คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภารจำยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: ขอบเขตทางเดินเดิม 1 เมตร แม้ขยายทางเพื่อรถไถนาภายหลังไม่ถือเป็นภารจำยอมเพิ่มเติม
ที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยที่ 1 กับ บ. อยู่ติดกันสุดเขตทางด้านทิศเหนือที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 มีทางพิพาทซึ่งมีความกว้างไม่เกิน 1 เมตร โจทก์และจำเลยได้ใช้ทางดังกล่าวเพื่อออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว แม้ต่อมาจะได้มีการขยายเป็นทางกว้าง 2.50 เมตร ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปีทางพิพาทดังกล่าวก็ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์เท่าความกว้างของทางเดิมก่อนจะมีการขยายความกว้างของทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปิดทางในสัญญาจะซื้อจะขาย แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็ใช้ได้ระหว่างคู่สัญญา
หลังจากโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพียง7 วัน จำเลย สามีจำเลย และบุตรร่วมกันตั้งบริษัทจำเลยร่วมโดยจำเลยสามีจำเลย และบุตรเป็นกรรมการบริษัท ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยร่วมในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 เพราะขณะนั้นจำเลยร่วมยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ไม่อาจเชิดผู้ใดเป็นตัวแทนได้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองฉบับ จำเลย สามีจำเลยและบุตรรู้เห็นการทำสัญญาทั้งสองฉบับวัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน คือการโอนที่ดินพิพาทในราคาและกำหนดเวลาเดียวกัน ทั้งเมื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันแล้ว ได้มีการเปิดทางให้ตามที่มีข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนานถึง 2 ปีเศษ แม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจำเลยร่วมเป็นผู้ซื้อมิใช่จำเลย และไม่มีข้อตกลงเปิดทางก็ตาม โดยพฤติการณ์ย่อมแสดงว่าจำเลยทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยร่วม และเท่ากับเป็นการตกลงโดยปริยายของจำเลยร่วมยอมรับและถือเอาข้อตกลงเรื่องเปิดทางตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมด้วย ข้อตกลงเปิดทางตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท มีลักษณะคล้ายภารจำยอมอันเป็นทรัพย์สิทธิ ถ้าไม่จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพย์สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 แต่ก็เป็นอันใช้ได้ระหว่างคู่สัญญาซึ่งรวมทั้งโจทก์กับจำเลยร่วมด้วยในฐานะบุคคลสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2666/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้ภารจำยอมต้องเริ่มนับอายุความหลังแบ่งแยกที่ดิน การใช้ทางก่อนแบ่งแยกไม่ถือเป็นอายุความ
เดิมที่ดินของโจทก์จำเลยเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของคนเดียวกันเมื่อแบ่งแยกแล้วทางพิพาทอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลย แม้โจทก์จะได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะมาเกิน 10 ปีการที่โจทก์อยู่อาศัยในบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินนั้นใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะในระหว่างนั้น ย่อมเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นบริวารและใช้โดยอาศัยอำนาจของเจ้าของเดิมเมื่อที่ดินเป็นของเจ้าของรายเดียวกัน ย่อมไม่มีเจ้าของสามยทรัพย์กับเจ้าของภารยทรัพย์อันจะทำให้เกิดมีภารจำยอมขึ้นได้ ผู้อยู่ในที่ดินจะใช้ทางนานเพียงใด ทางพิพาทก็ไม่ตกอยู่ในภารจำยอม อายุความการได้ภารจำยอมหากจะมีก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่ได้แบ่งแยกที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องทางสาธารณประโยชน์ย่อมไม่ถือเป็นคำพิพากษานอกฟ้อง แม้จะขอเป็นทางภารจำยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางเดินสาธารณะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์ โจทก์ได้ใช้ทางเดินดังกล่าวออกสู่ถนนนานเกินกว่าสิบปีจนทางเดินตกเป็นทางภารจำยอม ดังนี้ ศาลพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะตามที่บรรยายฟ้องมาได้ ไม่นอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมตกติดไปกับที่ดิน แม้จำเลยโอนสิทธิไปให้บุคคลอื่น ศาลไม่อาจบังคับสิทธิกระทบบุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของโจทก์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสอง แต่ที่ดินของจำเลยทั้งสองได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ไปยัง จ.แล้ว ทั้งตามบันทึกข้อตกลงให้ที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในภารจำยอมของที่ดินของจำเลยทั้งสองก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงให้ภารจำยอมในที่ดินของโจทก์สิ้นผลไปเมื่อจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของตนให้บุคคลอื่นหรือสิ้นผลไปด้วยประการอื่นแต่อย่างใด ภารจำยอมของโจทก์ย่อมตกติดไปกับที่ดินของจำเลยทั้งสองที่โอนไปเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ.แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1393 วรรคแรก โจทก์มิได้ฟ้อง จ.และ จ.มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนภารจำยอมตามคำขอของโจทก์ให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของ จ.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับภารจำยอม: ผู้ฟ้องต้องเป็นเจ้าของที่ดินเท่านั้น
ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 4 ลักษณะ 4 ฉะนั้น ผู้ที่จะฟ้องบังคับภารจำยอมได้ต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ที่ดินที่โจทก์ครอบครองเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน อยู่ทางทิศเหนือของที่ดินจำเลยที่ 2 และที่ 1 โจทก์ไม่ใช่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองว่าที่ดินของจำเลยทั้งสองตกอยู่ในภารจำยอมเกี่ยวกับทางเดินหรือทางรถยนต์ของที่ดินที่โจทก์ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับภารจำยอมต้องเป็นเจ้าของที่ดิน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหากที่ดินครอบครองเป็นสาธารณสมบัติ
ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 4ฉะนั้นผู้ที่จะฟ้องบังคับภารจำยอมจำต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ไม่ใช้เจ้าของที่ดินที่โจทก์ครอบครองเพราะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทางที่โจทก์เดินมาในที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดแม้โจทก์จะใช้ทางดังกล่าวโดยสงบเปิดเผยเป็นเวลา 10 ปี แล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงทางภารจำยอมที่ลดประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์เป็นสิ่งที่กฎหมายห้าม
การที่โจทก์ทั้งสองขอให้ย้ายทางภารจำยอมไปอยู่ชิดแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยให้ทางภารจำยอมเหลือความกว้างเพียง1 เมตรนั้นแม้จะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสอง แต่เป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ในอันที่จะใช้ทางภารจำยอมนั้นลดน้อยลง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 และ 1392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมระงับสิ้นไปเมื่อไม่ได้ใช้ทางเกวียนต่อเนื่อง 10 ปี เปลี่ยนเป็นทางเดิน
เดิมทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะเป็นทางเกวียนขนาด กว้าง 2-3 เมตร แต่ในเวลาต่อมาโจทก์ไม่ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเกวียน ผ่านเข้าออกเป็นเวลานานถึง 10 ปีแล้ว คงใช้เป็นทางสำหรับคนเดิน ภารจำยอมไม่ว่าจะได้มาโดยนิติกรรมหรือโดยอายุความ ที่เป็นทางเกวียนดังกล่าวย่อมระงับสิ้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 หลังจากนั้น เป็นต้นมาทางที่โจทก์ใช้ที่ดินของทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ ย่อมมีสภาพเพียงเป็นทางเดิน อายุความได้สิทธิหรืออายุความเสียสิทธิภารจำยอมมิใช่อายุความฟ้องร้อง ฉะนั้นปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าภารจำยอมสิ้นไปแล้วโดยอายุความ ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดินเป็นภารจำยอม, การใช้ภารจำยอมเกินขอบเขต, สิทธิเจ้าของภารยทรัพย์, การรื้อถอนกำแพง
การที่จำเลยแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อย ปลูกสร้างตึกแถวออกจำหน่ายถึง 60 แปลง และจัดให้มีการทำถนนออกสู่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และถนนอโศก-ดินแดง โดยจัดสร้างขึ้นพร้อม ๆกับการสร้างตึกแถวขายเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อตึกแถวเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปซึ่งนาง ศ. กับพวกได้ซื้อตึกแถว 1 ห้อง และได้ขายให้โจทก์ภายหลังการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจำเลยได้จัดให้มีสาธารณูปโภค อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 การที่จำเลยจะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของจำเลยไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ดังนั้น ถนนคอนกรีตหน้าตึกแถวของโจทก์ซึ่งเป็นของจำเลยจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของโจทก์ จำเลยหามีสิทธิปิดกั้นไม่ การที่โจทก์รื้อกำแพงของจำเลยด้านหลังตึกแถวโจทก์ออกและยอมให้บริษัท ง. จำกัด ใช้ถนนที่เป็นภารจำยอมโดยให้รถยนต์แล่นทะลุผ่านตึกแถวชั้นล่างของโจทก์เข้าออกถนนสาธารณะ ทำให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ต้องรับภาระมากเกินควรกว่าปกติต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 แต่ก็ไม่เป็นเหตุที่จะให้จำเลยปิดกั้นถนนภารจำยอมดังกล่าวได้ จำเลยคงมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นใช้หรือเรียกค่าเสียหายหากเกิดมีขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิที่จะให้โจทก์ก่อสร้างกำแพงของจำเลยตามเดิม เพื่อมิให้บุคคลอื่นใช้ถนนพิพาท
of 46