พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุตัวผู้เสียหายจากเอกสารประกอบคำฟ้อง
แม้ในคำฟ้องจะไม่ปรากฏชื่อของผู้เสียหายก็ตาม แต่ในรายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องได้ระบุชื่อผู้เสียหายไว้ด้วย เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบกับรายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องแล้ว เห็นได้ชัดว่าใครเป็นผู้เสียหาย ดังนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานยักยอกทรัพย์ต้องระบุรายละเอียดการกระทำ ความเสียหาย และช่วงเวลาที่ชัดเจน หากไม่ชัดเจนฟ้องไม่สมบูรณ์
ฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ควบคุมดูแลจัดการเก็บรักษาการบัญชีรับจ่ายและรักษาเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2513 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2514เป็นเวลาถึง 1 ปี 7 เดือน จำเลยได้บังอาจยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 11,726.39 บาท ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไปปรากฏจากข้อนำสืบของโจทก์ว่า งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์มี 5งบ คือ งบทั่วไปงบเร่งรัดพัฒนาชนบท งบส่วนการศึกษา งบภาคตะวันออกเฉียงเหนือและงบอุดหนุนสภาตำบล เงินที่หายไปนี้เป็นเงินที่อยู่ในงบเร่งรัดพัฒนาชนบทและเกิดจากการที่จำเลยยักยอกเงินตามบัญชีเงินสดเกินหรือขาดไปรวม 22 รายการ แต่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดที่เป็นสารสำคัญว่า เป็นเงินงบใด และยักยอกแต่ละครั้ง เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อใด เมื่อบรรยายรวมๆกันมาเช่นนี้ จำเลยจะเข้าใจข้อหาเกี่ยวกับเงินที่จำเลยต้องหาว่ายักยอกเบียดบังมิได้เลย ย่อมเสียเปรียบในการต่อสู้คดีฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 894/2508)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมาคือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาทจากนายเสถียร ศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไปจึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมาคือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาทจากนายเสถียร ศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไปจึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาคดียักยอกทรัพย์: การระบุรายละเอียดการกระทำผิดและผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
ฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ควบคุมดูแลจัดการเก็บรักษาการบัญชีรับจ่ายและรักษาเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2513 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2514 เป็นเวลาถึง 1 ปี 7 เดือน จำเลยได้บังอาจยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 11,726.39 บาท ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไป ปรากฏจากข้อนำสืบของโจทก์ว่า งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์มี 5งบ คือ งบทั่วไป งบเร่งรัดพัฒนาชนบท งบส่วนการศึกษางบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และงบอุดหนุนสภาตำบล เงินที่หายไปนี้เป็นเงินที่อยู่ในงบเร่งรัดพัฒนาชนบทและเกิดจากการที่จำเลยยักยอกเงินตามบัญชีเงินสดเกินหรือขาดไปรวม 22 รายการ แต่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดที่เป็นสารสำคัญว่า เป็นเงินงบใด และยักยอกแต่ละครั้ง เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อใด เมื่อบรรยายรวมๆกันมาเช่นนี้ จำเลยจะเข้าใจข้อหาเกี่ยวกับเงินที่จำเลยต้องหาว่ายักยอกเบียดบังมิได้เลย ย่อมเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 894/2508)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมา คือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาท จากนายเสถียรศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไป จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมา คือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาท จากนายเสถียรศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไป จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาต้องระบุรายละเอียดการกระทำความผิดตามกฎหมายชัดเจน มิเช่นนั้นฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309และ 310 โดยกล่าวในฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยบังอาจหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และจำเลยข่มขืนใจโจทก์โดยมีอาวุธเพื่อให้โจทก์ถอนทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับ ส. ส่วนการกระทำของจำเลยอย่างไรที่ว่าข่มขืนใจโจทก์ตามมาตรา 309 โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของโจทก์และจำเลยได้กระทำอย่างไรที่ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์และกระทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามมาตรา 310 โจทก์ไม่ได้บรรยายในฟ้องเลย ฟ้องของโจทก์เช่นนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่มีรายละเอียดเพียงพอ ขาดอายุความ และขาดองค์ความผิด ฉ้อโกงไม่สำเร็จ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 โดยบรรยายฟ้องเพียงกว้างๆ ว่า จำเลยบังอาจแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และเอกสารสิทธิ ไม่พอที่จะทำให้จำเลยรู้ว่าเอกสารที่โจทก์กล่าวถึงนั้นคืออะไร มีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดมากว่า 10 ปีแล้ว ความผิดตามมาตรา 267 และความผิดตามมาตรา 137 ที่อาศัยข้อเท็จจริงอันเดียวกัน ย่อมขาดอายุความ
การที่จำเลยใช้แบบแจ้งการครอบครองที่จำเลยแจ้งว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยนั้น เป็นการใช้เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความจริงเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายว่าเป็นเอกสารปลอมหรือเป็นเอกสารที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงไว้จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
จำเลยหลอกลวงเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยเจ้าพนักงานหลงเชื่อได้ออกโฉนดให้แก่จำเลย กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่ได้ถูกหลอกลวง และจำเลยก็ไม่ได้ทรัพย์สินอะไรไปจากโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดต่อโจทก์ฐานฉ้อโกง
เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดมากว่า 10 ปีแล้ว ความผิดตามมาตรา 267 และความผิดตามมาตรา 137 ที่อาศัยข้อเท็จจริงอันเดียวกัน ย่อมขาดอายุความ
การที่จำเลยใช้แบบแจ้งการครอบครองที่จำเลยแจ้งว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยนั้น เป็นการใช้เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความจริงเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายว่าเป็นเอกสารปลอมหรือเป็นเอกสารที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงไว้จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
จำเลยหลอกลวงเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยเจ้าพนักงานหลงเชื่อได้ออกโฉนดให้แก่จำเลย กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่ได้ถูกหลอกลวง และจำเลยก็ไม่ได้ทรัพย์สินอะไรไปจากโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดต่อโจทก์ฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่มีรายละเอียดสิ่งของที่เกี่ยวข้องชัดเจน และฟ้องขาดอายุความ ทำให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 โดยบรรยายฟ้องเพียงกว้างๆ ว่า จำเลยบังอาจแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และเอกสารสิทธิ ไม่พอที่จะทำให้จำเลยรู้ว่าเอกสารที่โจทก์กล่าวถึงนั้น คืออะไร มีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดมากว่า 10 ปีแล้ว ความผิดตามมาตรา 267 และความผิดตามมาตรา 137 ที่อาศัยข้อเท็จจริงอันเดียวกัน ย่อมขาดอายุความ
การที่จำเลยใช้แบบแจ้งการครอบครองที่จำเลยแจ้งว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยนั้น เป็นการใช้เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความจริงเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายว่าเป็นเอกสารปลอมหรือเป็นเอกสารที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงไว้ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
จำเลยหลอกลวงเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยเจ้าพนักงานหลงเชื่อได้ออกโฉนดให้แก่จำเลย กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่ได้ถูกหลอกลวง และจำเลยก็ไม่ได้ทรัพย์สินอะไรไปจากโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดต่อโจทก์ฐานฉ้อโกง
เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดมากว่า 10 ปีแล้ว ความผิดตามมาตรา 267 และความผิดตามมาตรา 137 ที่อาศัยข้อเท็จจริงอันเดียวกัน ย่อมขาดอายุความ
การที่จำเลยใช้แบบแจ้งการครอบครองที่จำเลยแจ้งว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยนั้น เป็นการใช้เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความจริงเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายว่าเป็นเอกสารปลอมหรือเป็นเอกสารที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงไว้ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
จำเลยหลอกลวงเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยเจ้าพนักงานหลงเชื่อได้ออกโฉนดให้แก่จำเลย กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่ได้ถูกหลอกลวง และจำเลยก็ไม่ได้ทรัพย์สินอะไรไปจากโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดต่อโจทก์ฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายรายละเอียดการกระทำโดยประมาทที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้
ฟ้องโจทก์มีใจความว่า ถนนตากสินที่เกิดเหตุมีผิวจราจรแคบพนักงานจราจรได้กำหนดให้รถ 4 ล้อเดินทางเดียว ส่วนรถ 2 ล้อและ 3 ล้อ แล่นสวนทางได้ และจอดรถทางด้านซ้ายได้ โดยปกติมีรถชนิดต่างๆ แล่นในถนนสายนี้คับคั่ง ฉะนั้น การที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ดับเพลิง รู้ดีถึงสภาพดังกล่าวของถนนสายนี้ได้ขับรถยนต์เพื่อไปทำการดับเพลิงสวนทางเดินรถที่กำหนดไว้ซึ่งจะต้องแล่นสวนทางกับรถอื่นๆ ที่อยู่คับคั่งในถนนที่มีผิวจราจรแคบทั้งๆ ที่มีทางสายอื่นไปถึงที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้เช่นเดียวกันครั้นเมื่อรถติดกันแล่นไปไม่ได้ จำเลยกลับขับหลบเข้าไปในร้านขายยาจนชนคน ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กระทำโดยประมาทอย่างใดชัดเจนพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นฟ้องที่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายเหตุประมาทที่ชัดเจนเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้
ฟ้องโจทก์มีใจความว่า ถนนตากสินที่เกิดเหตุมีผิวจราจรแคบพนักงานจราจรได้กำหนดให้รถ 4 ล้อเดินทางเดียว ส่วนรถ 2 ล้อ และ 3 ล้อ แล่นสวนทางได้ และจอดรถทางด้านซ้ายได้ โดยปกติมีรถชนิดต่างๆ แล่นในถนนสายนี้คับคั่ง ฉะนั้น การที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ดับเพลิง รู้ดีถึงสภาพดังกล่าวของถนนสายนี้ได้ขับรถยนต์เพื่อไปทำการดับเพลิงสวนทางเดินรถที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องแล่นสวนทางกับรถอื่นๆ ที่อยู่คับคั่งในถนนที่มีผิวจราจรแคบ ทั้งๆ ที่มีทางสายอื่นไปถึงที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้เช่นเดียวกัน ครั้นเมื่อรถติดกันแล่นไปไม่ได้ จำเลยกลับขับหลบเข้าไปในร้านขายยาจนชนคน ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กระทำโดยประมาทอย่างใดชัดเจนพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นฟ้องที่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาต้องชัดเจน: การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนถึงเจตนาหรือความประมาทของจำเลย ทำให้ฟ้องไม่รับพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แล้วจำเลยที่ 2 ได้แจ้งพร้อมแสดงหมายจับให้โจทก์ดู โจทก์จึงชำระเงินตามเช็คให้โดยจำเลยที่ 2 ตกลงว่าจะไปถอนคำร้องทุกข์ แต่จำเลยไม่ถอนคำร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน เป็นเหตุให้โจทก์ถูกเจ้าพนักงานจับกุมและควบคุมกักขัง ปราศจากเสรีภาพไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง อันเป็นการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถูกกักขังและปราศจากเสรีภาพในร่างกายโดยมิชอบ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310, 311, 83ดังนี้ การฟ้องขอให้ลงโทษฐานความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 310 ต้องปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือทำให้ปราศจากเสรีภาพต่อร่างกาย และการขอให้ลงโทษฐานประมาทตามมาตรา 311 โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายชัดว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทอย่างไร ซึ่งจะพอทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์ยังไม่แสดงพอถึงการกระทำของจำเลยอันจะรับพิจารณาเอาเป็นความผิดแก่จำเลยตามที่ขอ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม (เทียบฎีกาที่ 105/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยมิได้ระบุสถานใดสถานหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือมิฉะนั้นจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร เช่นนี้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์(อ้างฎีกาที่ 467/2491 และ 212/2504)