พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานยักยอกทรัพย์ต้องระบุรายละเอียดการกระทำ ความเสียหาย และช่วงเวลาที่ชัดเจน หากไม่ชัดเจนฟ้องไม่สมบูรณ์
ฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ควบคุมดูแลจัดการเก็บรักษาการบัญชีรับจ่ายและรักษาเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2513 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2514เป็นเวลาถึง 1 ปี 7 เดือน จำเลยได้บังอาจยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 11,726.39 บาท ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไปปรากฏจากข้อนำสืบของโจทก์ว่า งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์มี 5งบ คือ งบทั่วไปงบเร่งรัดพัฒนาชนบท งบส่วนการศึกษา งบภาคตะวันออกเฉียงเหนือและงบอุดหนุนสภาตำบล เงินที่หายไปนี้เป็นเงินที่อยู่ในงบเร่งรัดพัฒนาชนบทและเกิดจากการที่จำเลยยักยอกเงินตามบัญชีเงินสดเกินหรือขาดไปรวม 22 รายการ แต่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดที่เป็นสารสำคัญว่า เป็นเงินงบใด และยักยอกแต่ละครั้ง เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อใด เมื่อบรรยายรวมๆกันมาเช่นนี้ จำเลยจะเข้าใจข้อหาเกี่ยวกับเงินที่จำเลยต้องหาว่ายักยอกเบียดบังมิได้เลย ย่อมเสียเปรียบในการต่อสู้คดีฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 894/2508)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมาคือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาทจากนายเสถียร ศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไปจึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมาคือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาทจากนายเสถียร ศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไปจึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาคดียักยอกทรัพย์: การระบุรายละเอียดการกระทำผิดและผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
ฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ควบคุมดูแลจัดการเก็บรักษาการบัญชีรับจ่ายและรักษาเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2513 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2514 เป็นเวลาถึง 1 ปี 7 เดือน จำเลยได้บังอาจยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 11,726.39 บาท ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไป ปรากฏจากข้อนำสืบของโจทก์ว่า งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์มี 5งบ คือ งบทั่วไป งบเร่งรัดพัฒนาชนบท งบส่วนการศึกษางบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และงบอุดหนุนสภาตำบล เงินที่หายไปนี้เป็นเงินที่อยู่ในงบเร่งรัดพัฒนาชนบทและเกิดจากการที่จำเลยยักยอกเงินตามบัญชีเงินสดเกินหรือขาดไปรวม 22 รายการ แต่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดที่เป็นสารสำคัญว่า เป็นเงินงบใด และยักยอกแต่ละครั้ง เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อใด เมื่อบรรยายรวมๆกันมาเช่นนี้ จำเลยจะเข้าใจข้อหาเกี่ยวกับเงินที่จำเลยต้องหาว่ายักยอกเบียดบังมิได้เลย ย่อมเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 894/2508)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมา คือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาท จากนายเสถียรศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไป จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมา คือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาท จากนายเสถียรศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไป จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ตัวแทนครอบครองทรัพย์สินแทนตัวการ ยักยอกทรัพย์เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คู่ความอาจยกขึ้นอ้างได้ในชั้นฎีกา
จำเลยทำงานอยู่กับโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมให้จำเลยเป็นผู้ติดต่อและเก็บเงินจากลูกค้า จำเลยรับเช็คของลูกค้าโจทก์ร่วมมาในฐานะเป็นผู้รับชำระหนี้แทนโจทก์ร่วม มิใช่ในหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายลูกค้า จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเช็คของโจทก์ร่วมในฐานะตัวแทน มีหน้าที่ต้องนำเช็คหรือเงินตามเช็คนั้นส่งให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารและเบียดบังเอาไว้โดยทุจริตโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องจำเลยได้และการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 353 เพราะจำเลยมิได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม
จำเลยทำงานอยู่กับโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมให้จำเลยเป็นผู้ติดต่อและเก็บเงินจากลูกค้า จำเลยรับเช็คของลูกค้าโจทก์ร่วมมาในฐานะเป็นผู้รับชำระหนี้แทนโจทก์ร่วม มิใช่ในหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายลูกค้า จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเช็คของโจทก์ร่วมในฐานะตัวแทน มีหน้าที่ต้องนำเช็คหรือเงินตามเช็คนั้นส่งให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารและเบียดบังเอาไว้โดยทุจริตโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องจำเลยได้และการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 353 เพราะจำเลยมิได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างชักลากไม้ ฝ่ายจำเลยนำรถกลับภูมิลำเนาโดยโจทก์ยินยอม ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา และการแจ้งความยักยอกทรัพย์ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้นำรถยนต์ของจำเลยไปทำการชักลากบรรทุกไม้ของโจทก์จำเลยได้รับเครื่องอะไหล่รถยนต์และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ จากโจทก์ และจากบุคคลอื่นซึ่งโจทก์รับชำระราคาแทน และยังได้รับเงินสดจากโจทก์อีกด้วย โดยตกลงให้คิดหักกับสินจ้างที่จำเลยจะได้รับระหว่างอายุสัญญา มีฝนตกชุกจนจำเลยไม่สามารถนำรถยนต์ออกทำการชักลากไม้ได้ตามปกติ จำเลยจึงนำรถยนต์เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมก่อนโจทก์ได้ไปแจ้งความกล่าวหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์แล้วพนักงานสอบสวนควบคุมตัวจำเลยและกักรถยนต์ของจำเลยไว้ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ และขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยึดรถยนต์ของจำเลยไว้ก่อนมีคำพิพากษาโดยไม่ได้ความว่าโจทก์กลั่นแกล้งจำเลย การที่โจทก์แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนนั้น กรณีมีเค้ามูลและเหตุผลที่จะทำให้โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยทำผิดตามข้อความที่ไปแจ้งความไว้ เพราะเป็นกรณีอยู่ในระหว่างที่จำเลยปฏิบัติตามสัญญายังไม่แล้วเสร็จ ก็นำรถยนต์และสิ่งของไปเสีย ดังนี้ จะถือว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยหาได้ไม่ การที่พนักงานสอบสวนปฏิบัติการควบคุมตัวจำเลยและกักรถยนต์ของจำเลยไว้ ก็เป็นเรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำการยึดรถยนต์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิทางศาล โดยมีเหตุผลในการขอให้คุ้มครองสิทธิของโจทก์ จำเลยมิได้พิสูจน์ให้ปรากฏว่าศาลได้สั่งการเช่นนั้นโดยศาลมีความเห็นหลงไปโดยความผิดหรือเลินเล่อของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263 โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟังข้อเท็จจริงเรื่องเจตนาทางอาญา และการยักยอกทรัพย์ที่ต้องพิจารณาจากการครอบครองทรัพย์
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยขายรถจักรยานยนต์ให้ผู้เสียหายไปแล้วผู้เสียหายยังชำระค่ารถให้จำเลยไม่ครบจำเลยจึงไปเอารถคืนมาโดยใช้อุบายหลอกลวงว่ายืมรถไปเอาทะเบียนรถมาให้ผู้เสียหาย เช่นนี้ ถือได้ว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีเจตนาทางอาญาอยู่ในตัวแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาเป็นเรื่องผิดสัญญายืมในทางแพ่ง และจำเลยไม่มีเจตนาในทางอาญา จึงเป็นการวินิจฉัยที่ฝ่าฝืนข้อเท็จจริง
การที่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายว่าขอยืมรถไปเพื่อเอาทะเบียนรถมาให้ผู้เสียหาย ผู้เสียหายหลงเชื่อคำหลอกลวงดังกล่าวของจำเลยจึงให้จำเลยยืมรถไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองรถของผู้เสียหาย ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
การที่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายว่าขอยืมรถไปเพื่อเอาทะเบียนรถมาให้ผู้เสียหาย ผู้เสียหายหลงเชื่อคำหลอกลวงดังกล่าวของจำเลยจึงให้จำเลยยืมรถไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองรถของผู้เสียหาย ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินและใช้เงินส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาทุจริต ถือเป็นผิดสัญญา ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์
ผู้เสียหายฝากเงินไว้กับจำเลย ต่อมาขอคืน จำเลยคืนให้ไม่ได้อ้างว่าเอาไปใช้หมดแล้ว หลังจากนั้นผู้เสียหายไปทวงอีกหลายครั้งจำเลยขอผัดผ่อน และไม่เคยปฏิเสธ ว่าไม่ได้รับฝากเงิน จนกระทั่งผู้เสียหายไปแจ้งความ พนักงานสอบสวน เรียกไปสอบถาม จำเลยจึงปฏิเสธว่าไม่เคยรับฝากเงินจากผู้เสียหาย ดังนี้ แสดงว่าขณะที่จำเลยเอาเงินไปใช้หมด. จำเลยไม่มีเจตนาทุจริตยักยอกเงินนั้น จึงเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง การที่จำเลยปฏิเสธต่อพนักงานสอบสวนในตอนหลัง ไม่ทำให้จำเลยมีความผิดฐานทุจริตยักยอกเงินที่รับฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดระหว่างลักทรัพย์กับยักยอกทรัพย์ กรณีเจ้าหน้าที่จ่ายน้ำมันเกินจำนวน
จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัทค้าน้ำมัน มีหน้าที่เพียงจ่ายหรือเติมน้ำมันให้แก่ผู้ที่นำใบสั่งจ่ายมายื่นเท่านั้น น้ำมันเก็บรักษาไว้ในคลังน้ำมันซึ่งมีผู้อื่นเป็นผู้จัดการ ดังนี้ ไม่ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองน้ำมัน เมื่อจำเลยจ่ายน้ำมันเกินกว่าจำนวนตามใบสั่งแล้วเอาน้ำมันที่จ่ายเกินนั้นไปโดยทุจริต ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ กรณีเจ้าหน้าที่จ่ายน้ำมันเกินจำนวน
จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัทค้าน้ำมัน มีหน้าที่เพียงจ่ายหรือเติมน้ำมันให้แก่ผู้ที่นำใบสั่งจ่ายมายื่นเท่านั้นน้ำมันเก็บรักษาไว้ในคลังน้ำมันซึ่งมีผู้อื่นเป็นผู้จัดการ ดังนี้ ไม่ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองน้ำมัน เมื่อจำเลยจ่ายน้ำมันเกินกว่าจำนวนตามใบสั่ง แล้วเอาน้ำมันที่จ่ายเกินนั้นไปโดยทุจริต ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดมาตรา 151 และ 147: การแสวงหาประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ vs. การยักยอกทรัพย์
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ก็ต่อเมื่อ ผู้กระทำผิดมีหน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ แล้วใช้อำนาจในตำแหน่งแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายจากตัวทรัพย์นั้น โดยมิได้เอาตัวทรัพย์ไป ไม่ใช่เพียงแต่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นเท่านั้น จำเลยได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินงานควบคุมจัดการกิจการประปาของเทศบาล ได้ติดตั้งการใช้น้ำประปาให้ ส. กับพวก แล้วไม่ลงทะเบียนผู้ใช้น้ำประปา เรียกเก็บค่าใช้น้ำประปาทุกเดือน และออกหลักฐานจำนวนก๊อกน้ำประปาของผู้ติดตั้งน้อยกว่าความจริง แล้วเก็บเงินมากกว่าจำนวนค่าธรรมเนียมที่เทศบาลกำหนด และโจทก์บรรยายฟ้องเจาะจงว่าจำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินรายได้ 3,955 บาท จากกิจการประปาของเทศบาลที่จำเลยรับไว้จาก ส. กับพวก ไว้เป็นประโยชน์ส่วตัว โดยทุจริต ดังนี้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 เท่านั้น จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 151 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน: ต้องมีหน้าที่จัดการทรัพย์โดยตรง ไม่ใช่แค่เกี่ยวข้อง
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151ก็ต่อเมื่อผู้กระทำผิดมีหน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ แล้วใช้อำนาจในตำแหน่งแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายจากตัวทรัพย์นั้นโดยมิได้เอาตัวทรัพย์ไป ไม่ใช่เพียงแต่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นเท่านั้น จำเลยได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินงานควบคุมจัดการกิจการประปาของเทศบาล ได้ติดตั้งการใช้น้ำประปาให้ ส. กับพวกแล้วไม่ลงทะเบียนผู้ใช้น้ำประปาเรียกเก็บค่าใช้น้ำประปาทุกเดือน และออกหลักฐานจำนวนก๊อกน้ำประปาของผู้ติดตั้งน้อยกว่าความจริงแล้วเก็บเงินมากกว่าจำนวนค่าธรรมเนียมที่เทศบาลกำหนด และโจทก์บรรยายฟ้องเจาะจงว่า จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินรายได้ 3,955 บาท จากกิจการประปาของเทศบาลที่จำเลยรับไว้จาก ส. กับพวก ไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว โดยทุจริต ดังนี้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 เท่านั้น จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 151 ด้วย