คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขายฝากที่ผิดสัญญาและรื้อถอนทรัพย์สิน - อายุความ 10 ปี
เมื่อบ้านที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองและจะต้องส่งมอบบ้านแก่โจทก์ การที่จำเลยรื้อบ้านดังกล่าวจะเป็นการทำละเมิดด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาบ้านรวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้บ้านซึ่งโจทก์รับซื้อฝากไว้มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องถือว่ามีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นเรื่องละเมิดอย่างเดียวและมีอายุความเพียง 1 ปีไม่
การที่จำเลยเป็นผู้ขอให้เรียกกรมการศาสนาเข้ามาเป็นคู่ความเองและคำฟ้องของกรมการศาสนาก็เป็นเรื่องให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์เช่าจากกรมการศาสนาจึงเป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพียงขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยเท่านั้นและคดีนี้ก็ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายซ้ำซ้อนเพราะจำเลยยอมรับมาเองว่า กรมการศาสนาได้รับความเสียหาย ซึ่งศาลชั้นต้นก็ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่กรมการศาสนาตามนั้น จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืนและอายุความฟ้องร้อง: การซื้อขายฝาก การครอบครอง และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
เมื่อบ้านที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้วจำเลยไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองและจะต้องส่งมอบบ้านแก่โจทก์การที่จำเลยรื้อบ้านดังกล่าวจะเป็นการทำละเมิดด้วยหรือไม่ก็ตามแต่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาบ้านรวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้บ้านซึ่งโจทก์รับซื้อฝากไว้มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องถือว่ามีอายุความฟ้องร้อง10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164หาใช่เป็นเรื่องละเมิดอย่างเดียวและมีอายุความเพียง1ปีไม่ การที่จำเลยเป็นผู้ขอให้เรียกกรมการศาสนาเข้ามาเป็นคู่ความเองและคำฟ้องของกรมการศาสนาก็เป็นเรื่องให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์เช่าจากกรมการศาสนาจึงเป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพียงขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยเท่านั้นและคดีนี้ก็ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายซ้ำซ้อนเพราะจำเลยยอมรับมาเองว่ากรมการศาสนาได้รับความเสียหายซึ่งศาลชั้นต้นก็ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่กรมการศาสนาตามนั้นจำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาและการตกลงวิธีการส่งมอบทรัพย์สิน ศาลมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนและชำระค่าใช้จ่ายได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้โจทก์ภายหลังโจทก์จำเลยตกลงกันในศาลว่า หากโจทก์มีสิทธิการเช่าที่ปลูกบ้าน จำเลยจะมอบบ้านพิพาทให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรื้อ หากจำเลยมีสิทธิการเช่า โจทก์ต้องรื้อถอนบ้านไปเองเป็นการตกลงเกี่ยวกับวิธีการส่งมอบบ้าน มีผลบังคับโจทก์จำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิการเช่าที่ดินและโจทก์ไม่ยอมรื้อถอนบ้าน ศาลชั้นต้นมีอำนาจอนุญาตให้จำเลยรื้อถอนและสั่งให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213 ส่วนค่ารักษาทรัพย์ที่รื้อถอน หากโจทก์มิได้ตกลงด้วย ศาลชั้นต้นก็ไม่มีอำนาจสั่งให้โจทก์ชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาและการตกลงวิธีการส่งมอบทรัพย์สิน ศาลมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนและชำระค่าใช้จ่ายได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้โจทก์ภายหลังโจทก์จำเลยตกลงกันในศาลว่า หากโจทก์มีสิทธิการเช่าที่ปลูกบ้านจำเลยจะมอบบ้านพิพาทให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรื้อหากจำเลยมีสิทธิการเช่า โจทก์ต้องรื้อถอนบ้านไปเองเป็นการตกลงเกี่ยวกับวิธีการส่งมอบบ้านมีผลบังคับโจทก์จำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิการเช่าที่ดินและโจทก์ไม่ยอมรื้อถอนบ้าน ศาลชั้นต้นมีอำนาจอนุญาตให้จำเลยรื้อถอนและสั่งให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213 ส่วนค่ารักษาทรัพย์ที่รื้อถอน หากโจทก์มิได้ตกลงด้วย ศาลชั้นต้นก็ไม่มีอำนาจสั่งให้โจทก์ชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาและการตกลงวิธีการส่งมอบทรัพย์สิน ศาลมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนและชำระค่าใช้จ่ายได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้โจทก์ภายหลังโจทก์จำเลยตกลงกันในศาลว่าหากโจทก์มีสิทธิการเช่าที่ปลูกบ้านจำเลยจะมอบบ้านพิพาทให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรื้อหากจำเลยมีสิทธิการเช่าโจทก์ต้องรื้อถอนบ้านไปเองเป็นการตกลงเกี่ยวกับวิธีการส่งมอบบ้านมีผลบังคับโจทก์จำเลยเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิการเช่าที่ดินและโจทก์ไม่ยอมรื้อถอนบ้านศาลชั้นต้นมีอำนาจอนุญาตให้จำเลยรื้อถอนและสั่งให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา213ส่วนค่ารักษาทรัพย์ที่รื้อถอนหากโจทก์มิได้ตกลงด้วยศาลชั้นต้นก็ไม่มีอำนาจสั่งให้โจทก์ชำระ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีรุกล้ำที่ดิน: การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างซ้ำกับคดีเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้ว
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยสร้างตึกรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 981 และปลูกสร้างฝาผนังก่ออิฐรุกล้ำอีกด้วย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 981 ของโจทก์พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 981 และมีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำตรงตามฟ้องคดีเดิมทุกประการ และขอให้พิพากษารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเช่นเดียวกับคดีเดิม ถือได้ว่า คดีเดิมและคดีนี้คู่ความเดียวกัน ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินซ้ำกับคดีเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้ว
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยสร้างตึกรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่981 และปลูกสร้างฝาผนังก่ออิฐรุกล้ำอีกด้วยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 981 ของโจทก์พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 981 และมีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำตรงตามฟ้องคดีเดิมทุกประการ และขอให้พิพากษารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเช่นเดียวกับคดีเดิม ถือได้ว่า คดีเดิมและคดีนี้คู่ความเดียวกันประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีรุกล้ำที่ดิน: การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้วถือเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยสร้างตึกรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่981และปลูกสร้างฝาผนังก่ออิฐรุกล้ำอีกด้วยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่981ของโจทก์พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่981และมีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำตรงตามฟ้องคดีเดิมทุกประการและขอให้พิพากษารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเช่นเดียวกับคดีเดิมถือได้ว่าคดีเดิมและคดีนี้คู่ความเดียวกันประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามมาตรา148แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขาดความปลอดภัย กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนได้ แม้มีข้อบกพร่องในคำสั่ง
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและการต่อเติมนั้นเป็นเหตุให้ขาดประโยชน์แห่งการป้องกันอัคคีภัย และการผังเมืองไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แม้อาคารพิพาทจะมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะต้องรื้อถอน หัวหน้าเขตมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดิน และต่อมาได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับกับการก่อสร้าง ปรากฏว่าจำเลยมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตดังกล่าวภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารที่ปิดทางเดินด้านหลังและที่ต่อเชื่อมอาคารด้านข้างโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดินอีกครั้งหนึ่ง จำเลยได้รับคำสั่งแล้วแต่จำเลยก็มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตครั้งหลังนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตได้การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกินสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52 โจทก์จึงไม่จำต้องรอฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจะกำหนดให้จำเลยรื้อถอนอาคารน้อยกว่าสามสิบวัน อันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรก แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่จำเลยได้รับคำสั่งดังกล่าวนานถึง 2 ปีเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ส่วนที่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจทั้งตามมาตรา 11 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 และตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงหรือต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องหมดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ผิดกฎหมาย: กฎหมายใช้ย้อนหลังไม่ได้กับผู้ซื้อทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจนถูกดำเนินคดีและ เปรียบเทียบปรับไปแล้ว โจทก์ก็มิใช้อำนาจรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้าง ผิดแบบนั้นตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 มาตรา 11 ทวิให้อำนาจไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายอาคารนั้นให้แก่จำเลยที่1 โจทก์ก็ยังมิได้รื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบนั้นแต่ประการใด คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับซึ่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้แม้มาตรา 40 และ มาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารส่วนที่สร้างผิดแบบนั้นได้ก็จะมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารส่วนที่ผิดแบบนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 อนึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วย การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
of 40