พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องในคดีผู้บริโภค: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากคำฟ้องยังขาดสาระสำคัญ เพื่อให้คำฟ้องถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น
การแก้ไขคำฟ้องในคดีผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 20 วรรคสอง บัญญัติว่า "หากศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้" การที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลย กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2552 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2553 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีคนร้ายวางเพลิงเผาทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย ก่อนยื่นคำให้การ โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากคำว่าวันที่ 24 เมษายน 2553 โดยขอเพิ่มเติมข้อความว่า "และโจทก์ยังได้ต่ออายุสัญญากรมธรรม์ประกันภัยกับจำเลยโดยเริ่มคุ้มครองวันที่ 24 เมษายน 2553 ครบระยะเวลา 1 ปี ในวันที่ 24 เมษายน 2554 ซึ่งขณะเกิดเหตุคดีนี้ยังอยู่ในอายุสัญญากรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย" ดังนี้ เมื่อคดีนี้โจทก์เป็นผู้บริโภคและได้ดำเนินคดีนี้มาอย่างคดีผู้บริโภค ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ศาลตรวจคำฟ้องของผู้บริโภคด้วยว่า" หากเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้" และตามคำฟ้องที่โจทก์ฟ้องมานั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลก็อาจมีคำสั่งให้โจทก์นั้นแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้ แม้ในคดีนี้โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเข้ามาเองก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะแก้ไขคำฟ้องในคดีผู้บริโภคที่ขาดสาระสำคัญนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนยิ่งขึ้น และเป็นการขอแก้ไขก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยไม่ได้เสียเปรียบแต่อย่างใด อีกทั้งปัญหาดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นได้อยู่แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์แล้วจะมาแก้ไขให้สมบูรณ์นั้นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 จึงไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 20 วรรคสองดังกล่าว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ตามคำร้องที่ขอเพิ่มเติมฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีผู้บริโภค: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากคำฟ้องยังขาดสาระสำคัญ แม้โจทก์เป็นผู้ยื่นขอแก้ไขเอง
การแก้ไขคำฟ้องในคดีผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 20 วรรคสอง บัญญัติว่า "หากศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้" การที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลย กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2552 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2553 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีคนร้ายวางเพลิงเผาทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย ก่อนยื่นคำให้การ โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากคำว่าวันที่ 24 เมษายน 2553 โดยขอเพิ่มเติมข้อความว่า "และโจทก์ยังได้ต่ออายุสัญญากรมธรรม์ประกันภัยกับจำเลยโดยเริ่มคุ้มครองวันที่ 24 เมษายน 2553 ครบระยะเวลา 1 ปี ในวันที่ 24 เมษายน 2554 ซึ่งขณะเกิดเหตุคดีนี้ยังอยู่ในอายุสัญญากรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย" ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นผู้บริโภคและดำเนินคดีมาอย่างคดีผู้บริโภค ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ศาลตรวจคำฟ้องของผู้บริโภคด้วยว่า" หากเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้" และตามคำฟ้องที่โจทก์ฟ้องมานั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลก็อาจมีคำสั่งให้โจทก์นั้นแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้ แม้คดีนี้โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเข้ามาเองก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะแก้ไขคำฟ้องในคดีผู้บริโภคที่ขาดสาระสำคัญนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนยิ่งขึ้น และเป็นการขอแก้ไขก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยไม่ได้เสียเปรียบแต่อย่างใด อีกทั้งปัญหาดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นได้อยู่แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์แล้วจะมาแก้ไขให้สมบูรณ์นั้นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 จึงไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 20 วรรคสองดังกล่าว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10167/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลำดับเจ้าหนี้จำนอง: ศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้จำนองได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญได้ แม้ไม่มีการสืบพยานเพิ่มเติม
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดิน 3 แปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และอยู่ระหว่างรอขายทอดตลาด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองตามลำดับที่จดทะเบียนไว้ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองตามลำดับที่จดทะเบียนไว้ ก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น
วันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องและโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันมาศาล จำเลยทั้งสามทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่ยื่นคำคัดค้าน โจทก์ยื่นคำแถลงไม่คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นสอบทนายผู้ร้องแล้วแถลงว่า ทรัพย์จำนองที่โจทก์นำยึดยังไม่ได้ขายทอดตลาด ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเป็นเจ้าหนี้จำนองในทรัพย์ที่โจทก์นำยึด โดยทนายผู้ร้องส่งเอกสารเกี่ยวกับหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและเจ้าหนี้จำนอง ซึ่งศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่ศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้ และถือว่าเป็นการไต่สวนโดยเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้คัดค้านก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (1) แล้ว แม้หากให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบในการไต่สวนก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงแตกต่างนอกเหนือจากการสอบทนายผู้ร้อง และไม่อาจทำให้ประเด็นที่มีคำสั่งตามคำร้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบทนายผู้ร้องมารับฟังประกอบในการใช้ดุลพินิจเพื่อมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรได้ โดยไม่จำต้องทำการสืบพยานผู้ร้องก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่นจึงชอบแล้ว
วันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องและโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันมาศาล จำเลยทั้งสามทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่ยื่นคำคัดค้าน โจทก์ยื่นคำแถลงไม่คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นสอบทนายผู้ร้องแล้วแถลงว่า ทรัพย์จำนองที่โจทก์นำยึดยังไม่ได้ขายทอดตลาด ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเป็นเจ้าหนี้จำนองในทรัพย์ที่โจทก์นำยึด โดยทนายผู้ร้องส่งเอกสารเกี่ยวกับหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและเจ้าหนี้จำนอง ซึ่งศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่ศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้ และถือว่าเป็นการไต่สวนโดยเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้คัดค้านก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (1) แล้ว แม้หากให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบในการไต่สวนก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงแตกต่างนอกเหนือจากการสอบทนายผู้ร้อง และไม่อาจทำให้ประเด็นที่มีคำสั่งตามคำร้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบทนายผู้ร้องมารับฟังประกอบในการใช้ดุลพินิจเพื่อมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรได้ โดยไม่จำต้องทำการสืบพยานผู้ร้องก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังพ้นกำหนด หากเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอนุญาตได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 โดยไม่มีการชี้สองสถาน การที่จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การจึงอาจทำได้ภายในวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่การที่จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงไม่มีมูลหนี้และตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่ ถือเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แม้เป็นการยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเกินกำหนด หากเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอนุญาตได้
การที่จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงไม่มีมูลหนี้และตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่ ถือเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวได้ แม้เป็นการยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 180 กำหนดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยาน: ศาลอนุญาตได้หากไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์แล้วนัดฟังคำพิพากษา จึงไม่มีวันชี้สองสถานและวันสืบพยาน จำเลยที่ 3 ย่อมจะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนอกจากที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ 3 แก้ไขคำให้การได้แล้วจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมและอายุความค่าจ้างทำของ: ศาลอนุญาตแก้ไขฟ้องเพิ่มเติมได้หากเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและไม่ทำให้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าจ้างทำของแก่โจทก์ในมูลหนี้ฐานผิดสัญญาจ้างทำของภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) อายุความย่อมสะดุดหยุดลงอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) แม้โจทก์จะยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าจ้างค้างชำระอีกส่วนหนึ่งเกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องบังคับได้เป็นต้นไป โดยอ้างว่าเป็นเงินค่าจ้างค้างชำระในการทำป้ายโฆษณาโครงการฮอทไอซ์ของจำเลยซึ่งยังมิได้ระบุเรียกร้องไว้ในคำฟ้องเดิม ทั้งเป็นฟ้องเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ซึ่งโจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 ก็ไม่ทำให้คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์ส่วนนี้ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำคัดค้านในคดีล้มละลาย: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากประเด็นยังคงเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้แก้ไขคำคัดค้าน ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้คัดค้านยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 ศาลแพ่งสั่งรับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2547 ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2548 ศาลแพ่งตรวจพบว่าผู้คัดค้านมิได้ใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ซึ่งไม่ถูกต้อง ให้เพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่ให้คืนคำร้องให้ผู้คัดค้านทำอุทธรณ์มาใหม่ภายใน 7 วัน ผู้คัดค้านนำอุทธรณ์มายื่นในวันที่ 27 มกราคม 2548 ถือได้ว่าผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์ก่อนวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ใช้บังคับ แต่ศาลแพ่งยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ จึงต้องบังคับตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ให้ถือว่าอุทธรณ์ของผู้คัดค้านเป็นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบถึงมูลเหตุเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยขอตัดข้อความเดิมในเรื่องอายุความทั้งหมดและแก้ไขใหม่เป็นว่า การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ต้องร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และ 240 โจทก์รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 จึงขาดอายุความ ประเด็นที่ผู้คัดค้านต่อสู้ตามคำคัดค้านที่ขอแก้ไขใหม่เป็นประเด็นเดียวกับที่ผู้คัดค้านต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง โดยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่อ้างว่าโจทก์ทราบถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 เท่านั้น และได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้แก้ไขคำคัดค้าน
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบถึงมูลเหตุเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยขอตัดข้อความเดิมในเรื่องอายุความทั้งหมดและแก้ไขใหม่เป็นว่า การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ต้องร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และ 240 โจทก์รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 จึงขาดอายุความ ประเด็นที่ผู้คัดค้านต่อสู้ตามคำคัดค้านที่ขอแก้ไขใหม่เป็นประเด็นเดียวกับที่ผู้คัดค้านต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง โดยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่อ้างว่าโจทก์ทราบถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 เท่านั้น และได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้แก้ไขคำคัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลอนุญาตได้หากเชื่อโดยสุจริตและมีเหตุผลอันสมควร
โจทก์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเพียง 1 เดือน นับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งระยะเวลาที่ขอขยายดังกล่าวประกอบกับเป็นการขอขยายเป็นครั้งแรกย่อมอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะคาดหมายว่าศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้ตามขอ โจทก์จึงเชื่อโดยสุจริตว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามขอ แต่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาน้อยกว่าที่ขอ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าการที่โจทก์ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งที่ 2 ได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ขยายในครั้งแรกเป็นเหตุสุดวิสัย ที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาครั้งที่ 2 เพราะเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8324/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 ศาลอนุญาตได้แม้จำเลยคัดค้านหากยังไม่ได้ยื่นคำให้การ
ป.วิ.พ. มาตรา 175 ไม่ได้ระบุให้โจทก์ต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว โดยจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เป็นการใช้สิทธิขอถอนฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ได้โดยไม่จำต้องฟังจำเลยที่ 2 ก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำคัดค้านคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ แต่คำคัดค้านมิใช่คำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย