พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238-7239/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษต่อลูกจ้าง จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนจึงจะชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายซึ่งโจทก์ทำงานอยู่และมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงิน เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ละทิ้งหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7038/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 และข้อ 47 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 หมายความว่า ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ทั้งนี้ ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืนนายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชา สามารถออกคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานให้เป็นไปตามข้อบังคับการทำงานหรือระเบียบของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้
โจทก์มีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทจำเลยมีหน้าที่บริหารงานและควบคุมดูแลการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบายของจำเลย โจทก์ไม่ต้องไปนั่งทำงานประจำดังเช่นพนักงานทั่วไป คงไปประชุมเพียงเดือนละ 1 ครั้ง นอกนั้นจะสั่งการทางโทรศัพท์หรือเรียกพนักงานของจำเลยไปพบที่บริษัทที่โจทก์นั่งทำงานอยู่ โจทก์มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดและไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยแสดงว่าโจทก์ไม่ต้อง ไปทำงานภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย
โจทก์มีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทจำเลยมีหน้าที่บริหารงานและควบคุมดูแลการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบายของจำเลย โจทก์ไม่ต้องไปนั่งทำงานประจำดังเช่นพนักงานทั่วไป คงไปประชุมเพียงเดือนละ 1 ครั้ง นอกนั้นจะสั่งการทางโทรศัพท์หรือเรียกพนักงานของจำเลยไปพบที่บริษัทที่โจทก์นั่งทำงานอยู่ โจทก์มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดและไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยแสดงว่าโจทก์ไม่ต้อง ไปทำงานภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6977/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าชดเชยกรณีมีเงินบำเหน็จสูงกว่า เงินบำเหน็จทดแทนค่าชดเชยได้ตามกฎหมาย
ตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 กำหนดให้บริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 3 จ่ายเงินชดเชยและเงินบำเหน็จตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งให้แก่พนักงาน และจำเลยที่ 3 จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีตามคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์รับไปแล้ว โจทก์ก็ยอมรับว่าเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีที่ได้รับเป็นเงินบำเหน็จตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เงินบำเหน็จตัดตอนรายปี ที่จำเลยที่ 3 จ่ายให้โจทก์จึงเป็นการจ่ายและรับตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม หาใช่โจทก์รับโดยอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ เพราะบันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว กำหนดเพียงวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำสั่งกระทรวง อุตสาหกรรมที่ 124/2501 ว่าให้จ่ายตัดตอนเป็นรายปีได้เท่านั้น
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพจ้างที่จำเลยที่ 3 ตกลงให้ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับสหภาพแรงงานเป็นทางการและเคยถือปฏิบัติมาก่อนแก่พนักงาน และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง โดยวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างเมื่อนำไปรวมกับค่าจ้างเป็นการให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างดีขึ้น จึงต้องนำไปรวมกับค่าจ้างเพื่อคิดค่าชดเชย และค่าชดเชยดังกล่าวที่ได้รับก็เป็นค่าชดเชยตามจำนวนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย แต่กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับค่าครองชีพอันถือว่าเป็นผลประโยชน์ที่เคยได้รับหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่ามีผลประโยชน์ดังกล่าวที่โจทก์จะพึงได้รับ ส่วนค่าชดเชยซึ่งเป็นผลประโยชน์อีกประการหนึ่งที่โจทก์จะพึงได้รับและจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องจ่ายก็มีเฉพาะค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 และตามกฎหมายเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ได้จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้โจทก์ทั้งห้ารับไปแล้ว และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วย แรงงาน และเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชย ให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนเงิน ชดเชย แต่ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับแต่เงินชดเชยอย่างเดียว ซึ่งแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงิน ชดเชยหรือค่าชดเชยให้โจทก์ครบถ้วนตามกฎหมายแรงงาน คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง และถ้าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย และเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยก็ถือว่าได้จ่ายค่าชดเชยครบถ้วนตามกฎหมายรวมไปกับเงินบำเหน็จแล้ว จำเลยที่ 3 จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีให้โจทก์รับไปแล้ว และเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีดังกล่าวมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับ ถือว่าจำเลยที่ 3 จ่ายค่าชดเชยรวมไปกับเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยอีก
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพจ้างที่จำเลยที่ 3 ตกลงให้ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับสหภาพแรงงานเป็นทางการและเคยถือปฏิบัติมาก่อนแก่พนักงาน และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง โดยวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างเมื่อนำไปรวมกับค่าจ้างเป็นการให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างดีขึ้น จึงต้องนำไปรวมกับค่าจ้างเพื่อคิดค่าชดเชย และค่าชดเชยดังกล่าวที่ได้รับก็เป็นค่าชดเชยตามจำนวนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย แต่กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับค่าครองชีพอันถือว่าเป็นผลประโยชน์ที่เคยได้รับหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่ามีผลประโยชน์ดังกล่าวที่โจทก์จะพึงได้รับ ส่วนค่าชดเชยซึ่งเป็นผลประโยชน์อีกประการหนึ่งที่โจทก์จะพึงได้รับและจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องจ่ายก็มีเฉพาะค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 และตามกฎหมายเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ได้จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้โจทก์ทั้งห้ารับไปแล้ว และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วย แรงงาน และเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชย ให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนเงิน ชดเชย แต่ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับแต่เงินชดเชยอย่างเดียว ซึ่งแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงิน ชดเชยหรือค่าชดเชยให้โจทก์ครบถ้วนตามกฎหมายแรงงาน คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง และถ้าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย และเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยก็ถือว่าได้จ่ายค่าชดเชยครบถ้วนตามกฎหมายรวมไปกับเงินบำเหน็จแล้ว จำเลยที่ 3 จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีให้โจทก์รับไปแล้ว และเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีดังกล่าวมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับ ถือว่าจำเลยที่ 3 จ่ายค่าชดเชยรวมไปกับเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังทรัพย์สินของนายจ้างโดยลูกจ้างหลายกรรมเป็นความผิดหลายกระทง
จำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยรับชำระเงินสดหรือเช็คจากลูกค้าที่ชำระราคาค่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์ร่วมรวม 8 ครั้งเมื่อจำเลยรับเงินสดหรือเช็คดังกล่าวแต่ละครั้งไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบให้โจทก์ร่วมในแต่ละครั้งทันที เมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวแต่ละครั้งเป็นของตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงเป็นกรรม ๆ ไป เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6879/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ ศาลยืนคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยอันเป็นพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบกับสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า ค. และ ง. ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 16 ตุลาคม 2542 ซึ่งเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อพิพาท และการคืนเงินสะสมที่หักไว้ให้ลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 หมายถึงหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่าย ยังมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับ
จำเลยอ้างว่าโจทก์ (ลูกจ้าง) จะต้องรับผิดชอบในสินค้าของจำเลยที่อยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์สูญหายไป แต่โจทก์แถลงต่อศาลแรงงานกลางว่าหนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ ดังนั้น แม้จะให้สืบพยานโจทก์และจำเลยไปก็ไม่ทำให้กลายเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้
โจทก์เป็นพนักงานทำความสะอาดไม่ใช่งานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ตามประกาศกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้เรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือ เงินประกันความเสียหายในการทำงานจากโจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องคืนค่าจ้างที่หักสะสมไว้โดยถือว่าเป็นประกันความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10
จำเลยอ้างว่าโจทก์ (ลูกจ้าง) จะต้องรับผิดชอบในสินค้าของจำเลยที่อยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์สูญหายไป แต่โจทก์แถลงต่อศาลแรงงานกลางว่าหนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ ดังนั้น แม้จะให้สืบพยานโจทก์และจำเลยไปก็ไม่ทำให้กลายเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้
โจทก์เป็นพนักงานทำความสะอาดไม่ใช่งานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ตามประกาศกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้เรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือ เงินประกันความเสียหายในการทำงานจากโจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องคืนค่าจ้างที่หักสะสมไว้โดยถือว่าเป็นประกันความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการหักกลบลบหนี้และเงินประกันความเสียหายในสัญญาจ้างแรงงาน
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344 หมายถึง หนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายยังมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับ ดังนั้นเมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์จะต้องรับผิดชอบในสินค้าของจำเลยที่อยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์สูญหายไป แต่โจทก์แถลงต่อศาลแรงงานกลางว่าหนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ แม้จะให้สืบพยานโจทก์และจำเลยไปก็ไม่ทำให้กลายเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยพนักงานและลูกจ้าง ข้อ 25 กำหนดให้เงินสะสมของพนักงานหรือลูกจ้างรวมทั้งดอกเบี้ยเป็นประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ร้านสหกรณ์โดยการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของพนักงานหรือลูกจ้างนั้น ๆ แต่โจทก์เป็นพนักงานทำความสะอาดไม่ใช่งานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้เรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากโจทก์ เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องคืนค่าจ้างที่หักไว้เป็นรายเดือนให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 10
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยพนักงานและลูกจ้าง ข้อ 25 กำหนดให้เงินสะสมของพนักงานหรือลูกจ้างรวมทั้งดอกเบี้ยเป็นประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ร้านสหกรณ์โดยการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของพนักงานหรือลูกจ้างนั้น ๆ แต่โจทก์เป็นพนักงานทำความสะอาดไม่ใช่งานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้เรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากโจทก์ เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องคืนค่าจ้างที่หักไว้เป็นรายเดือนให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุสมควร การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อความอยู่รอดถือเป็นเหตุสมควรที่ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานในองค์กรเพื่อความเหมาะสมและความอยู่รอดของจำเลยโดยรวมคลังสินค้าและพนักงานกับบริษัท บ. จนเหลือคลังสินค้าแห่งเดียว และมีตำแหน่งผู้จัดการคลังสินค้าเพียงตำแหน่งเดียว เมื่อจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่า ร. มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารคลังสินค้าและคอมพิวเตอร์เหมาะสมกว่าโจทก์ จึงคัดเลือก ร. ไว้ทำงานต่อไป แล้วเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ จึงนับว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรในการเลิกจ้างจึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการร่วมรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง
คู่สัญญามีความประสงค์จะทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กันตามหมายเลขทะเบียนของรถยนต์เป็นสำคัญ แม้ตามสัญญาประกันภัยที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยเป็นผู้ทำจะระบุเลขตัวถังของรถยนต์ผิดมาตลอดจนเกิดเหตุ แต่ในระหว่างนั้น จำเลยที่ 2 ก็จ่ายเบี้ยประกันภัยมาตลอด เมื่อเกิดเหตุขึ้นจำเลยที่ 4 ก็จ่ายค่าเสียหายตามสัญญาทุกครั้ง มิได้ยกขึ้นเป็นข้อโต้แย้ง จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4ได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2
กรมธรรม์ประกันภัยระบุความรับผิดต่อความมรณะไว้ว่า"เกิน 50,000 บาท ถึง 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน" ดังนี้ ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 4 ไว้ในความเสียหายส่วนที่เกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งความเสียหายส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท โจทก์ทั้งสองมีสิทธิที่จะได้รับจากจำเลยที่ 4 ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอยู่แล้วและจำเลยที่ 4 ยังต้องรับผิดในความเสียหายส่วนที่เกิน 50,000 บาท ด้วย แต่ความรับผิดทั้งหมดเมื่อรวมความรับผิดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้วต้องไม่เกินคนละ 100,000 บาท
กรมธรรม์ประกันภัยระบุความรับผิดต่อความมรณะไว้ว่า"เกิน 50,000 บาท ถึง 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน" ดังนี้ ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 4 ไว้ในความเสียหายส่วนที่เกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งความเสียหายส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท โจทก์ทั้งสองมีสิทธิที่จะได้รับจากจำเลยที่ 4 ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอยู่แล้วและจำเลยที่ 4 ยังต้องรับผิดในความเสียหายส่วนที่เกิน 50,000 บาท ด้วย แต่ความรับผิดทั้งหมดเมื่อรวมความรับผิดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้วต้องไม่เกินคนละ 100,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6082/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างที่นายจ้างหักไว้จากลูกจ้าง เริ่มนับเมื่อได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ของนายจ้าง
การที่จำเลยหักจากค่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขายเป็นงวด ๆเพื่อเป็นค่าสินค้าที่เรียกเก็บจากลูกค้าไม่ได้ โดยจำเลยจะต้องจ่ายเงินคืนโจทก์เมื่อเก็บค่าสินค้าที่ขายให้แก่ลูกค้าได้แล้ว เมื่อคดีที่จำเลยฟ้องโรงเรียน ก. เรียกค่าเครื่องพิมพ์ดีดที่โจทก์นำไปขายได้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 แสดงว่าจำเลยได้รับค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วจึงต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิบังคับตามสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169บรรพ 1 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หนี้การเรียกเงินที่นายจ้างหักจากค่านายหน้าจากการขาย (ค่าจ้าง)ของลูกจ้างเพื่อชำระค่าเสียหายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 บรรพ 1 เดิมโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ