พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลต้องใช้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ คำสั่งเดิมขัดแย้งกับคำพิพากษา
การที่ศาลชั้นต้นระบุไว้ในคำพิพากษาว่าให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2542 แต่ดอกเบี้ยต้องไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น หมายความว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี โดยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว ปรากฏว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีประกาศ กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดโดยให้ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บแต่ละประเภทของตนเองได้ซึ่งในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 ธนาคารโจทก์ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 14.50ต่อปี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำแถลงของจำเลยที่ 1ที่ขอทราบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อจะได้ชำระหนี้ให้ถูกต้องเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ว่าให้คิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี ไปก่อน จนกว่าคำพิพากษาจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้น จึงเป็นคำสั่งที่มิได้คำนึงถึงข้อความในคำพิพากษาที่ให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบเพราะขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอง ดังนั้น นับแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 14.50 ต่อปี จนถึงวันชำระเงินตามคำพิพากษาครบถ้วนแต่หากในช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์มีการประกาศอัตราดอกเบี้ยใหม่โจทก์ก็ต้องคิดดอกเบี้ยตามอัตราใหม่นั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งจากความผิดอาญา: ศาลต้องพิจารณาความผิดอาญาก่อน
การกระทำอันก่อให้เกิดหนี้ตามคำฟ้องเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งมีอายุความ 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(1) เมื่อการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญา สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาดังที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้ในเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคหนึ่ง หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดอาญา อายุความก็ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยศาลแรงงานกลางต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดอาญาหรือไม่จากพยานหลักฐานของโจทก์จำเลย แต่คดีนี้ยังไม่มีการสืบพยานหลักฐานของคู่ความ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยให้เหตุผลว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเพราะนำคดีมาฟ้องเมื่อเกิน 10 ปีแล้ว จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรับประกัน: โจทก์ขอสิ่งนอกเหนือจากที่จำเลยรับประกัน ศาลไม่อาจบังคับได้
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่ารถยนต์ที่จำเลยขายให้โจทก์มีความชำรุดบกพร่องของระบบเกียร์อันเป็นวัสดุที่จำเลยรับประกันไว้ว่าจะซ่อมหรือเปลี่ยนให้ โจทก์จึงบังคับให้จำเลยซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ให้โจทก์ใหม่เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์กลับขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนเท่ากับราคารถยนต์พิพาทที่โจทก์ซื้อไปจากจำเลยหรือให้จำเลยนำรถยนต์คันใหม่ที่มีลักษณะเหมือนรถยนต์พิพาทและมีสภาพใช้งานได้ดีมาเปลี่ยนให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือจากที่จำเลยได้รับประกันไว้ โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงรับประกันดังกล่าวได้จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: แม้เปลี่ยนรูปคดีเป็นเรียกค่าเสียหาย แต่หากมีมูลหนี้เดิมที่เคยฟ้องแล้ว ศาลจะถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็ค 3 ฉบับของ ก. จำนวน 400,000บาท นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่ 1โดยไม่ขอรับเป็นเงินสดแต่ขอเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คแทน จำเลยที่ 2จึงออกแคชเชียร์เช็คในจำนวนเงินดังกล่าวให้ ต่อมาแคชเชียร์เช็คถูกระงับการจ่ายเงิน โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามแคชเชียร์เช็คจากจำเลยที่ 1 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เรียกเงินจำนวนเดียวกันนั้นอีก แม้จะเปลี่ยนแปลงตั้งรูปคดีใหม่เป็นเรียกค่าเสียหายและขอให้คืนเช็ค 3 ฉบับของ ก. แต่ก็เป็นการเรียกเงินตามแคชเชียร์เช็คที่สืบเนื่องจากเช็ค 3 ฉบับของ ก. ตามคดีก่อนนั่นเอง เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังศาลสั่งงดชี้สองสถาน และประเด็นฟ้องซ้อนที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การจากเดิมที่ให้การไว้ว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญาค้ำประกัน เป็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่ในขณะทำสัญญาและมีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่ในขณะทำสัญญาและมีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ในอนาคต จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด และจำเลยได้ทำสัญญาจำนองกับโจทก์ตามสัญญาจำนองทั้งสี่ฉบับจริง แต่เป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้อื่นที่ได้ชำระไปแล้ว ไม่ใช่หนี้ในคดีนี้ การฟ้องคดีนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้จำเลยต้องรับผิดมากกว่าเงินที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นจำนวนถึง 72,400,000 บาท นั้น เป็นการขอแก้ไขคำให้การโดยยกข้อเท็จริงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ใหม่และเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อเถียง เพื่อหักล้างข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าศาลสั่งให้งดชี้สองสถาน และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีเหตุสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น และไม่ใช่การขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180
แต่ในส่วนที่จำเลยแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองดังกล่าว ต่อศาลแพ่งไว้แล้ว การที่โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองดังกล่าวต่อศาลแพ่งไว้แล้วการที่โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้อนนั้น เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่จำเลยจะขอแก้ไขได้ก่อนมี คำพิพากษา
แต่ในส่วนที่จำเลยแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองดังกล่าว ต่อศาลแพ่งไว้แล้ว การที่โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองดังกล่าวต่อศาลแพ่งไว้แล้วการที่โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้อนนั้น เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่จำเลยจะขอแก้ไขได้ก่อนมี คำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: ศาลพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายและข้อยกเว้นเรื่องความสงบเรียบร้อย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่ในขณะทำสัญญาและมีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ในอนาคต และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจำนองกับโจทก์ตามสัญญาจำนองสี่ฉบับจริง แต่เป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้อื่นที่ได้ชำระไปแล้วไม่ใช่หนี้ในคดีนี้ เป็นการขอแก้ไขคำให้การโดยยกข้อเท็จจริงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ใหม่และเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อเถียงเพื่อหักล้างข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งให้งดชี้สองสถาน จำเลยที่ 2 จึงต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานไปบ้างแล้ว ย่อมเป็นการล่วงเลยกำหนดเวลาที่จะขอแก้ไขคำให้การได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 จึงอนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำให้การไม่ได้
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อศาลแพ่ง โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้อน เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนชอบที่จำเลยที่ 2จะขอแก้ไขได้ แม้จะเป็นการยื่นคำร้องภายหลังวันสืบพยาน
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อศาลแพ่ง โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้อน เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนชอบที่จำเลยที่ 2จะขอแก้ไขได้ แม้จะเป็นการยื่นคำร้องภายหลังวันสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340-4341/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ, การขออนุญาตยื่นคำให้การหลังพ้นกำหนด, และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การได้ต่อเมื่อโจทก์มีคำขอ แต่การที่โจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้หมายความว่าจำเลยไม่ขาดนัดยื่นคำให้การ เพราะเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรก (เดิม) แล้วผลของการที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวมีเพียงว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น หากโจทก์ไม่ยื่นคำขอ ก็เป็นผลทำให้ศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความได้ตามมาตรา 198 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโจทก์โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ เหตุนี้การขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา 199(เดิม) จึงไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 198 วรรคแรก (เดิม) ก่อน
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเป็นการขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว ซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลา จำเลยจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายและอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่ตามคำร้องขอของจำเลยอ้างเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น มิได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยได้
จำเลยทั้งสองได้รับหมายเรียกให้ให้การและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ที่หลงลืมเพราะมีธุระส่วนตัวต้องทำจึงไม่อาจยื่นคำให้การได้ทันภายในกำหนดมิใช่เหตุผลอันสมควร ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มีทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวกับคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งอยู่แล้ว ซึ่งจำเลยที่ 2 อาจติดต่อกับทนายความของตนเพื่อยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การหรืออาจขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างพฤติการณ์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่จำเลยที่ 2 หาได้เอาใจใส่ในการดำเนินการดังกล่าวหรือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามคำฟ้องและในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิที่จะสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งจำเลยก็ได้สาบานตนให้การเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ในข้อที่ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามประมวลมาตรา 249 วรรคแรก
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเป็นการขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว ซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลา จำเลยจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายและอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่ตามคำร้องขอของจำเลยอ้างเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น มิได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยได้
จำเลยทั้งสองได้รับหมายเรียกให้ให้การและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ที่หลงลืมเพราะมีธุระส่วนตัวต้องทำจึงไม่อาจยื่นคำให้การได้ทันภายในกำหนดมิใช่เหตุผลอันสมควร ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มีทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวกับคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งอยู่แล้ว ซึ่งจำเลยที่ 2 อาจติดต่อกับทนายความของตนเพื่อยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การหรืออาจขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างพฤติการณ์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่จำเลยที่ 2 หาได้เอาใจใส่ในการดำเนินการดังกล่าวหรือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามคำฟ้องและในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิที่จะสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งจำเลยก็ได้สาบานตนให้การเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ในข้อที่ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามประมวลมาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4329/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีอาญาซ้ำกับคดีเดิมที่อยู่ระหว่างพิจารณา
การพิจารณาว่าฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรกหรือไม่ ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ไม่ใช่พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลและโจทก์เมื่อศาลรับคำฟ้องแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทต่อศาลแขวงไว้แล้ว ระหว่างส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องให้แก่จำเลย โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยข้อหาเดียวกันต่อศาลอาญา ฟ้องคดีหลังของโจทก์เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4322/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรายงานพฤติกรรมทนายต่อสภาทนายความ ไม่เป็นคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาคดี
การที่ศาลชั้นต้นให้ทำหนังสือรายงานพฤติการณ์ของทนายโจทก์ไปยังสภาทนายความเพื่อพิจารณานั้น เป็นคำสั่งที่มิได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคดีที่ฟ้องร้องกัน ทั้งเป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งให้รายงานพฤติการณ์ของทนายความต่อสภาทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความฯ ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจกระทำได้ทนายโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: สิทธิบอกเลิกสัญญาหลังศาลไม่อาจบังคับตามสัญญาเดิมได้
คดีก่อนมีประเด็นว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้ออาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ได้หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเรียกเงินและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องจะมีอยู่แล้วในขณะโจทก์ฟ้องคดีก่อนแต่ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือจะบอกเลิกสัญญา เมื่อคดีก่อนศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องจำเลยอีกได้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148