พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15078/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องขนส่งต่อเนื่อง: ผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วมเมื่อมีการยกอายุความโดยจำเลยร่วม
ผู้ขายติดต่อจำเลยที่ 2 ผ่านจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนประกอบกิจการในประเทศไทยของจำเลยที่ 2 ให้ขนส่งสินค้าไปยังเมือง Kotka ประเทศฟินแลนด์ โดยจำเลยที่ 1 ออกและลงชื่อในใบตราส่งฉบับแรกให้ ซึ่งใบตราส่งดังกล่าวระบุไว้ด้านขวาของหัวกระดาษว่า Combined Transport Bill of Lading อันเป็นใบตราส่งที่ใช้กับการขนส่งหลายรูปแบบ ระบุสถานที่รับสินค้าและสถานที่บรรทุกลงเรือคือ กรุงเทพมหานคร สถานที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือคือ เมืองโกเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน และสถานที่ส่งมอบสินค้าคือเมือง Kotka ประเทศฟินแลนด์ และได้ความว่าต้องขนส่งด้วยรถบรรทุกจากเมืองโกเทนเบิร์กเพื่อไปยังสถานที่ส่งมอบสินค้าดังกล่าว การขนส่งสินค้าดังกล่าวเป็นการขนส่งทางเรือและทางบกต่อเนื่องกันจนถึงปลายทางอันเป็นการทำสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 7 และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แล้ว เมื่อสัญญาขนส่งสินค้าระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ แม้ใบตราส่งฉบับหลัง จะเป็นใบตราส่งสำหรับการขนส่งสินค้าทางทะเลก็เป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่มีผลกระทบถึงสัญญาขนส่งสินค้าระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่อย่างใด
การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไป โดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น การที่ไม่พบชื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนไว้ หาได้มีผลตามกฎหมายที่จะต้องถือว่าจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คดีนี้จึงมีอายุความฟ้องร้อง 9 เดือน นับแต่วันที่ได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของตามนัย พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ประกอบมาตรา 37
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ใช้บริการของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำกับผู้ขาย และความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากการวางสินค้าไว้ในที่เปิดโล่งขณะที่เกิดฝนตกหนักในระหว่างการขนส่งช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่ผู้ขนส่งทางบกได้รับมอบสินค้าบรรทุกขึ้นรถที่เมืองโกเทนเบิร์ก เมื่อมีเพียงจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางเรือจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองโกเทนเบิร์ก จึงฟังได้ว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมการที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความ 9 เดือน ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ในคำให้การจะมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วยหรือไม่นั้น เห็นว่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ฝ่ายลูกหนี้จะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่อถูกฝ่ายเจ้าหนี้ดำเนินคดีฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ศาลจึงจะยกฟ้องในเหตุนี้ได้ แต่การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของลูกหนี้นั้น แม้ตามปกติลูกหนี้ผู้นั้นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีจะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วยตนเองจึงจะถือว่ามีผลตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อลูกหนี้หลายคนถูกฟ้องร้องให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในลักษณะที่ลูกหนี้หลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมและเป็นจำเลยร่วมกันนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) บัญญัติว่าในกรณีที่ลูกหนี้ร่วมหลายคนซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมให้ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้จะมีผลเท่ากับว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย และเป็นกรณีที่ถือได้ว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงมีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย แม้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม
การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไป โดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น การที่ไม่พบชื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนไว้ หาได้มีผลตามกฎหมายที่จะต้องถือว่าจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คดีนี้จึงมีอายุความฟ้องร้อง 9 เดือน นับแต่วันที่ได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของตามนัย พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ประกอบมาตรา 37
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ใช้บริการของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำกับผู้ขาย และความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากการวางสินค้าไว้ในที่เปิดโล่งขณะที่เกิดฝนตกหนักในระหว่างการขนส่งช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่ผู้ขนส่งทางบกได้รับมอบสินค้าบรรทุกขึ้นรถที่เมืองโกเทนเบิร์ก เมื่อมีเพียงจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางเรือจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองโกเทนเบิร์ก จึงฟังได้ว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมการที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความ 9 เดือน ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ในคำให้การจะมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วยหรือไม่นั้น เห็นว่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ฝ่ายลูกหนี้จะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่อถูกฝ่ายเจ้าหนี้ดำเนินคดีฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ศาลจึงจะยกฟ้องในเหตุนี้ได้ แต่การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของลูกหนี้นั้น แม้ตามปกติลูกหนี้ผู้นั้นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีจะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วยตนเองจึงจะถือว่ามีผลตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อลูกหนี้หลายคนถูกฟ้องร้องให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในลักษณะที่ลูกหนี้หลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมและเป็นจำเลยร่วมกันนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) บัญญัติว่าในกรณีที่ลูกหนี้ร่วมหลายคนซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมให้ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้จะมีผลเท่ากับว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย และเป็นกรณีที่ถือได้ว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงมีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย แม้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่, การผ่อนชำระหนี้, และความรับผิดของลูกหนี้ร่วม/ผู้ค้ำประกัน
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เพียงกำหนดเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้และระยะการชำระหนี้ใหม่เท่านั้น ส่วนข้อตกลงอื่นๆ ยังคงเป็นไปตามสัญญาเดิมและไม่มีข้อตกลงใดแสดงว่าโจทก์กับจำเลยมีเจตนาให้หนี้กู้ยืมตามสัญญาเดิมระงับแล้วมาบังคับกันใหม่ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่
เมื่อสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ข้อ 4 ให้นำเงื่อนไขและข้อตกลงตามสัญญากู้มาใช้บังคับ และเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและหนังสือกู้เงิน ข้อ 2 วรรคสาม ตกลงให้โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร และโดยมิพักต้องชี้แจงให้ผู้กู้ทราบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ได้ก่อนครบกำหนดเวลาตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
โจทก์นำคดีมาฟ้องก็เป็นการใช้สิทธิของโจทก์เองโดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ จำเลยที่ 1 คงรับผิดชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 จะมิได้ให้การต่อสู้ใว้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
เมื่อสัญญาค้ำประกันการกู้เงิน ข้อ 1 มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 2 ยอมผูกพันรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ และข้อ 3 มีข้อตกลงว่า "ธนาคารยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยจะแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบหรือไม่ให้ทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป และยังผูกพันรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมอยู่ตลอดไป" แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินตกลงยกเว้นบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์
เมื่อสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ข้อ 4 ให้นำเงื่อนไขและข้อตกลงตามสัญญากู้มาใช้บังคับ และเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและหนังสือกู้เงิน ข้อ 2 วรรคสาม ตกลงให้โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร และโดยมิพักต้องชี้แจงให้ผู้กู้ทราบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ได้ก่อนครบกำหนดเวลาตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
โจทก์นำคดีมาฟ้องก็เป็นการใช้สิทธิของโจทก์เองโดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ จำเลยที่ 1 คงรับผิดชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 จะมิได้ให้การต่อสู้ใว้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
เมื่อสัญญาค้ำประกันการกู้เงิน ข้อ 1 มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 2 ยอมผูกพันรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ และข้อ 3 มีข้อตกลงว่า "ธนาคารยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยจะแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบหรือไม่ให้ทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป และยังผูกพันรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมอยู่ตลอดไป" แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินตกลงยกเว้นบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22201/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้ร่วมกัน การปลดหนี้เฉพาะราย และเบี้ยปรับที่สูงเกินไป
จำเลยทั้งสองต่างแสดงเจตนาเข้าเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของ ณ. อันถือเป็นการค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง แต่ไม่เกินจำนวนที่จำเลยทั้งสองค้ำประกันไว้ การที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 60,000 บาท แล้วปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องจำเลยที่ 2 เพียงคนเดียว มิได้ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 1 ด้วย การปลดหนี้ดังกล่าวย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมเพียงเท่าส่วนที่โจทก์ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 293 แต่หาทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยไม่ เพราะหนี้รายนี้ยังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ส่วนที่เหลืออีก 40,000 บาท ซึ่งไม่เกินส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ยังเหลืออยู่
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าวจากโจทก์ ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเท่ากับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้นสูงเกินไป สมควรกำหนดให้เท่ากับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าวจากโจทก์ ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเท่ากับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้นสูงเกินไป สมควรกำหนดให้เท่ากับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15154/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมตามเช็ค: การผูกพันของผู้สลักหลังในฐานะอาวัล และขอบเขตการบังคับคดี
จำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) ผู้สั่งจ่าย ต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ที่ตนประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 และ 940 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง จึงเป็นลูกหนี้ร่วม ดังนั้น หนี้ตามที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14094/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน: ต้องแสดงฐานะลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา อันเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. เสียเปรียบ กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 237 แล้ว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ถึง (4) อันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวร่วมกับ จ. ซึ่งจะมีผลให้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำสิทธิ/ค้ำประกัน: สัญญาจำนำสิทธิที่มีข้อความระบุความรับผิดทั้งฐานจำนำและฐานค้ำประกัน ทำให้ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชอบหนี้
แม้สัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินจะระบุชื่อว่าเป็นเรื่องจำนำและเรียกคู่สัญญาว่าผู้รับจำนำและผู้จำนำ แต่สาระสำคัญของสัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินมีสาระสำคัญระบุความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระหนี้แก่โจทก์ไว้ 2 กรณี กรณีแรกระบุว่าจำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากเงินมาจำนำไว้โดยยอมให้ธนาคาร ม. หักหนี้ของจำเลยที่ 1 จากสมุดคู่ฝากเงินของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ กรณีที่สองระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้ธนาคาร ม. อยู่อีกเท่าใด จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมรับผิดชำระแก่ธนาคาร ม. จนครบถ้วน และตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันและตกลงรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 ได้เป็นหนี้ธนาคาร ม. และยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ร่วมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงมีความชัดเจนโดยธนาคาร ม. มีเจตนาให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดทั้งสองกรณี และจำเลยที่ 2 มีความผูกพันตามสัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินเพื่อประกันการชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ม. ทั้งสองกรณีเช่นกัน กล่าวคือ สัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินมีข้อความชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำสมุดคู่ฝากเงินของตนและเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หามีข้อสงสัยที่จะตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมจำกัดความรับผิด: สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ในคดีล้มละลาย
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้บรรษัท ง. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน และจำเลยที่ 1 กับที่ 3 ได้จำนองที่ดินในวงเงิน 4,000,000 บาท เพื่อประกันหนี้ โดยมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า ถ้าหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบถ้วน เช่นนี้ความรับผิดของโจทก์จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่มีต่อบรรษัท ง. นั้นอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมที่จะต้องชำระหนี้ตามฐานะของตน และวงเงินที่มีการกำหนดความรับผิดไว้ โดยจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในฐานะผู้จำนองซึ่งกำหนดวงเงินจำกัดความรับผิดไว้ การที่โจทก์ได้ชำระหนี้ตามภาระค้ำประกันให้แก่บรรษัท ง. ไปนั้น โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของบรรษัท ง. ที่จะมาไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นโดยเต็มจำนวน แต่ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 จำนองที่ดินประกันหนี้ในวงเงิน 4,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และบรรษัท ง. ได้ฟ้องบังคับจำนองจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาให้บังคับจำนองแล้ว และหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบรรษัท ง. นั้น มีจำนวนมากกว่าวงเงินที่จำนองอยู่ เช่นนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ได้จำกัดความรับผิดของตนต่อบรรษัท ง. ไว้ และมีภาระต้องรับผิดต่อบรรษัท ง. ตามวงเงินที่จำนอง แต่โจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าการชำระหนี้เงินของโจทก์ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นความรับผิดต่อบรรษัท ง. หรือรับผิดน้อยกว่าวงเงินที่แต่ละคนเข้าผูกพันแล้ว โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในความรับผิดระหว่างลูกหนี้ร่วมกันอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบรรษัท ง. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชั้นต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 วรรคสอง หาได้ไม่ โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ยังไม่อาจกำหนดได้แน่นอน โจทก์จึงยังไม่อาจนำหนี้ในส่วนนี้มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7463/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเช่าและค่าปรับ, การหักกลบลบหนี้, ลูกหนี้ร่วม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติว่า คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าปรับตามสัญญาเช่าวันละ 200 บาท ของค่าเช่าแต่ละงวดที่ยังไม่ได้ชำระกับค่าปรับจำนวนหนึ่งในสิบของค่าเช่าที่เหลือตลอดอายุของสัญญาเช่าเป็นการฟ้องเรียกค่าปรับตามสัญญาเช่าที่กำหนดให้จำเลยผู้เช่าต้องชำระเพราะเหตุผิดสัญญาจึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 563 ต้องใช้อายุความหกเดือน แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่า มิใช่กรณีฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่าเมื่อกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามมาตรา 193/30 ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าขาดประโยชน์จึงไม่ขาดอายุความและเมื่อค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องใช้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าและจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันคำพิพากษาจึงต้องมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายและค่าปรับกับโจทก์จากเงินที่จำเลยที่ 1 วางเป็นประกันตามสัญญาเช่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ขอหักกลบลบหนี้มาในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้มาและศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งนั้นชอบแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายและค่าปรับกับโจทก์จากเงินที่จำเลยที่ 1 วางเป็นประกันตามสัญญาเช่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ขอหักกลบลบหนี้มาในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้มาและศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งนั้นชอบแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ยืม การฟ้องเรียกหนี้จากลูกหนี้ร่วมที่ไม่ใช่คู่ความเดิมไม่เป็นฟ้องซ้ำ
สามีจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโดยมีจำเลยซึ่งเป็นภริยาลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญา จึงถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามีจำเลยและจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (4) โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ทุกคนพร้อมกันให้ลูกหนี้ชำระหนี้เป็นส่วน ๆ หรือจะฟ้องลูกหนี้ทีละคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนก็ได้ตามมาตรา 291
คดีก่อนโจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย สามีจำเลยซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยคดีนี้จึงไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์กับสามีจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวของโจทก์ระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยประกอบกับจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดไม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย สามีจำเลยซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยคดีนี้จึงไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์กับสามีจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวของโจทก์ระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยประกอบกับจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิดในหนี้แม้ได้รับมรดก: สิทธิเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้เต็มจำนวน
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีในคดีแพ่งซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาแล้วว่าลูกหนี้ (จำเลย) กับพวกในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ท. ลูกหนี้ชั้นต้น ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในคดีนี้ แม้คำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวลูกหนี้ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ตาย ต้องร่วมรับผิดแก่เจ้าหนี้ในทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกได้แก่ลูกหนี้ด้วยก็ตาม ลูกหนี้ก็ยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดส่วนตนในฐานะลูกหนี้ร่วมกับผู้ค้ำประกันคนอื่นและบริษัท ท. ลูกหนี้ชั้นต้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เต็มตามยอดหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ค้างชำระมิใช่จำกัดเพียงจำนวนไม่เกินไปกว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกแก่ลูกหนี้