พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องหาหลังศาลปล่อยชั่วคราว: อำนาจจำกัดเฉพาะการส่งตัวไปฟ้อง
พนักงานสอบสวนหรืออัยการ ไปขอให้ศาลขังจำเลยระหว่างสอบสวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 จนครบกำหนดและศาลปล่อยตัวจำเลยไปแล้วเช่นนี้ จะมาขอให้ศาลสั่งขังอีกย่อมไม่ได้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อเจ้าพนักงานจับจำเลยใหม่เพื่อฟ้องเป็นคดีจะควบคุมผู้ต้องหาไม่ได้เสียเลย เจ้าพนักงานยังคงควบคุมผู้ต้องหาได้ตามที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีตามตอนต้นแห่งมาตรา 87 คือเพียงเท่าที่จะนำตัวจำเลยมาส่งศาลโดยแท้เท่านั้น จะควบคุมเพื่อเหตุอื่น เช่นสอบสวนต่อไป หรือรออัยการสั่งฟ้องไม่ได้
อัยการฟ้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนครบกำหนดจนศาลสั่งปล่อยตัวไปแล้วเช่นนี้ไม่ชอบที่ศาลจะรับประทับฟ้องและออกหมายจับให้ เพราะเจ้าพนักงานยังมีอำนาจที่จะดำเนินการเพื่อเอาตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องได้ มิฉะนั้นจะเป็นการยืดอายุความอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย
(อ้างฎีกาที่ 126/2489)
อัยการฟ้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนครบกำหนดจนศาลสั่งปล่อยตัวไปแล้วเช่นนี้ไม่ชอบที่ศาลจะรับประทับฟ้องและออกหมายจับให้ เพราะเจ้าพนักงานยังมีอำนาจที่จะดำเนินการเพื่อเอาตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องได้ มิฉะนั้นจะเป็นการยืดอายุความอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย
(อ้างฎีกาที่ 126/2489)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286-287/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนความผิดอาญา: การสอบสวนร่วม ตำรวจ-ข้าหลวง-นายอำเภอ และข้อยกเว้น
ผู้กำกับการตำรวจประจำจังหวัด ทำการสอบสวนความผิดทางอาญา+ได้เกิดขึ้นภายในเขตต์จังหวัดนั้น+กับข้าหลวงประจำจังหวัด โดยมีนายอำเภอท้องที่ร่วมด้วยเพราะขณะนั้นไม่มีตัวนายอำเภอ ดังนี้ ถือว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยคำกะรทรวงมหาดไทยที่ 7164/2488
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีอาญา: การมีเจ้าพนักงานสอบสวนร่วม และความสมบูรณ์ของการสอบสวน
คำสั่งข้าหลวงประจำจังหวัดมีข้อความว่า "ขอตั้งปลัดจังกวัดและผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต หรือผู้แทนนั่งทำการสอบสวนเรื่องนี้พร้อมด้วยนายอำเภอเมืองภูเก็ต สอบสวนดำเนินคดีตามหน้าที่พนักงานสอบสวน" ดังนี้ เป็นการสั่งให้ดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้เป็นคดีอาญาตาม ป.ม.วิ.อาญา
นายอำเภอเมืองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนอยู่ด้วยตนเองแล้ว แม้จะมีผู้อื่นมานั่งร่วมทำการสอบสวนด้วย การสอบสวนนั้นก็สมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมาย
(อ้างฎีกา 45/2490)
นายอำเภอเมืองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนอยู่ด้วยตนเองแล้ว แม้จะมีผู้อื่นมานั่งร่วมทำการสอบสวนด้วย การสอบสวนนั้นก็สมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมาย
(อ้างฎีกา 45/2490)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีอาญาโดยเจ้าพนักงานหลายคนยังคงชอบด้วยกฎหมาย แม้มีผู้ร่วมสอบสวน
คำสั่งข้าหลวงประจำจังหวัดมีข้อความว่า "ขอตั้งปลัดจังหวัดและผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ตหรือผู้แทนนั่งทำการสอบสวนเรื่องนี้พร้อมด้วยนายอำเภอเมืองภูเก็ต สอบสวนดำเนินคดีตามหน้าที่พนักงานสอบสวน" ดังนี้ เป็นการสั่งให้ดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้เป็นคดีอาญาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
นายอำเภอเมืองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนอยู่ด้วยตนเองแล้ว แม้จะมีผู้อื่นมานั่งร่วมทำการสอบสวนด้วยการสอบสวนนั้นก็สมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมาย(อ้างฎีกา45/2490)
นายอำเภอเมืองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนอยู่ด้วยตนเองแล้ว แม้จะมีผู้อื่นมานั่งร่วมทำการสอบสวนด้วยการสอบสวนนั้นก็สมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมาย(อ้างฎีกา45/2490)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนโดยอาศัยคำให้การเดิม: ความถูกต้องตามกฎหมายและการมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
การที่พนักงานสอบสวนเอาคำให้การเดิมชั้นกรรมการสอบสวนมาถามพะยาน เพื่อให้รับรองและสอบถามเพิ่มเติมแล้วจดบันทึกไว้ และอ่านให้พะยานฟังพร้อมกับให้ลงชื่อไว้ ดังนี้แม้จะมิได้อ่านคำให้การเดิมนั้นให้พะยานฟัง ก็ถือว่าเป็นการสอบสวนที่ถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การใช้คำให้การเดิมถามพยาน
การที่พนักงานสอบสวนเอาคำให้การเดิมชั้นกรรมการสอบสวนมาถามพยาน เพื่อให้รับรองและสอบถามเพิ่มเติมแล้วจดบันทึกไว้ และอ่านให้พยานฟังพร้อมกับให้ลงชื่อไว้ ดังนี้แม้จะมิได้อ่านคำให้การเดิมนั้นให้พยานฟัง ก็ถือได้ว่าเป็นการสอบสวนที่ถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนนอกเขตพื้นที่: เจ้าพนักงานมีอำนาจสอบสวนคดีได้ทุกที่ทุกเวลาตามสมควร
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนจะทำการสอบสวน ณ ที่ใดเวลาใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร แม้จะต่างจังหวัดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นสอบสวนเพิ่มเติม การแจ้งข้อหา และการใช้เป็นหลักฐาน
เมื่อการสอบสวนครั้งแรก เจ้าพนักงานสอบสวนได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วว่าคำให้การอาจใช้ยันเขาได้ และจำเลยปฏิเสธเมื่อมีการสอบสวนเพิ่มเติมอีกเจ้าพนักงานไม่จำต้องปฏิบัติการนั้นซ้ำอีก หากจำเลยให้การรับสารภาพในการสอบสวนเพิ่มเติมก็ฟังประกอบการลงโทษจำเลยได้ เพราะมาตรา 134 มิได้บังคับให้ปฏิบัติทุกครั้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งการข้ามเขตของผู้กำกับการตำรวจและการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้กำกับการตำรวจมีอำนาจสั่งให้นายร้อยตำรวจไปช่วยราชการและทำการสอบสวนคดีภายในเขตต์จังหวัดของตนได้
การสอบสวนที่นายร้องตำรวจผู้นั้นกระทำไประหว่างช่วยราชการ เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย
การสอบสวนที่นายร้องตำรวจผู้นั้นกระทำไประหว่างช่วยราชการ เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษวินัยพิจารณาได้แม้ศาลยกฟ้อง, สอบสวนวินัยไม่ต้องแจ้งข้อหา, ใช้ พ.ร.บ. 2479 ก่อน 2482
ความผิดฐานผิดวินัยนั้นแม้จะได้มีการฟ้องศาลและศาลยกฟ้องแล้ว ก็นำมาพิจารณาโทษผิดวินัยอีกก็ได้ ในเรื่องสอบสวนฐานผิดวินัยไม่มีข้อบังคับว่าจะต้องแจ้งข้อหาให้ทราบก่อนจึงจะสอบสวนได้
ทำผิดฐานผิดวินัยก่อนมี พะราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน 2482การพิจารณาโทษต้องนำ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน 2479มาใช้เพราะ มาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ2482 บัญญัติไว้เช่นนั้น
ทำผิดฐานผิดวินัยก่อนมี พะราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน 2482การพิจารณาโทษต้องนำ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน 2479มาใช้เพราะ มาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ2482 บัญญัติไว้เช่นนั้น