พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินที่ได้มาขณะสมรส แม้มีชื่อภริยาแต่เป็นสินสมรส สามีมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมยกให้ได้
ภรรยาได้ที่ดินมาโดยการยกให้ ในระหว่างที่อยู่กินเป็นสามีภริยากัน ที่ดินที่ได้มานั้นย่อมเป็นสินสมรสฉะนั้นแม้ที่ดินนั้นจะมีชื่อภริยาเป็นเจ้าของในโฉนดแต่ผู้เดียว ภริยาก็ไม่มีอำนาจเอาที่ดินนั้นไปทำนิติกรรมยกให้ผู้อื่น ถ้าขืนทำไป สามีย่อมมีสิทธิบอกล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินบริคณห์ที่ไม่มีหนังสือสำคัญโดยความยินยอมของภริยา ถือเป็นโมฆะหรือไม่
สามีเอาที่ดินอันเป็นสินบริคณห์ ไปขายให้แก่ผู้อื่นด้วยความยินยอมของภริยานั้น เมื่อเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ ก็ไม่จำต้องให้ภริยาลงชื่อเป็นผู้ขายด้วย ก็ใช้ได้ กรณีไม่ต้องด้วย ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1474.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกสินบริคณห์: การยินยอมของภริยาผู้มีส่วนรับพินัยกรรมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิคัดค้าน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 ที่บัญญัติว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตนนั้นถ้าปรากฏว่า ภริยาหรือสามีรู้เห็นยินยอมในการที่อีกฝ่ายหนึ่งทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ทั้งหมดทั้งตนเองก็เป็นผู้มีส่วนรับพินัยกรรมมากกว่าคนอื่นและได้รับผลแห่งพินัยกรรมมาหลายปีแล้วดังนี้ ผู้รับพินัยกรรมคนอื่นย่อมจะไม่มีสิทธิมาคัดค้านในข้อที่ว่าสามีหรือภริยาทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ทั้งหมดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้เงินโดยภริยาในกรณีสามีหายสาบสูญและไม่แน่นอนว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่
สามีภริยาอยู่กินด้วยกัน เกิดบุตรหลายคน สามีได้ไปเมืองเมกกะตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามเอเชียบูรพา คือราว 10 ปีมาแล้ว ไม่ได้กลับมาเลย และไม่ปรากฎว่าได้ส่งข่าวคราวถึงภริยาเลย ดังนี้ หากภริยาไปกู้เงินผู้อื่นเขามาใช้จ่ายก็ย่อมจะถือได้ว่าขณะที่ภริยากู้เงินเขานี้ เป็นการไม่แน่นอนว่าสามียังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว กรณีต้องต้องด้วย ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 39(1) ภริยาย่อมทำการอันผูกพันส่วนของตนในสินบริคณห์ได้โดยมิต้องได้รับอนุญาตจากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำนิติกรรมกู้เงินโดยภริยา กรณีสามีหายสาปสูญนานปี และไม่ปรากฏตัว
สามีภริยาอยู่กินด้วยกัน เกิดบุตรหลายคน สามีได้ไปเมืองเมกกะตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามเอเชียบูรพา คือราว 10 ปีมาแล้ว ไม่ได้กลับมาเลย และไม่ปรากฏว่าได้ส่งข่าวคราวถึงภริยาเลย ดังนี้ หากภริยาไปกู้เงินผู้อื่นเขามาใช้จ่าย ก็ย่อมจะถือได้ว่าขณะที่ภริยากู้เงินเขานี้เป็นการไม่แน่นอนว่าสามียังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว กรณีต้อง ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 39(1) ภริยาย่อมทำการอันผูกพันส่วนของตนในสินบริคณห์ได้โดยมิต้องได้รับอนุญาตจากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกกันอยู่และละทิ้งกันโดยไม่ให้ความอุปการะ ทำให้ภริยามีสิทธิจัดการสินบริคณห์ได้
สามีภริยาแยกกันอยู่ประมาณ 8 ปี เนื่องจากเกิดทะเลาะกันต่างไม่พอใจอยู่รวมกัน ภริยาจึงแยกไปอยู่ที่อื่น อันเป็นความพอใจของสามี ส่วนสามีคงอยู่ที่บ้านเรือนเดิม ตลอดเวลาที่แยกกันอยู่สามีไม่ได้ให้ความอุปการะส่งเสียเงินทองเลี้ยงดูภริยาอย่างใดเลยดังนี้ ถือได้ว่าสามีได้สละละทิ้งภริยาตาม ป.พ.พ.ม.39(2) แล้ว ภริยาจึงย่อมทำการผูกพันส่วนของตนในสินบริคนห์ได้โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกกันอยู่และการสละละทิ้งภริยา ทำให้ภริยามีสิทธิจำหน่ายสินบริคณห์ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
สามีภริยาแยกกันอยู่ประมาณ 8 ปี เนื่องจากเกิดทะเลาะกันต่างไม่พอใจอยู่รวมกัน ภริยาจึงแยกไปอยู่ที่อื่น อันเป็นความพอใจของสามี ส่วนสามีคงอยู่ที่บ้านเรือนเดิม ตลอดเวลาที่แยกกันอยู่สามีไม่ได้ให้ความอุปการะส่งเสียเงินทองเลี้ยงดูภริยาอย่างใดเลย ดังนี้ ถือได้ว่าสามีได้สละละทิ้งภริยาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 39(2) แล้ว ภริยาจึงย่อมทำการผูกพันส่วนของตนในสินบริคณห์ได้โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในหนี้จากการเป็นภริยาผู้รับมรดกหรือผู้ถือหุ้นแทนผู้ตาย จำเลยไม่มีความผูกพันหากไม่ใช่ผู้รับมรดกโดยชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในหนี้เงินกู้โจทก์ไว้ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาผู้รับมรดกของสามี หรือในฐานะที่สามีลงชื่อจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นในบริการอันหนึ่งแทนสามี เมื่อทางพิจารณาฟังว่าจำเลยไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จำเลยจึงไม่ใช่ผู้รับมรดกของผู้ตาย ฉะนั้นย่อมไม่มีความผูกพันอันใดจะต้องรับใช้หนี้ของผู้ตายตามฟ้อง แม้จำเลยจะรับทรัพย์สินของผู้ตายไว้ก็ตาม โดยนัยเดียวกัน แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นแทนผู้ตาย ก็ไม่ทำให้จำเลยต้องรับผิดในหนี้รายนี้ดุจกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: การนอกใจ, ทำร้ายร่างกาย, และการไม่เลี้ยงดูภริยา
เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เกิดบุตรหญิงด้วยกันคนหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ อยู่มาภริยาสังเกตเห็นว่าสามีรักหญิงอื่น นอกใจภริยา เกิดต่อว่ากันขึ้น สามีด่าภริยา และด่าว่ากันเนือง ๆ บางคราวก็ใช้เท้าถีบภริยาใช้พร้าขว้างภริยา ไปร้องต่อผู้ใหญ่บ้านแสดงความประสงค์ไม่เลี้ยงดูภริยา และยังขับไล่ภริยาออกจากบ้าน ภริยาต้องไปอยู่กับยาย, สามียังห้ามไม่ให้ภริยากลับบ้าน สำทับว่าถ้าขืนกลับจะทำร้ายเอาระหว่างนั้น สามีไม่สนใจต่อภริยา ทำเหมือนภริยาเป็นคนอื่น เหล่านี้เป็นเหตุเพียงพอแล้วที่จะให้หย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง: สามีได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระหว่างอยู่กินด้วยกันได้ที่ดินเป็นสินสมรสขึ้น แม้ในโฉนดจะมีชื่อทั้ง 2 คนร่วมกันถือกรรมสิทธิ์ มิได้แสดงว่าเป็นส่วนของใครเท่าใดตาม กฎหมายก็ต้องแบ่งตามส่วนสมรสของกฎหมายลักษณะผัวเมียฉบับเก่า คือชายได้ 2 ส่วนหญิงได้1 ส่วน เพราะความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า การสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้และทั้งสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสนั้นๆบทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึง