คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระงับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดเดียว: สิทธิฟ้องระงับเมื่อรับโทษแล้ว
เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยพร้อมด้วยทรัพย์ของกลางในคดีก่อนกับคดีนี้ในคราวเดียวกัน แต่ที่แยกฟ้องเพราะทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีมีผู้เสียหายสองคน การที่จำเลยมิได้รับทรัพย์ของกลางในคดีนี้กับในคดีก่อนไว้คนละคราวกัน จึงเป็นการกระทำความผิดฐานรับของโจรกรรมเดียว เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแล้ว สิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยสำหรับความผิดฐานรับของโจรในคดีนี้จึงระงับไปตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันระงับเมื่อมีการประนีประนอมยอมความกับลูกหนี้หลัก ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายของ ก. ต่อโจทก์ แต่เมื่อโจทก์และ ก. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ ก. จะต้องรับผิด ความรับผิดของ ก. ที่เกิดจากสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายและความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงระงับสิ้นไป และทำให้ ก. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 เมื่อความรับผิดของ ก. ต่อโจทก์เปลี่ยนเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยเนื่องจากหนี้ของ ก. ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายระงับสิ้นไปแล้วตามมาตรา 698

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระงับด้วยการประนีประนอมยอมความ ผลต่อการบังคับคดี
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระบุว่า จำเลยและ ส. ตัวแทนบริษัทธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) มาศาล ส. แถลงว่าจำเลยกับญาติผู้ตายทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความค่าเสียหายส่วนแพ่งที่สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา โดยบริษัทธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ห. ภริยาของ ว. ผู้ตาย จำนวน 600,000 บาท และจ่ายให้แก่ผู้ร้องที่ 2 จำนวน 450,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยในส่วนแพ่งว่า ในส่วนของค่าสินไหมทดแทนนั้น จำเลยและบริษัทผู้รับประกันภัยค้ำจุนร่วมกันชดใช้ให้แก่ผู้ร้องทั้งสองแล้ว ชั้นสืบพยานในส่วนแพ่งในศาลชั้นต้น จำเลยได้นำบันทึกการเจรจาตกลงเอกสารหมาย ล.1 มาประกอบการถามค้านผู้ร้องทั้งสอง ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าจำเลยได้ยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับบันทึกการเจรจาตกลงตามเอกสารหมาย ล.1 ไว้ในคำให้การส่วนแพ่งแล้ว มิใช่จะให้การเฉพาะค่าสินไหมทดแทนสูงเกินส่วน การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกบันทึกการเจรจาตกลงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
เมื่อพิจารณาตามบันทึกการเจรจาตกลงเอกสารหมาย ล.1 มีข้อความว่า จำเลยยอมรับผิดในการทำละเมิดเป็นเหตุให้ อ. ผู้ตายถึงแก่ความตายกับยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้องที่ 2 เป็นเงิน 450,000 บาท โดยผู้ร้องที่ 2 ระบุว่า ไม่ประสงค์จะฟ้องร้องให้ดำเนินคดีใดและเรียกค่าสินไหมทดแทนใด ๆ เพิ่มเติมกับจำเลยอีกต่อไป เมื่อบันทึกฉบับนี้มีข้อความว่าผู้ร้องที่ 2 ยินยอมรับเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน 450,000 บาท จากตัวแทนของจำเลย ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 ได้แก่ ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ๆ อีกด้วย และวรรคสาม ถ้าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลคนหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ดังนั้น ค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุในเอกสารหมาย ล.1 จึงรวมกับค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายอย่างอื่นตลอดจนค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาของ อ. ผู้ตายแล้ว เมื่อผู้ร้องที่ 2 ยินยอมรับเงินตามบันทึกการเจรจาและไม่ประสงค์ฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนใด ๆ จากจำเลยอีก ทำให้สิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลง ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ตามลักษณะประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งมีผลให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดจากจำเลยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8188/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความระหว่างจำเลยและผู้เสียหาย ทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
จำเลยยื่นฎีกาและมีเอกสารแนบท้ายฎีกาเป็นสำเนาบันทึกการเจรจาตกลงกันระหว่าง บ. บุตรของจำเลยกับผู้เสียหาย และสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน มีข้อความทำนองเดียวกันระบุว่า บ. นำค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด 40,000 บาท ชำระให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวจาก บ. แล้วและไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยอีกต่อไปทั้งในทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งมีความหมายว่าไม่ติดใจเอาความแก่จำเลย ท้ายข้อความดังกล่าวมีผู้เสียหายลงลายมือชื่อไว้ ซึ่งโจทก์ได้รับสำเนาฎีกาแล้วมิได้แก้ฎีกาหรือแถลงคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวมิใช่เอกสารที่ผู้เสียหายทำมอบให้แก่ฝ่ายจำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงต้องฟังว่าเป็นเอกสารที่ผู้เสียหายทำขึ้นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างและข้อความในเอกสารดังกล่าวก็ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ตกลงยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงและยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 341 และ 352 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์คดีเช็ค ย่อมระงับสิทธิฟ้องอาญา คดีความผิดต่อส่วนตัว
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เมื่อตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีใจความว่าตามที่บริษัท ว. โดย ร. ผู้รับมอบอำนาจได้ร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ น. ผู้ต้องหาในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ไว้นั้น บัดนี้ บริษัท ว. ไม่ประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ น. อีกต่อไป เนื่องจากได้ตกลงกับผู้ต้องหาจนเป็นที่พอใจแล้ว ผู้กล่าวหาจึงขอถอนคำร้องทุกข์ โดยมี ร. ลงชื่อในช่องผู้กล่าวหา ซึ่งตามบันทึกดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ร. ไปถอนคำร้องทุกข์โดยไม่ดำเนินคดีแก่จำเลย ส่วนที่ ซ. พยานโจทก์เบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า พยานไปถอนคำร้องทุกข์ เนื่องจากพนักงานสอบสวนใช้เวลาดำเนินคดีนาน พยานประสงค์จะนำเช็คมาฟ้องคดีด้วยตนเองนั้น นอกจากจะขัดแย้งกับข้อความในสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ระบุว่าผู้กล่าวหาได้ตกลงกับผู้ต้องหาจนเป็นที่พอใจแล้ว ยังปรากฏว่าโจทก์เพิ่งไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยก่อนที่จะถอนคำร้องทุกข์เพียง 13 วันเท่านั้น คำเบิกความของ ซ. ย่อมรับฟังไม่ได้ ดังนี้ เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 5 การถอนคำร้องทุกข์ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปในคดีความผิดต่อส่วนตัวเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็คหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทำให้คดีอาญา (เช็ค) ระงับตามกฎหมาย
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว จำเลยทั้งสองนำเงินเต็มตามจำนวนที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมาวางศาลเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นนัดสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่าย ในวันนัดพร้อมทนายโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์จะรับเงินดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้ทำให้หนี้ตามเช็คพิพาทสิ้นผลไป ประกอบกับโจทก์และจำเลยทั้งสองยังมีคดีพิพาทกันอีกหลายเรื่อง ไม่ประสงค์จะยอมความกันในคดีนี้ โดยทนายโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านแสดงเหตุผลให้ชัดแจ้งว่า การที่จำเลยทั้งสองนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์นั้น ไม่ทำให้หนี้ตามเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันเพราะเหตุใด คงอ้างเพียงว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองยังมีคดีพิพาทกันอีกหลายเรื่อง ซึ่งเป็นเหตุผลที่โจทก์ไม่อาจยกขึ้นอ้างได้ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้ เช่นนี้การวางเงินของจำเลยทั้งสองถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการเพื่อชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์อันทำให้หนี้ตามเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
of 20