พบผลลัพธ์ทั้งหมด 953 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมขัดแย้งกัน: เพิกถอนพินัยกรรมเก่าด้วยพินัยกรรมใหม่เฉพาะส่วนทรัพย์มรดกและการจัดการมรดก
พินัยกรรมฉบับก่อนเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์ 10 ไร่ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์จำเลยและบุตรคนอื่น ๆ รวม 7 คน คนละ 3 ไร่ ส่วนที่เหลือยังเป็นส่วนของเจ้ามรดกอยู่ โดยมิได้กล่าวถึงที่ดินนา 10 ไร่ ที่เคยทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ก่อนเลย ทั้งพินัยกรรมฉบับแรกตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่พินัยกรรมฉบับหลังตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก พินัยกรรมทั้งสองฉบับในส่วนเกี่ยวกับทรัพย์มรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกจึงขัดกัน และเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกให้ทายาทและเกี่ยวกับการตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาท และการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกิน 10 ปี ไม่ตัดสิทธิทายาทตามพินัยกรรม
การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จึงยื่นคำร้องขอจัดการมรดกที่ดินพิพาท ต่อมาศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าว ถือได้ว่าครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 วรรคท้าย มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยพินัยกรรมของเจ้ามรดกหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องคดีมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทและผลกระทบต่ออายุความของทายาทโดยพินัยกรรม
การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วจึงยื่นคำร้องขอจัดการมรดกที่ดินพิพาท ต่อมาศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าว ถือได้ว่าครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754วรรคท้าย มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยพินัยกรรมของเจ้ามรดกหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้มีข้ออ้างเรื่องพินัยกรรมปลอม และจำเลยไม่เข้าข่ายผู้ถูกกำจัดมรดกเนื่องจากไม่มีหลักฐานการฉ้อฉล
คำฟ้องโจทก์แม้จะมีข้อความว่าพินัยกรรมปลอม แต่ก็มีข้อความต่อไปซึ่งเป็นการอธิบายว่าพินัยกรรมทำขึ้นขณะเจ้ามรดกมีอายุ94 ปี ไม่มีสติรู้สึกผิดชอบ หลงลืมและฟั่นเฟือน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้แล้ว และไม่ทำตามแบบจึงตกเป็นโมฆะ หรือเสียเปล่ามิใช่คำฟ้องหลายนัยขัดกัน คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยฉ้อฉลให้เจ้ามรดกทำพินัยกรรมแต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันว่าเป็นเช่นนั้น คงมีพยานปากหนึ่งอ้างว่า ผ่านไปเห็นการทำพินัยกรรมโดยบังเอิญ ขณะเห็นก็ยังไม่ทราบว่าที่บ้านจำเลยทำอะไรกัน และพยานปากนี้ก็ไม่ได้ระบุว่าจำเลยฉ้อฉลเจ้ามรดกในการทำพินัยกรรมแต่อย่างใด เช่นนี้พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า จำเลยได้ฉ้อฉลเจ้ามรดกให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(4) การที่พินัยกรรมระบุว่า ทรัพย์สินส่วนที่เหลือจากที่ได้ดำเนินการตามข้อ 2 รวมทั้งทรัพย์สินอื่นซึ่งมีภายหลังจากที่ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ทั้งหมดขอแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่ากันและยกให้ผู้รับพินัยกรรมนั้น เป็นการระบุให้ทรัพย์สินอื่นที่ได้มาภายหลังทำพินัยกรรมให้เอามาแบ่งแก่ผู้รับพินัยกรรมฉบับนี้ จึงไม่รวมที่ดินพิพาทซึ่งเจ้ามรดกทราบว่าตนมีสิทธิก่อนทำพินัยกรรมและไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้ชัดเจนเช่นเดียวกับทรัพย์รายอื่น ๆดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์นอกพินัยกรรม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยนำผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกเป็นเงินเดือนละ 2,500 บาท ชำระแก่โจทก์นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นต้นไปจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้น โจทก์จำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้ กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องฎีกาในประเด็นนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกเมื่อผู้รับพินัยกรรมถึงแก่ความตายก่อนผู้มอบพินัยกรรม ทายาทโดยธรรมมีสิทธิ
บ. ผู้รับพินัยกรรม ถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์ให้ บ. จึงตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1698 ทรัพย์มรดกในส่วนนี้ตกได้แก่ทายาทโดยธรรม ผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย มีเหตุสมควรที่จะร่วมเป็นผู้จัดการมรดกกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่า, พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การบุกรุก และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ส่วนข้อหาตามมาตรา 358 และ 362ไม่รับ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ทั้งสองข้อหาความผิดนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และ 362 จึงไม่ชอบ ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าการซื้อขายย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อเจ้ามรดกขายที่พิพาทให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตายโดยความรู้เห็นของจำเลยแล้ว การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่พิพาทให้แก่จำเลย พินัยกรรมส่วนที่เกี่ยวกับที่พิพาทย่อมไม่สมบูรณ์สิทธิครอบครองในที่พิพาทยังเป็นของโจทก์ จำเลยเข้าไปใช้รถไถขุดทำลายบ่อเลี้ยงปลาในที่พิพาทของโจทก์เพื่อถือการครอบครองอันเป็นการรบกวนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์โดยปกติสุขทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดมรดก & การตั้งผู้จัดการมรดก: เจตนารมณ์พินัยกรรมสำคัญกว่าข้อตกลงภายหลัง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องเพียงผู้เดียวโดยตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และในพินัยกรรมได้ระบุตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดกไว้ด้วย ถือว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนาชัดแจ้งตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ร้องและผู้คัดค้านจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อให้ผู้คัดค้านได้รับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกบางส่วน และยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนผู้ร้องก็ตาม ก็หาใช่เป็นการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมไม่ เพราะการสละมรดกเพียงบางส่วนหรือสละพินัยกรรมเพื่อไม่รับมรดกตามพินัยกรรมเพียงบางส่วนกระทำไม่ได้ เมื่อพินัยกรรมระบุตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไว้โดยเฉพาะแล้วก็ไม่ชอบที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอันเป็นการฝืนเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดสิทธิทายาท & สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมตัดผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 แม้ต่อมาภายหลังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมกับผู้คัดค้านทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก และรับมรดกบางส่วนของเจ้ามรดกก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลทั้งสองให้เสร็จ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850เท่านั้น หาใช่การสละมรดกหรือสละพินัยกรรมของผู้ร้องไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และ 1698(3) ไม่เพราะการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมเพียงบางส่วนไม่อาจกระทำได้เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1613วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3158/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมที่ทำในขณะที่ผู้ทำไม่มีสติสัมปชัญญะเป็นโมฆะ และบุตรที่บิดารับรองมีสิทธิรับมรดก
มีผู้จับมือเจ้ามรดกเขียนชื่อในขณะที่เจ้ามรดกมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เท่ากับว่าเจ้ามรดกไม่ได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรม เอกสารที่ทำไว้จึงไม่เป็นพินัยกรรม ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้แสดงออกต่อผู้อื่นว่าบุตรเป็นบุตรของตนและให้ใช้นามสกุลตลอดมา ถือว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1639
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้โดยมิได้จดทะเบียน การครอบครอง และการโอนมรดกตามพินัยกรรม
พระภิกษุ ป. ทำหนังสือยกที่ดินให้โจทก์และ พ. มารดาจำเลยคนละครึ่งโดยมอบอำนาจให้โจทก์ยื่นคำร้องขอออก น.ส.3 รังวัดแบ่งแยกให้แก่โจทก์และจดทะเบียนโอนส่วนที่เหลือให้แก่ พ. ต่อมาได้มีการรังวัดแล้ว แต่ยังไม่ทันแบ่งแยก ป. มรณภาพเสียก่อน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเมื่อนำมาประกอบกับข้อความในพินัยกรรมของ ป. ที่ยกเลิกการยกที่พิพาทแก่โจทก์ แสดงว่า ป. ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่เป็นกรณีเจตนาสละการครอบครองไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลที่ดิน มาตรา 4 ทวิเมื่อการให้รายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย