พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันของภริยาที่ผูกพันตนเอง มิใช่การจัดการสินสมรส สามีไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
การที่ น. ภริยาโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของ ส. โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476,1477 ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอเพิกถอน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เกิดจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในฟ้อง และจากทางนำสืบของโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบ แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้ และศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ภริยาทำไว้ก่อนสมรส ไม่ใช่การจัดการสินสมรส
แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า สัญญาค้ำประกันที่ น.ภริยาโจทก์ทำไว้แก่จำเลยเป็นนิติกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโจทก์ไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ น.ทำไว้แก่จำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในฟ้องและจากการนำสืบของโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์เป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันที่น.ยอมผูกพันตนต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ ส.เพื่อชำระหนี้เมื่อส.ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680ซึ่งผูกพันตัว น.มิได้เกี่ยวกับสินสมรสและมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1476,1477 ที่โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวตามมาตรา 1480 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นเอกสารที่จะต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 และตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ดังนั้น ขณะยื่นฟ้องต่อศาล หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ก็ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 เข้าผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างของจำเลยที่ 1และตามสัญญาค้ำประกัน ก็ไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2ไว้ว่าหากจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โจทก์จะต้องบอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ก่อนดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในระหว่างเป็นลูกจ้างโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันแม้ไม่บอกกล่าว
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นเอกสารที่จะต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 และตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ก็มีผลเพียงว่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น แม้ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรก็ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ ในระหว่างที่เป็นลูกจ้างโจทก์จำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำนวนหนึ่ง ขอให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อใด และค่าเสียหายแต่ละรายการเป็นจำนวนเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เหตุที่จำเลยที่ 1 ต้องทำสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในระหว่างเป็นลูกจ้างโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 เข้าผูกพันตนยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1ดังกล่าว และตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โจทก์จะต้องบอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ก่อนแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้บางส่วน, เช็ค, สัญญาค้ำประกัน, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายว่าจำเลยนำเช็คไปขายลดเท่าใด ชำระแล้วเท่าใด ค้างอีกเท่าใด แต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ทราบยอดหนี้ที่แน่นอน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจสภาพแห่งข้อหา ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงแตกต่างไปจากที่ให้การต่อสู้คดีไว้ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มี น. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรับรอง และยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้ตนฟ้องคดีจริง แม้จะไม่ได้นำผู้มอบอำนาจมาเบิกความเป็นพยาน เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างย่อมฟังได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ น. ฟ้องคดีจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เมื่อเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดเช็คดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คได้ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยที่ 1 จึงสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้แทนเพื่อเป็นประกันเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องคืนเช็คที่ขายลดดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้โจทก์ไป จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้และตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ยึดถือเช็คที่ขายลดไว้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่คืนเช็คที่ทำสัญญาขายลดไว้ เพื่อปัดความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่ การที่ น. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่หลังจากฟ้องแล้ว ทราบว่าจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์แต่จะเป็นจำนวนเท่าใดจำไม่ได้นั้น เป็นการเบิกความยืนยันว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหนี้อยู่ตามฟ้อง เมื่อฟ้องแล้วหนี้ได้ลดลงเพราะได้มีการชำระหนี้กันบางส่วน เพียงแต่จำนวนเท่าใดจำไม่ได้เท่านั้น ทางพิจารณาจึงไม่ต่างกับฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องจำนวนเงินที่ตนจะต้องรับผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงิน 2,000,000บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้เงินปลอม สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้จำเลยยอมรับการกู้จริง
โจทก์กรอกข้อความลงในหนังสือกู้และสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเพียงแต่ลงลายมือชื่อให้โจทก์ไว้ผิดไปจากความจริงโดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยหนังสือสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจึงเป็นเอกสารปลอม แม้จำเลยทั้งสองจะเบิกความยอมรับว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินโจทก์ไปทั้งสิ้นจำนวน 50,000 บาท จำเลยที่ 2 ได้ค้ำประกันให้โจทก์ไว้ 5,000 บาทก็ตามโจทก์ก็มิอาจอาศัยหนังสือสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองใช้เงินตามจำนวนที่กู้และค้ำประกันจริงได้ ถือได้ว่าการกู้เงินและค้ำประกันไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความทางแพ่งในมูลหนี้ละเมิดที่เชื่อมโยงกับความผิดทางอาญา: ใช้หลักอายุความทางอาญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในมูลหนี้ละเมิดที่ ช. ลูกหนี้ก่อขึ้น เมื่อมูลหนี้ละเมิดนั้นเป็นความผิดที่มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย จึงต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้นำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ มิใช่ถืออายุความ1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน-หนังสือแจ้งหนี้ค้างชำระ-จำกัดสิทธิเรียกหนี้-อายุความ-ศาลฎีกาวินิจฉัย
เงื่อนไขในการประกวดราคาสัญญาก่อสร้างอาคารระบุว่าเมื่อโจทก์ตกลงเลือกผู้เข้าประกวดราคารายใดให้เป็นผู้รับจ้างและนัดให้ไปทำสัญญาแล้ว ผู้ถูกเลือกจะต้องไปทำสัญญาภายในกำหนดหากผู้ถูกเลือกไม่ยอมรับทำสัญญาโจทก์จะริบเงินมัดจำซองประกวดราคาและหากปรากฏว่าโจทก์ต้องจ้างผู้อื่นก่อสร้างแทนแพงกว่าราคาที่เสนอไว้รวมกับเงินประกันที่ยึดไว้แล้ว ผู้เสนอราคายินยอมที่จะชดใช้ราคาในส่วนที่เกินนั้นด้วยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ตกลงเลือกเป็นผู้เข้าประกวดราคาได้ไม่ยอมไปทำสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ตามที่ยื่นซองประกวดราคาได้ ทำให้โจทก์ต้องจ้าง ช. ก่อสร้างอาคารของโจทก์ในราคาสูงกว่าราคาที่จำเลยที่ 1 ประมูลได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในราคาที่สูงขึ้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่ากำหนดเวลาให้ใช้ดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฎีกาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่ก่อนวันฟ้องกรณีก็ถือว่าโจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในปัญหาเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ก่อนฟ้องคดีโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ที่ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งโจทก์เรื่องที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบภายในระยะเวลาค้ำประกันถึงกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกวดราคาแต่จำเลยที่ 3 ก็ยังมีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนในชั้นให้การได้ ปัญหาที่โจทก์ฎีกา โจทก์มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อมิได้ว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหานี้ให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ผลของการบอกเลิกสัญญา, ความรับผิดหลังบอกเลิก, และอายุความของหนี้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับรองและค้ำประกันการเข้าทำงานของ อ.ต่อโจทก์ สัญญาว่าจะร่วมรับผิดกับ อ.ในกรณีที่อ. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในอนาคตในขณะที่ อ. ปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างของโจทก์จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2525 และได้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2528 อ. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2526 ระหว่างที่สัญญาค้ำประกันยังมีผลใช้บังคับ การที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันคงมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดในการกระทำของ อ. ที่ได้กระทำภายหลังมีการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699 เท่านั้น ส่วนความผิดที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอยู่ก่อนการบอกเลิกสัญญาหาได้ระงับไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสัญญาค้ำประกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เหตุที่หนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 2 หายไปจากกองการเงินของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ไม่ทราบว่าหายไปเมื่อใดจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยินยอมคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้โจทก์แล้ว แม้จำเลยที่ 2จะได้เอกสารดังกล่าวไว้ในครอบครองก็หาใช่กรณีที่หนี้ของลูกหนี้ได้ระงับสิ้นไปแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 ไม่ และแม้จำเลยที่ 2จะอ้างว่ารับคืนสัญญาค้ำประกันนั้นจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด ข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสาม มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นได้ เมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันยังไม่ระงับ กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว.