พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23: ศาลมีอำนาจขยายเวลาเองได้ แม้ไม่ใช่ภัยธรรมชาติ
"เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ มิได้หมายถึงว่า "พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทำได้ภายในกำหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัย เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จำต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การสั่งขยายเวลาศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น ศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้.
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น ศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดอุทธรณ์คดีแพ่งปนคดีอาญา: ใช้มาตรา 229 ป.วิ.พ.
ฟ้องคดีอาญาปนคดีแพ่ง ศาลยกฟ้องคดีส่วนอาญา แต่ให้โจทก์ชนะในส่วนแพ่ง ดังนี้ จำเลยยื่นอุทธรณ์ คดีส่วนแพ่งได้ในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 มิใช่กำหนด 15 วัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า: ศาลฎีกาเน้นย้ำการปฏิบัติตามกฎหมาย ป.วิ.พ. และดุลพินิจในการอนุญาต
ศาลแขวงธนบุรีสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนและนัดสืบพยานไว้ล่วงหน้าที่ 18 วัน โจทก์แต่งทนาย 2 คน เพียงแต่ทนายโจทก์คนหนึ่งไปธุระที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากที่ทราบวันนัดไว้แล้วกว่า 10 วัน ครั้นก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 2 วัน โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโดยอ้างว่า ที่โจทก์เพิ่งยื่นบัญชีระบุพยานเพราะทนายความเจ้าของเรื่องไปต่างจังหวัด เพิ่งกลับมา ไม่ปรากฏว่า เหตุใดจึงไม่สามารถมาจัดการระบุพยานเสียให้ทันกำหนด เพราะจังหวัดฉะเชิงเทราที่ทนายโจทก์ไปธุระนั้นก็ไม่ห่างไกลจากพระนครเท่าใดนัก เช่นนี้ จะอ้างว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้รับบัญชีระบุพยานนั้นไว้ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาไม่อุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(1) กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วย มาตรา 247 (อ้างฎีกา ที่ 416/2488)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารักษาทรัพย์ยึดช้าง: ศาลมีอำนาจสั่งตามความเหมาะสมโดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 161
ค่ารักษาทรัพย์ เป็นค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งศาลอาจจะพิจารณาสั่งให้ได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลในคดีที่อ้างการมอบที่ดินแทนการชำระหนี้ ไม่ขัดมาตรา 94 ป.วิ.พ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ห้ามไม่ให้ฟังพยานบุคคลแต่เฉพาะในกรณีที่กฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดง อย่างเรื่องที่ฟ้องร้องขอให้บังคับคดีในการกู้ยืมเงิน ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้มอบที่พิพาทให้จำเลยทำต่างดอกเบี้ยเงินกู้นั้น โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายบทนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ: หลักเกณฑ์การพิจารณาความสมบูรณ์และการใช้ ม.47(3) ป.วิ.พ.
จะนำบทบัญญัติของประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.47(3) มาใช้ก็แต่ในกรณีที่ศาลมีความสงสัยในความแท้จริงของใบมอบอำนาจ จึงจะต้องจัดให้มีการปฏิบัติตาม ม.47(3) ถ้าใบมอบอำนาจใดศาลเชื่อแล้วก็ไม่ต้องนำ ม.47(3) นี้มาใช้และ ม.47(3) นี้ไม่ใข่บทบัญญัติที่บัญญัติถึงแบบของใบมอบอำนาจอย่างใดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องจำเลยรัฐมนตรีโดยไม่แสดงการกระทำละเมิดหรือพันธะตามกฎหมาย ศาลยกฟ้องตามมาตรา 172 ป.วิ.พ.
ฟ้องรัฐมนตรีว่าการมหาดไทย บรรยายว่าโจทก์เป็นคนไทยแต่เจ้าหน้าที่ให้จดทะเบียนต่างด้าว โจทก์ขอคืนสัญชาติต่อตำรวจท้องที่จนบัดนี้ยังไม่ทราบผลจึงขอให้ศาลไต่สวนสัญชาติ และเบิกถอนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวดังนี้ไม่เป็นฟ้องที่ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9243/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาชี้การวินิจฉัยนอกประเด็นคำร้องครอบครองปรปักษ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(1)
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินเนื้อที่ 7 ไร่ 38 ตารางวา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 18296 ของผู้คัดค้านโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของอันเป็นการขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 18296 โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดิน แต่ในชั้นพิจารณาผู้ร้องกลับนำสืบอ้างว่าที่ดินที่ครอบครองอยู่นอกเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 18296 ที่เช่าจากผู้คัดค้านและเป็นที่ดินที่ตนเองครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จึงเป็นการนำสืบนอกเหนือจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำร้องขอ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานโดยนำข้อเท็จจริงตามที่ผู้ร้องนำสืบมาวินิจฉัยข้อพิพาทแห่งคดีว่า ที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าครอบครองปรปักษ์อยู่นอกเขตที่ดินของผู้คัดค้านและมีการออกโฉนดที่ดินทับที่ดินที่ผู้ร้องครอบครอง แม้ผลแห่งคดีเป็นการยกคำร้องขอของผู้ร้อง ก็เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามคำร้องขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเป็นการวินิจฉัยในปัญหาที่เกี่ยวพันกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือผู้คัดค้าน เห็นว่า เมื่อปัญหาที่ผู้ร้องอ้างว่าครอบครองที่ดินของผู้คัดค้านเป็นอันตกไปเพราะไม่อาจรับฟังได้ตามคำร้องขอ จึงต้องรับฟังว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยไม่มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินเลขที่ 18296 ส่วนปัญหาที่ว่าการออกโฉนดที่ดินชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อคำร้องขอของผู้ร้องตกไปเพราะข้อเท็จจริงไม่อาจรับฟังได้ตามคำร้องขอ และปัญหาเรื่องการออกโฉนดที่ดินชอบหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินเลขที่ 18296 และการออกโฉนดทับที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครอง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6708/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ซ้ำ ศาลพิจารณาเป็นกระบวนการซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพื่อดำเนินการบังคับคดีมาก่อนและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องไปแล้ว การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เข้ามาใหม่อีก แม้ตามคำร้องฉบับแรกจะอ้างเพื่อไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง แต่ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้รายเดียวกันเพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการบังคับคดีต่อ จึงเป็นประเด็นที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีแทนโจทก์หรือไม่เช่นเดียวกันทั้งสองฉบับ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอสวมสิทธิแทนโจทก์ของผู้ร้องฉบับแรก อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องการขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ในการบังคับคดีต่อของผู้ร้องแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เข้ามาใหม่อีกขอให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องเดียวกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง