พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายเปลี่ยนแปลงระหว่างพิจารณาคดี ทำให้ความผิดตามฟ้องหมดไป แม้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องก็ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ซื้อหุ้นให้โจทก์ตามที่โจทก์สั่งซื้ออันเป็นความผิดตามมาตรา21และมีบทลงโทษตามมาตรา42แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2517ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ฉบับที่2)พ.ศ.2527 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่27กันยายนพ.ศ.2527ยกเลิกความในมาตรา21และมาตรา42เดิมโดยมิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดที่โจทก์ฟ้องไว้อีกจึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฉะนั้นการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตามการวินิจฉัยก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์เพราะแม้จะเป็นความผิดจำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: จำเลยมาถึงศาลก่อนเวลา แต่ไม่ถูกเรียกเข้าห้องพิจารณา ถือไม่ได้ว่าจงใจขาดนัด
จำเลยและพยานมาถึงศาลในวันสืบพยานก่อนเวลานัดของศาลโดยนั่งรออยู่นอกห้องพิจารณาทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ได้เรียกจำเลยเข้าห้องพิจารณาแต่จำเลยจงใจขัดขืนไม่เข้าห้องพิจารณาจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาคดีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง การพิจารณาคดีโดยจำเลยไม่ทราบเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้เพราะหมายนัดระบุที่อยู่ของจำเลยโดยไม่ได้ระบุว่าอยู่ถนนใด เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์จึงรายงานการส่งหมายว่าหมายนัดระบุที่อยู่ของจำเลยไม่ชัดเจนและออกติดตามหาจำเลยแล้วไม่มีผู้ใดรู้จักในชั้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หมายนัดก็ระบุแต่ชื่อและที่อยู่ของจำเลยโดยไม่ได้ระบุว่าอยู่ถนนใดเช่นกัน แต่ก็ปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดให้จำเลยได้โดยจำเลยรับไว้เอง เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้นั้นเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบหรือจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 201 การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยเพื่อแก้นั้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 200
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลต้องไต่สวนเหตุผลก่อนมีคำสั่งตัดสิน
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษา ก่อนถึงวันนัดฟังคำพิพากษา 1 วัน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่อ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ดังนี้การพิจารณายังไม่เสร็จสิ้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง ให้ได้ความว่าการขาดนัดของโจทก์เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการไต่สวนแต่มีคำสั่งว่าให้โจทก์ยื่นคำร้องเข้ามาเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์ แล้วมีคำสั่งและคำพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการไต่สวนเหตุผล ศาลต้องพิจารณาเหตุผลการขาดนัดก่อนมีคำพิพากษา
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษา ก่อนถึงวันนัดฟังคำพิพากษา 1 วัน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่อ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ดังนี้การพิจารณายังไม่เสร็จสิ้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง ให้ได้ความว่าการขาดนัดของโจทก์เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการไต่สวนแต่มีคำสั่งว่า ให้โจทก์ยื่นคำร้องเข้ามาเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษายก คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้อง ของโจทก์ แล้วมีคำสั่งและคำพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การอนุญาตฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิด พิจารณาความสะดวกในการพิจารณาคดีเป็นหลัก
กฎหมายบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิขอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องจำเลยต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นได้ต่อเมื่อการพิจารณาคดีในศาลนั้นจะเป็นการสะดวกเป็นข้อสำคัญหาใช่พิจารณาการเดินทางของจำเลยว่าไกลหรือใกล้เป็นข้อสำคัญไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุญาตฎีกาข้อเท็จจริง: ต้องเป็นผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีโดยตรงเท่านั้น
คดีอาญาที่ต้องห้ามมิให้คู่ความาฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอายามาตรา221ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์.อนุญาตให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เมื่อเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่อำนาจอนุญาตให้ฎีกาเป็นอำนาจเฉพาะตัวของผู้พิพากษามิใช่อำนาจของศาลศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาคนหนึ่งซึ่งมิได้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งจึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังกำหนด & ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแต่ก็อนุญาตให้จำเลยนำพยานที่ได้อ้างไว้ตามบัญชีระบุพยานที่ยื่นต่อศาลไว้โดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคแรก เข้าสืบ ส่วนพยานที่อ้างไว้ตามบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมที่ยื่นต่อศาลโดยฝ่าฝืนต่อ มาตรา 88 วรรคสองไม่อนุญาตให้จำเลยนำเข้าสืบโดยอ้างเหตุผลแห่งการไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมตามเหตุผลที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 วรรคสาม ดังนี้ ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีขาดนัดพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาคดีโดยขาดนัด แต่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยพยานหลักฐานจำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาขอให้พิจารณาใหม่ โดยอ้างว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาไม่ได้ จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลเมื่อล่วงเลยระยะเวลาตามมาตรา 88 วรรคสองแล้ว โดยมิได้อ้างเหตุแห่งการที่ไม่อาจยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายในระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 วรรคสาม จึงชอบที่จะไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1386/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการโต้แย้งคำสั่งศาล: การที่จำเลยไม่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ ทำให้ข้อเท็จจริงยุติ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยโดยอ้างเหตุว่า จำเลยทราบกำหนดนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ทราบ จึงถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบในชั้นไต่สวนให้งดไต่สวยและกรณียังฟังไม่ได้ตามคำร้องของจำเลย ทั้งคำร้องดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคำชี้ขาดตัดสินของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 268 จำเลยคงอุทธรณ์แต่เพียงว่า จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน และคำร้องของจำเลยก็ได้ระบุว่าจำเลยมีทางชนะคดี ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำชี้ขาดตัดสินของศาลแล้ว โดยจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น ที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในข้อที่ว่า จำเลยมีเหตุผลสมควรที่จะใช้ศาลเลื่อนการไต่สวนไป เพื่อจำเลยจะได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่า การขาดนัดมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด และได้บรรยายไว้ในคำร้องดังกล่าว แล้วว่าจำเลยจะมีทางชนะคดีได้อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งคัดค้านคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นแล้ว คำขอให้พิจารณาใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนี้ แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ร่วมกันของจำเลยหลายคน: ศาลต้องพิจารณาคดีทั้งหมด
จำเลยอุทธรณ์โดยในแผ่นแรกของอุทธรณ์ระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ และในท้ายอุทธรณ์ก็ลงลายมือชื่อจำเลยที่ 3 เพียงผู้เดียวในช่องผู้อุทธรณ์ แต่ในคำบรรยายฟ้องอุทธรณ์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิด และจำเลยทั้งสี่ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วยกันในตอนท้ายเมื่อสิ้นข้อความที่อุทธรณ์เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย