คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีเงินได้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาจ่ายค่าจ้างต่อ – ภาษีเงินได้: เงินได้จากการค้าของผู้รับเหมาเป็นเงินได้ของตน แม้จะจ่ายต่อให้ผู้รับจ้างย่อย
ผู้รับเหมาก่อสร้างทำสัญญาโดยตรงในการรับประมูลก่อสร้างสะพานกับผู้ว่าจ้างและได้รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างทั้งหมดแม้ผู้รับเหมาจะไปว่าจ้างบุคคลอื่นทำงานนั้นต่อโดยจ่ายเงินนั้นให้ด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าเงินที่รับมาเป็นเงินที่ผู้รับเหมาได้มาจากการค้าซึ่งเจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างไม่มีสิทธิฟ้องเรียกภาษีเงินได้จากลูกจ้าง หากมิได้หักภาษีไว้แต่แรก ตามประมวลรัษฎากร
ตามประมวลรัษฎากร แม้จะบัญญัติให้นายจ้างหักเงินภาษีของลูกจ้าง และให้นายจ้างต้องรับผิดในเงินภาษีที่มิได้หักไว้จริง แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องภาษีจากลูกจ้างในกรณีที่มิได้หักเงินภาษีไว้ และบัญญัติให้ลูกจ้างหลุดพ้นความรับผิดในการชำระภาษีเงินได้ เฉพาะแต่กรณีที่นายจ้างหักเงินภาษีไว้แล้วมิได้ให้สิทธินายจ้างฟ้องเรียกเงินภาษีที่มิได้หักไว้ นายจ้างจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินภาษีที่ยังมิได้หักจากลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินที่นายจ้างจ่ายค่าภาษีแทนลูกจ้าง ไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินภาษีตามมาตรา 40(1)(2) ของประมวลรัษฎากร
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 5 นั้น เมื่อมูลกรณีเรื่องภาษีอากรในคดีเรื่องนี้อยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลย(กรมสรรพากร) โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินได้อันพึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา40(1)(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้: เงินที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้าง ไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2) และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5 นั้น เมื่อมูลกรณีเรื่องภาษีอากรในคดีเรื่องนี้อยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลย(กรมสรรพากร) โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินอันพึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา40(1)(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้ที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้าง ไม่ถือเป็นเงินได้ที่ต้องนำมาประเมินภาษีซ้ำ
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินอันพึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1)(2)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าภาษีที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้าง ไม่เป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินได้พึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1)(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ให้เช่าทรัพย์สินมีหน้าที่เสียภาษีจากค่าเช่า แม้จะมอบค่าเช่าให้ผู้อื่น
ตามบทบัญญัติประมวลรัษฎากร ผู้ใดให้เช่าทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ได้ค่าเช่ามาผู้นั้นจึงเป็นผู้ต้องเสียภาษีเงินได้ ฉะนั้นเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของ และผู้ให้เช่าเครื่องเรือนค่าเช่าที่ได้มาย่อมเป็นเงินได้ การที่โจทก์จำหน่ายเงินได้นี้โดยยกให้บุคคลอื่นหรือใช้จ่ายในเหตุอื่นก็ตาม โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในเงินค่าเช่าเครื่องเรือนนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการในไทยโดยตัวแทนต่างประเทศ: ภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัทในต่างประเทศ มีบริษัทโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยแล้ว กรณีภาษีเงินได้ย่อมต้องปรับบทตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ซึ่งบัญญัติให้ถือว่า บริษัทในต่างประเทศนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและให้ถือว่าบริษัทโจทก์เป็นตัวแทนของบริษัทในต่างประเทศนั้นและบริษัทโจทก์ย่อมมีหน้าที่ และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามความที่บัญญัติไว้นั้น แต่จะนำมาตรา 76 ทวินี้ไปใช้กับกรณีภาษีการค้าหาได้ไม่ เพราะอยู่ต่างส่วนต่างหมวดกัน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัทโจทก์ เป็นแต่เพียงผู้ติดต่อแทน บริษัทในต่างประเทศเฉพาะในกิจการลงนามในสัญญาการทวงถามให้จ่ายเงินตามสัญญา การจัดให้มีการออกใบรับเงินและการรับส่งวัสดุเครื่องอุปกรณ์ตามสัญญาซึ่ง เป็นการกระทำเป็นผู้ติดต่อในกิจการเฉพาะรายตามสัญญาเท่านั้น จะถือว่าได้มีการประกอบหรือดำเนินการค้าเป็นปกติธุระอันมีบริษัทโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าแทนยังไม่ได้ บริษัทโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดในภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้ย้อนหลังก่อนมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.ม.รัษฎากร (ฉบับที่ 10) ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายเดิม
การปรเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ตาม ม.61 ในกกรณีที่เกิดขึ้นก่อนมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 ใช้บังคับ ต้องวินิจฉัยคดีตาม ม.61 ก่อนที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.ม.รัษฎากร (ฉบับที่ 10 )
โจทก์เข้าหุ้นส่วนกับผู้อื่นทำการขนส่งชักลากไม้กับบริษัทยอมเบยืเบอร์ม่าโดยโจทก์เป็นผู้ทำสัญญากับบริษัทเมื่อสิ้นปีโจทก์และผู้ถือหุ้นแต่ละคนได้เสียภาษีเงินได้ของแต่ละคนแล้วดังนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ตามสัญญาที่ทำไว้ กับบริษัทบอมเบย์เบอร์มาอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายเดิม
การประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ตาม มาตรา61ในกรณีที่เกิดขึ้นก่อนมี พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10)พ.ศ.2496 ใช้บังคับ ต้องวินิจฉัยคดีตาม มาตรา 61 ก่อนที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10)
โจทก์เข้าหุ้นส่วนกับผู้อื่นทำการขนส่งชักลากไม้กับบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าโดยโจทก์เป็นผู้ทำสัญญากับบริษัทเมื่อสิ้นปีโจทก์และผู้ถือหุ้นแต่ละคนได้เสียภาษีเงินได้ของแต่ละคนแล้วดังนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ตามสัญญาที่ทำไว้ กับบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าอีกหาได้ไม่
of 24