พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า: การกู้เงินเพื่อช่วยเหลือโรงงานน้ำตาล ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคาร
โจทก์เป็นตัวแทนของโรงงานน้ำตาลในการจัดส่งน้ำตาลไปจำหน่ายยังต่างประเทศและบริษัทเจ้าของโรงงานน้ำตาลต่างเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ โจทก์ทำสัญญาขายน้ำตาลกับผู้ซื้อในนามของโจทก์ และผู้ซื้อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสำหรับราคาน้ำตาลมาในนามของโจทก์ เงินที่โจทก์ให้โรงงานน้ำตาลกู้เป็นเงินที่โจทก์ได้มาจากการนำเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวแล้วไปทำแพคกิ้งเครดิตกับธนาคาร โดยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี คณะกรรมการบริษัทโจทก์มีมติให้โรงงานน้ำตาลจ่ายค่าบริการแก่โจทก์ร้อยละ 0.5 ต่อปี โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยจากโรงงานน้ำตาลในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร แม้การกระทำของโจทก์จะเข้าลักษณะเป็นการกู้เงินจากธนาคารแล้วนำมาให้กู้ต่อโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน ก็เป็นการให้กู้แก่โรงงานน้ำตาลซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนโดยเฉพาะ และให้กู้ด้วยเงินที่ได้จากการทำแพคกิ้งเครดิตเพื่อช่วยเหลือให้โรงงานน้ำตาลมีเงินทุนหมุนเวียนก่อนที่จะได้รับชำระราคาน้ำตาลตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หาใช่เป็นการกู้เพื่อหาประโยชน์โดยทั่วไปไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์อันเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ดังนั้น การประเมินของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากแพคกิ้งเครดิต: ไม่ถือเป็นกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
โจทก์เป็นตัวแทนของโรงงานน้ำตาลในการจัดส่งน้ำตาลไปจำหน่าย ยังต่างประเทศและบริษัทเจ้าของโรงงานน้ำตาลต่างเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ โจทก์ทำสัญญาขายน้ำตาลกับผู้ซื้อในนามของโจทก์ และผู้ซื้อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสำหรับราคาน้ำตาลมาในนามของโจทก์ เงินที่โจทก์ให้โรงงานน้ำตาลกู้เป็นเงินที่โจทก์ได้มาจากการนำเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวแล้วไปทำแพคกิ้งเครดิตกับธนาคาร โดยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี คณะกรรมการบริษัทโจทก์มีมติให้โรงงานน้ำตาลจ่ายค่าบริการแก่โจทก์ร้อยละ 0.5 ต่อปี โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยจากโรงงานน้ำตาลในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร แม้การกระทำของโจทก์จะเข้าลักษณะเป็นการกู้เงินจากธนาคารแล้วนำมาให้กู้ต่อโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน ก็เป็นการให้กู้แก่โรงงานน้ำตาลซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนโดยเฉพาะ และให้กู้ด้วยเงินที่ได้จากการทำแพคกิ้งเครดิตเพื่อช่วยเหลือให้โรงงานน้ำตาลมีเงินทุนหมุนเวียนก่อนที่จะได้รับชำระราคาน้ำตาลตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หาใช่เป็นการกู้เพื่อหาประโยชน์โดยทั่วไปไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์อันเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ดังนั้น การประเมินของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริษัทต่างประเทศประกอบการค้าในไทย มีหน้าที่เสียภาษีการค้า แม้จะระบุในสัญญาให้โจทก์เป็นผู้ออกภาษีแทน
บริษัทส.จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีสำนักงานตั้งอยู่ในต่างประเทศ แต่เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยเข้าทำสัญญากับโจทก์รับจ้างและร่วมดำเนินการในการให้บริการในด้านวิศวกรรมและให้บริการต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตเหล็กให้แก่โจทก์ โดยได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากโจทก์ อันถือได้ว่าเป็นการประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีการค้าสำหรับเงินค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่ได้รับจากโจทก์เมื่อตามสัญญาระบุว่าโจทก์รับเป็นผู้ออกภาษีให้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นสาขาหรือตัวแทนของบริษัท ฮ. ในการเสียภาษีด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าของบริษัท ฮ. ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่ปฏิบัติ เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ถือหุ้นโดยบริษัท มิใช่การประกอบกิจการค้าเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้า
บริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าในการให้กู้ยืมเงินโจทก์ให้ผู้ถือหุ้นของโจทก์กู้ยืมเงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิและเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบการสงเคราะห์ผู้ถือหุ้น โจทก์ไม่ได้ให้ลูกค้าของโจทก์หรือบุคคลภายนอกกู้ยืมแต่อย่างใด การที่โจทก์ให้ผู้ถือหุ้นของโจทก์กู้ยืมเงินเป็นเรื่องโจทก์ให้สวัสดิการและสงเคราะห์แก่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ อันเป็นเรื่องกิจการภายในของโจทก์โดยแท้ไม่มีลักษณะเป็นการประกอบกิจการค้ากับบุคคลภายนอก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้าง, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และการคืนเงินภาษีการค้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยทำเฟอร์นิเจอร์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงงานของจำเลย จำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์ขอทำเฟอร์นิเจอร์เพียงบางรายการและขอต่ออายุสัญญาออกไป โจทก์เรียกจำเลยและผู้รับจ้างรายอื่นมาประชุมแล้วตกลงให้จำเลยทำงานตามที่ขอและให้ผู้รับจ้างรายอื่นทำงานส่วนที่จำเลยขอไม่ทำ เมื่อจำเลยทำงานเสร็จโจทก์ก็ยอมรับมอบแต่โดยดี พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ถือได้ว่าโจทก์ จำเลย ตกลงเลิกสัญญาฉบับเดิมแล้ว
ค่าจ้างทนายความให้ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ผิดสัญญา มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดขึ้นจากผลที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโดยตรงแต่ประการใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
จำเลยรับจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำเลยจึงไม่ต้องชำระภาษีการค้าในส่วนนี้ให้แก่ทางราชการ แต่ต้องใช้ให้แก่โจทก์
ค่าจ้างทนายความให้ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ผิดสัญญา มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดขึ้นจากผลที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโดยตรงแต่ประการใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
จำเลยรับจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำเลยจึงไม่ต้องชำระภาษีการค้าในส่วนนี้ให้แก่ทางราชการ แต่ต้องใช้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงเลิกสัญญาและการชำระหนี้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการคืนเงินภาษีการค้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยทำเฟอร์นิเจอร์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงงานของจำเลย จำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์ขอทำเฟอร์นิเจอร์เพียงบางรายการและขอต่ออายุสัญญาออกไป โจทก์เรียกจำเลยและผู้รับจ้างรายอื่นมาประชุมแล้วตกลงให้จำเลยทำงานตามที่ขอและให้ผู้รับจ้างรายอื่นทำงานส่วนที่จำเลยขอไม่ทำ เมื่อจำเลยทำงานเสร็จโจทก์ก็ยอมรับมอบแต่โดยดี พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ถือได้ว่าโจทก์จำเลย ตกลงเลิกสัญญาฉบับเดิมแล้ว
ค่าจ้างทนายความให้ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ผิดสัญญา มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดขึ้นจากผลที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโดยตรงแต่ประการใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
จำเลยรับจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำเลยจึงไม่ต้องชำระภาษีการค้าในส่วนนี้ให้แก่ทางราชการ แต่ต้องใช้ให้แก่โจทก์
ค่าจ้างทนายความให้ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ผิดสัญญา มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดขึ้นจากผลที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโดยตรงแต่ประการใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
จำเลยรับจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำเลยจึงไม่ต้องชำระภาษีการค้าในส่วนนี้ให้แก่ทางราชการ แต่ต้องใช้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้า
ประมวลรัษฎากรมาตรา78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าลำดับที่12 ถือว่าการประกอบกิจการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์อย่างหนึ่ง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์จะให้ลูกค้ากู้ยืมเงินโดยจำกัดตัวบุคคลผู้กู้ และมีเงื่อนไขในการกู้ว่า ต้องนำเงินกู้นั้นไปปฏิบัติตามโครงการส่งเสริมการค้าของโจทก์ก็ตาม ก็ย่อมไม่พ้นจากการประกอบธุรกิจในการให้กู้ยืมเงิน เพราะถึงอย่างไรโจทก์ก็ยังต้องการดอกเบี้ยจากผู้กู้อยู่นั่นเองเมื่อการให้กู้ยืมเงินของโจทก์เป็นการประกอบกิจการโดยปกติในทางการค้าของโจทก์ จึงถือเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ2.5 ของค่าดอกเบี้ยที่ได้รับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2525)
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์จะให้ลูกค้ากู้ยืมเงินโดยจำกัดตัวบุคคลผู้กู้ และมีเงื่อนไขในการกู้ว่า ต้องนำเงินกู้นั้นไปปฏิบัติตามโครงการส่งเสริมการค้าของโจทก์ก็ตาม ก็ย่อมไม่พ้นจากการประกอบธุรกิจในการให้กู้ยืมเงิน เพราะถึงอย่างไรโจทก์ก็ยังต้องการดอกเบี้ยจากผู้กู้อยู่นั่นเองเมื่อการให้กู้ยืมเงินของโจทก์เป็นการประกอบกิจการโดยปกติในทางการค้าของโจทก์ จึงถือเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ2.5 ของค่าดอกเบี้ยที่ได้รับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมันเนย: การตีความ 'เนย' ตาม พ.ร.ก. และหน้าที่ในการยื่นรายการภาษีที่ถูกต้อง
การที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฯ(ฉบับที่ 28)พ.ศ.2511 และ (ฉบับที่ 57) พ.ศ.2518 นำคำว่า'นอกจากมันเนย' ไปต่อท้ายคำว่า'เนย' แสดงว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามประมวลรัษฎากรถือว่า 'เนย' มีความหมายถึง'มันเนย' ด้วย จึงกำหนดข้อยกเว้นไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ประสงค์จะเก็บภาษีการค้าสำหรับมันเนยในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับฉะนั้นโจทก์นำสินค้ามันเนยเข้ามาในราชอาณาจักรช่วงเวลาที่พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่43) พ.ศ.2516 ซึ่งไม่ได้กำหนดยกเว้นสำหรับสินค้ามันเนยไว้บังคับโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ 7 ของรายรับ
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89,89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้วมิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89,89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้วมิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการขายที่ดิน: การขายสมบัติเก่า vs. การค้าหากำไร, การส่งหนังสือแจ้งประเมินทางไปรษณีย์
การส่งหมายเรียกหรือหนังสืออื่นถึงบุคคลใดเกี่ยวกับภาษีอากรฝ่ายสรรพากร โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคแรกนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติวิธีการส่งไว้อย่างในกรณีที่มีผู้นำส่ง แต่ย่อมเห็นได้ว่าพนักงานไปรษณีย์ผู้นำส่งจะต้องส่งให้แก่ผู้รับหรือบุคคลที่อยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับตามที่ผู้ส่งได้จ่าหน้าซองไว้จึงจะถือได้ว่าเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นถ้าปรากฏว่าผู้ที่พนักงานไปรษณีย์ให้ลงลายมือชื่อรับหนังสือไว้แทนโจทก์ไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในบ้านโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือในวันดังกล่าวต้องถือเอาวันที่โจทก์ได้รับจริง
โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้มาโดยการรับจำนองและจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิตั้งแต่ พ.ศ. 2466 แล้วได้ครอบครองทำนาทำสวนตลอดมาเป็นเวลา 35 ปี จึงได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขายและให้ได้ราคาดีขึ้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนามาก่อนเลยว่าจะนำที่ดินแปลงนี้มาจัดสรรขาย การที่โจทก์รับจำนองไว้ก็เพื่อหวังจะได้ดอกเบี้ยไม่ได้หวังจะได้ที่ดินมาเพื่อทำการค้าแต่อย่างใด และโจทก์เพิ่งขายไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาถึง 47 ปีเศษ การขายที่ดินของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการขายสมบัติเก่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้มาโดยการรับจำนองและจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิตั้งแต่ พ.ศ. 2466 แล้วได้ครอบครองทำนาทำสวนตลอดมาเป็นเวลา 35 ปี จึงได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขายและให้ได้ราคาดีขึ้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนามาก่อนเลยว่าจะนำที่ดินแปลงนี้มาจัดสรรขาย การที่โจทก์รับจำนองไว้ก็เพื่อหวังจะได้ดอกเบี้ยไม่ได้หวังจะได้ที่ดินมาเพื่อทำการค้าแต่อย่างใด และโจทก์เพิ่งขายไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาถึง 47 ปีเศษ การขายที่ดินของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการขายสมบัติเก่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการขายที่ดิน: การขายสมบัติเก่าไม่ถือเป็นการค้า
การส่งหมายเรียกหรือหนังสืออื่นถึงบุคคลใดเกี่ยวกับภาษีอากรฝ่ายสรรพากรโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรกนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติวิธีการส่งไว้อย่างในกรณีที่มีผู้นำส่ง แต่ย่อมเห็นได้ว่าพนักงานไปรษณีย์ผู้นำส่งจะต้องส่งให้แก่ผู้รับหรือบุคคลที่อยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับตามที่ผู้ส่งได้จ่าหน้าซองไว้จึงจะถือได้ว่าเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นถ้าปรากฏว่าผู้ที่พนักงานไปรษณีย์ให้ลงลายมือชื่อรับหนังสือไว้แทนโจทก์ไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในบ้านโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือในวันดังกล่าว ต้องถือเอาวันที่โจทก์ได้รับจริง
โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้มาโดยการรับจำนองและจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิตั้งแต่ พ.ศ. 2466 แล้วได้ครอบครองทำนาทำสวนตลอดมาเป็นเวลา 35 ปี จึงได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขายและให้ได้ราคาดีขึ้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนามาก่อนเลยว่าจะนำที่ดินแปลงนี้มาจัดสรรขาย การที่โจทก์รับจำนองไว้ก็เพื่อหวังจะได้ดอกเบี้ย ไม่ได้หวังจะได้ที่ดินมาเพื่อทำการค้าแต่อย่างใด และโจทก์เพิ่งขายไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาถึง 47 ปีเศษ การขายที่ดินของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการขายสมบัติเก่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้มาโดยการรับจำนองและจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิตั้งแต่ พ.ศ. 2466 แล้วได้ครอบครองทำนาทำสวนตลอดมาเป็นเวลา 35 ปี จึงได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขายและให้ได้ราคาดีขึ้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนามาก่อนเลยว่าจะนำที่ดินแปลงนี้มาจัดสรรขาย การที่โจทก์รับจำนองไว้ก็เพื่อหวังจะได้ดอกเบี้ย ไม่ได้หวังจะได้ที่ดินมาเพื่อทำการค้าแต่อย่างใด และโจทก์เพิ่งขายไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาถึง 47 ปีเศษ การขายที่ดินของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการขายสมบัติเก่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11