คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การยินยอมของภริยาไม่ถือเป็นการรับบุตรบุญธรรม
นาย ป.สามีแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม นาง ส.ภรรยาของนาย ป.ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด บันทึกต่อท้ายทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเพียงหลักฐานที่นายทะเบียนได้ทำขึ้นเพื่อแสดงว่า นาง ส.ได้ยินยอมให้นาย ป.จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น แม้บันทึกดังกล่าวมีข้อความว่า นาง ส.ได้รับเป็นมารดาของผู้ร้องด้วย ก็ไม่มีผลเป็นการรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เพราะการรับบุตรบุญธรรมจะมีผลตามกฎหมายเมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อนาง ส.ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของนาง ส. และไม่ใช่ทายาทของนาง ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์จากการกรอกข้อความภายหลังโดยไม่ยินยอม
จำเลยลงชื่อในหนังสือสัญญากู้โดยไม่กรอกข้อความ โจทก์ได้กรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้นั้นว่าจำเลยกู้ยืมเงิน 60,000 บาท โดยจำเลยไม่ยินยอมสัญญากู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ ดังนี้โจทก์ไม่อาจนำมาเป็นหลักฐานฟ้องบังคับจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ต้องมียินยอมคู่สมรส กรณีสามีภรรยาแยกกันอยู่และขาดการติดต่อ
โจทก์ที่ 1 เป็นสามีของผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาโจทก์ที่ 1 และผู้ตายต่างย้ายภูมิลำเนาจากที่เดิมไปอยู่ที่อื่นซึ่งเป็นคนละแห่งกันโดยมิได้มีการติดต่อเยี่ยมเยียน หรือส่งข่าวคราวให้แก่กันเลยเป็นเวลานานหลายปีจึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การที่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมในระหว่างที่แยกกันอยู่กับโจทก์ที่ 1 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/25 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันครอบคลุมตั๋วสัญญาใช้เงินที่ต่ออายุ โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ผ่อนผันเวลาชำระหนี้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ว่าหากโจทก์ผ่อนผันเวลาการชำระหนี้ให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยตกลงด้วยในการผ่อนผันเวลาทุกครั้งโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน เช่นนี้จำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์, การสิ้นสุดสัญญา, การละเมิด, การยินยอม, หนังสือบอกกล่าว
สัญญาที่สามีของจำเลยทำกับเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิม เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่า โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่จำต้องตอบแทนสิ่งใดให้แก่สามีของจำเลย แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าอยู่ในตัว ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทต้องผูกพันในเรื่องการเช่าที่เจ้าของเดิมทำไว้กับสามีจำเลย เมื่อสัญญาเช่าดังกล่าวไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงบังคับกันได้เพียง3 ปี
ก่อนครบกำหนดสัญญา โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวที่เช่ามาจากเจ้าของเดิมแล้วให้จำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์ จำเลยก็นำค่าเช่าไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางตั้งแต่เดือนธันวาคม 2526 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2528 โจทก์ไปรับค่าเช่าถึงเดือนธันวาคม 2527 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญา พฤติการณ์ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไปโดยไม่ทักท้วงไม่ได้ และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่หลังจากครบกำหนดสัญญาเพียง 2 เดือนไปถึงจำเลยแจ้งให้ทราบว่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไป ให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปพร้อมกับชำระค่าเสียหายให้ โดยส่งให้จำเลยโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปที่ตึกแถวพิพาทแต่จำเลยไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยทราบข้อความในหนังสือดังกล่าวแล้วการที่จำเลยอยู่ในตึกแถวที่เช่าภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่าเท่ากับเป็นการละเมิด หาใช่เป็นการอยู่โดยคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาไม่เช่นกัน โจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีคู่สัญญาที่ถูกต้อง การยินยอมของคนขับรถแทนบริษัทประกันภัยไม่ถือเป็นสัญญา
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ข้อ (3) ระบุว่าโจทก์ขอให้บริษัทประกันภัยของจำเลยที่ 2 นำรถของโจทก์ไปซ่อมแซมให้ และข้อ (4) ระบุว่า จำเลยที่ 2 โดยบริษัทประกันภัยยินยอมตามข้อตกลง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงตามบันทึกนั้นแทนบริษัทประกันภัยหาใช่ตกลงในฐานะส่วนตัวไม่ และการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงคนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ยินยอมตามข้อตกลงดังกล่าวเพราะทราบว่ารถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 มีประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย และคิดว่าบริษัทประกันภัยคงต้องชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ จึงได้ยินยอมตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวขึ้น ดังนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลงเช่นว่านี้เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และบริษัทประกันภัยจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะมีผลให้มูลหนี้ละเมิดตามฟ้องระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสโดยความยินยอมของคู่สมรส แม้ภายหลังจะมาฟ้องเพิกถอนมิได้ ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อ. ได้ที่ดินพิพาทมาโดยการรับมรดกระหว่างเป็นสามีโจทก์เมื่อปรากฏว่า อ. ได้รับมรดกที่ดินพิพาทมาก่อนวันที่ 16 ตุลาคม2519 อันเป็นวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มีผลใช้บังคับ ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1466
แม้ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ก็ตามเมื่อปรากฏว่าการที่ อ. ยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยด้วยนั้น โจทก์ซึ่งรู้เห็นอยู่แล้วไม่ได้คัดค้านหรือทักท้วงประการใดกลับปล่อยให้จำเลยดำเนินการไถ่ถอนการขายฝาก และจดทะเบียนโอนที่ดินยกให้เป็นของจำเลยแล้ว โจทก์จะมาใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการยกให้ซึ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนก่อให้เกิดสิทธิเฉพาะคู่สัญญา บุคคลภายนอกไม่ผูกพัน เว้นแต่จะยินยอม
สัญญาที่เจ้าของที่ดินตกลงให้โจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงบนที่ดินโดยเสียค่าตอบแทนให้เจ้าของที่ดิน และให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินช่วย ค่าก่อสร้างจากผู้เช่าเมื่อเจ้าของที่ดินจดทะเบียนการเช่าแล้วให้โจทก์ยกตึกแถวแก่เจ้าของที่ดิน เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลผูกพันโดยไม่ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้จำเลยผู้ซื้อจะรับโอนที่ดินจากทายาทของเจ้าของที่ดินเดิมพร้อมตึกซึ่งเป็นของโจทก์โดยรู้ว่าเจ้าของที่ดินเดิม ทำสัญญาผูกพันกับโจทก์ที่จะต้องไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินพร้อมตึกนั้นให้แก่ผู้ประสงค์จะเช่า แต่สัญญาระหว่างโจทก์กับเจ้าของที่ดินเดิม ดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนก่อให้เกิดแต่เพียงบุคคลสิทธิผูกพันบังคับได้ระหว่างทายาทของเจ้าของที่ดินเดิม กับโจทก์เท่านั้น จำเลยเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่สัญญา เมื่อจำเลยไม่ได้ยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4909/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจำนองต้องแจ้งให้จำเลยทราบ หรือจำเลยยินยอม เพื่อใช้บังคับได้
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ความว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาจำนองได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงเรื่องการบอกกล่าวการโอนการรับจำนองหรือจำเลยได้ยินยอมด้วยแล้ว เมื่อจำเลยอ้างตนเองเบิกความเป็นพยานว่าจำเลยไม่รู้เรื่องการโอนดังกล่าว การโอนการรับจำนองนี้จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4909/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจำนอง: จำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบหรือได้รับความยินยอมจึงจะมีผลผูกพัน
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ความว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาจำนองได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงเรื่องการบอกกล่าวการโอนการรับจำนองหรือจำเลยได้ยินยอมด้วยแล้ว เมื่อจำเลยอ้างตนเองเบิกความเป็นพยานว่าจำเลยไม่รู้เรื่องการโอนดังกล่าว การโอนการรับจำนองนี้จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.
of 68