณ์ จำเลยก็มิได้รู้เห็นจริง กับจำเลยได้ลงนามปลอมว่า นายช่วง ในคำเบิกความที่ศาลจดไว้อีกด้วย ความผิดฐานเบิกความเท็จสำเร็จได้โดยไม่ต้องอาศัยการลงนามปลอม การลงนามปลอมของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 อีกด้วย แต่จำเลยหามีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 อีกมาตราหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จ-ปลอมเอกสาร: ศาลฎีกาชี้ขาดองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษ
คำว่า ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181(1) นี้หมายถึงว่าอัตราโทษขั้นต่ำของความผิดนั้นจะต้องมีระวางโทษจำคุก 3 ปีเป็นอย่างน้อยที่สุด
การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความแต่เป็นเรื่องเบิกความซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจดข้อความตอนใดหรือไม่จดก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความการจดจึงเป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องของพยานที่จะแจ้งให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา267
จำเลยไม่ใช่นายช่วง แต่มาอ้างต่อศาลว่าเป็นนายช่วงและข้อเท็จจริงที่จำเลยเบิกความว่าได้รู้เห็นเหตุการณ์จำเลยก็มิได้รู้เห็นจริง กับจำเลยได้ลงนามปลอมว่า นายช่วง ในคำเบิกความที่ศาลจดไว้อีกด้วยความผิดฐานเบิกความเท็จสำเร็จได้โดยไม่ต้องอาศัยการลงนามปลอมการลงนามปลอมของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีกด้วยแต่จำเลยหามีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 อีกมาตราหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดและเรียกคืนทรัพย์สิน ยักยอกเงินไม่ใช่การปลอมเอกสาร
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอมเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไป จะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงิน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไป ปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้ว คดียังไม่ถึงที่สุด ต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากาายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแลปงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์ จึงมีความผิดฐานปลอมแลงเอกสารราชการเท่านั้น ดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยักยอกเงิน จะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรค 2 บัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย คดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพาษกยกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไป แล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรค 4
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานะละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิด้วยการลบข้อความชำระหนี้ และการแสดงพยานหลักฐานเท็จต่อศาล มีความผิดตามกฎหมายอาญา
(1) เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้เงินซึ่งเป็นเอกสารสิทธินั้น มีเรื่องที่แท้จริงรวมกันอยู่ 2 เรื่อง คือ มีหนังสือสัญญากู้เงิน 1 มีบันทึกการชำระหนี้เงินกู้รายนี้บางส่วน 1 แต่จำเลยได้ลบบันทึกนั้นออกก็เพื่อให้โจทก์หรือศาลหลงเชื่อว่า เอกสารสิทธิมีหนังสือสัญญากู้เงินเพียงเรื่องเดียวซึ่งแสดงว่าไม่เคยผ่อนชำระหนี้กันเลย การกระทำเช่นนี้เป็นการตัดทอนหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสาที่แท้จริง เป็นผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264
(2) แม้จำเลยจะยังมิได้นำสืบ แต่ได้แสดงพยานหลักฐานเท็จต่อศาลแล้ว โดยส่งเอกสาร(หมาย จ.1) ซึ่งเดิมมีอยู่ 2 หลักฐาน แต่จำเลยส่งแสดงว่ามีหลักฐานเดียวย่อมเป็นการแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลตามมาตรา 180 แล้ว
(3) การปลอมเอกสารซึ่งอยู่ในความยึดถือของจำเลยนั้น ย่อมมีโอกาสทำได้ในที่ลับ เป็นการยากที่จะมีประจักษ์พยาน ฉะนั้น พยานประพฤติเหตุบ่งว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารไม่ผิดตัว ก็ฟังลงโทษจำเลยได้
(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำพยานสืบแก้ฟ้องโจทก์แล้ว ยังอ้างผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อตรวจพิสูจน์เอกสารที่โจทก์อ้างไว้ว่ามีรอยลอยอากรแสตมป์ และมีรอยลบข้อความบางประการออกหรือไม่ ซึ่งข้อความที่จะนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญนี้ พยานจำเลยไม่ได้เบิกความมาก่อนเลย และโจทก์ก็ไม่รู้ว่าจำเลยจะนำสืบประเด็นเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจให้โจทก์นำสืบแก้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 89 วรรค 3
หมายเหตุ หมายเลข(1) วินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2508

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ กรณีปลัดอำเภอลงนามในใบอนุญาตเกินอำนาจ
จำเลยเป็นปลัดอำเภอมีหน้าที่รับคำขอและสอบสวนเรื่องราวเกี่ยวกับการขออนุญาตให้และมีอาวุธปืน แล้วทำความเห็นเสนอต่อนายอำเภอ เมื่อนายอำเภออนุญาต จำเลยก็มีหน้าที่กรอกข้อความในใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเสนอนายอำเภอ ลงลายมือชื่อในฐานะนายทะเบียนท้องที่ จำเลยไม่มีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อได้ ดังนี้ หากจำเลยลงลายมือชื่อของจำเลยเองในใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนแล้วประทับตราตำแหน่งนายอำเภอเป็นการปลอมตนว่าเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจลงนามในใบอนุญาตแล้ว ใบอนุญาตนี้ก็ไม่ใช่ใบอนุญาตอันแท้จริง เพราะไม่ได้ลงนามพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกใบอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2507)
of 29