พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายประกันเมื่อศาลเดิมยกฟ้อง และจำเลยไม่มาศาลตามสัญญา
สัญญาประกันในคดีอาญาจะสุดสิ้นลงเมื่อไรเมื่อศาลเดิมยกฟ้องแล้ว ระหว่างอุทธรณ์นายประกันส่งตัวจำเลยมาฟังคำพิพากษาไม่ได้ นายประกันต้องรับผิดอัยยการมีอำนาจที่จะเข้าว่าคดีในชั้นศาลฎีกาได้ ถึงแม้จะไม่ได้ว่าคดีในชั้นศาลเดิม ตามพระธรรมนูญศาลยุตติธรรม ม. 35 ข้อ ( 1 ) เทียบฎีกา 851/2465
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาประกันคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และอำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอคืนหลักประกัน
การยื่นคำร้องขอคืนหลักประกันคดีนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากผู้ประกันทั้งสองผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามนัดในคดีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งการจะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันทั้งสองหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาถึงการนำตัวจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวมาส่งศาลประกอบด้วย ดังนั้นคำร้องขอคืนหลักประกันถือว่าเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ซึ่งให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติด ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
ส่วนที่ผู้ประกันทั้งสองฎีกาว่า การชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันเกิดขึ้นภายหลังการก่อหนี้ซึ่งผู้ประกันทั้งสองไม่ต้องรับผิดชอบเนื่องจากเป็นเหตุเกิดจากศาลเอง ขอให้ศาลฎีกาคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันนั้นเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกันซึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 119 มาใช้บังคับตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ประกันทั้งสองไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ตามกำหนดนัด ย่อมเป็นการผิดสัญญาประกันที่ได้ทำไว้ในคดีนี้ จึงมีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ผู้ประกันทั้งสองคืนหลักประกันให้แก่ศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่ผู้ประกันทั้งสองฎีกาว่า การชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันเกิดขึ้นภายหลังการก่อหนี้ซึ่งผู้ประกันทั้งสองไม่ต้องรับผิดชอบเนื่องจากเป็นเหตุเกิดจากศาลเอง ขอให้ศาลฎีกาคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันนั้นเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกันซึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 119 มาใช้บังคับตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ประกันทั้งสองไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ตามกำหนดนัด ย่อมเป็นการผิดสัญญาประกันที่ได้ทำไว้ในคดีนี้ จึงมีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ผู้ประกันทั้งสองคืนหลักประกันให้แก่ศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีสัญญาประกันในคดีอาญา แม้เกิน 10 ปี และเหตุผลที่ศาลอนุญาตขยายระยะเวลาได้
การทำสัญญาประกันอันเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 112 ส่วนการบังคับในกรณีมีการผิดสัญญาประกันบัญญัติไว้ในมาตรา 119 จึงถือได้ว่า การบังคับตามสัญญาประกันเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่ทำสัญญาประกันต่อศาลจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญ โดยในคดีอาญานั้น ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมามอบต่อศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบ ตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับนายประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันในคดีนี้มีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องในคดีนี้จึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้ แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ผู้ประกันได้ก็หาจำต้องร้องขอขยายระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยฎีกาของผู้ประกันว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ร้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15496/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าปรับจากสัญญาประกันในคดีอาญา และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค่าปรับตามสัญญาประกันในคดีอาญาของศาลแขวงดุสิต โดยแนบสำเนาคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว สำเนาสัญญาประกัน สำเนารายงานกระบวนพิจารณา และสำเนาหมายบังคับคดี ซึ่ง ป. ผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้ลงชื่อรับรองความถูกต้องของสำเนาเป็นหลักฐานไว้ท้ายคำขอรับชำระหนี้ เมื่อต้นฉบับเอกสารดังกล่าวอยู่ในความควบคุมของศาลแขวงดุสิต สำเนาเอกสารที่ ป. ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งนิติกร 5 ในหน่วยงานของรัฐดังกล่าวรับรองความถูกต้องย่อมรับฟังแทนต้นฉบับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (3)
ลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญาประกันต่อศาลในคดีอาญาของศาลแขวงดุสิต และศาลมีคำสั่งปรับลูกหนี้ที่ 1 ตามสัญญาประกันเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2538 ซึ่งกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันโดยมิต้องฟ้อง ดังนี้ สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าปรับที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้จึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เมื่อคำสั่งปรับผู้ประกันถึงที่สุดโดยไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2538 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 จึงเกินระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่คำสั่งศาลถึงที่สุด สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าปรับดังกล่าวเป็นอันขาดอายุความถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้อันต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
ลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญาประกันต่อศาลในคดีอาญาของศาลแขวงดุสิต และศาลมีคำสั่งปรับลูกหนี้ที่ 1 ตามสัญญาประกันเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2538 ซึ่งกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันโดยมิต้องฟ้อง ดังนี้ สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าปรับที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้จึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เมื่อคำสั่งปรับผู้ประกันถึงที่สุดโดยไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2538 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 จึงเกินระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่คำสั่งศาลถึงที่สุด สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าปรับดังกล่าวเป็นอันขาดอายุความถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้อันต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15004/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวในคดีอาญา: ความรับผิดของผู้ประกันเมื่อผู้ต้องหาไม่มาตามนัด แม้จะมีการสลับชื่อผู้ต้องหา
ขณะที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลพัทยายื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาที่ใช้ชื่อ ล. ผู้ประกันยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาดังกล่าวโดยมีประกัน ศาลชั้นต้นอนุญาต สัญญาประกันจึงมีผลสมบูรณ์ตลอดไปในระหว่างสอบสวน สัญญาประกันในคดีอาญาจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อคดีถึงที่สุด เว้นแต่มีการถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ผู้ต้องหาตาย ผิดสัญญาประกัน หรือศาลสั่งยกเลิกสัญญาประกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 116 และมาตรา 118 ที่ผู้ประกันอ้างว่าทำสัญญาประกันไปโดยสำคัญผิดในตัวบุคคลนั้น เห็นว่า ผู้ประกันไม่ได้สำคัญผิดในตัวบุคคลเพราะผู้ประกันต้องการขอปล่อยชั่วคราวบุคคลที่ใช้ชื่อ ล. ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลพัทยายื่นคำร้องขอฝากขัง การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาดังกล่าวโดยมีประกัน และศาลชั้นต้นอนุญาตจึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้วว่า ศาลได้สั่งปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่ใช้ชื่อ ล. โดยมีประกันตรงตามเจตนาของผู้ประกัน หาใช่ผู้ประกันสำคัญผิดในตัวบุคคลไม่ สัญญาประกันที่ผู้ประกันทำต่อศาลชั้นต้นจึงมีผลสมบูรณ์ เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาดังกล่าวตามกำหนดนัด จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาบังคับคดีสัญญาประกันในคดีอาญา: สิทธิบังคับคดีของผู้ร้องยังคงมีอยู่แม้เกิน 10 ปี
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การทำสัญญาประกันอันเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 112 ส่วนการบังคับในกรณีมีการผิดสัญญาประกันบัญญัติไว้ในมาตรา 119 จึงถือได้ว่า การบังคับตามสัญญาประกันเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่ทำสัญญาประกันต่อศาลจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญโดยในคดีอาญานั้น ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมามอบต่อศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับนายประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันมีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ผู้ประกันได้ก็หาจำต้องร้องขอขยายระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ร้องหรือไม่
การทำสัญญาประกันอันเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 112 ส่วนการบังคับในกรณีมีการผิดสัญญาประกันบัญญัติไว้ในมาตรา 119 จึงถือได้ว่า การบังคับตามสัญญาประกันเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่ทำสัญญาประกันต่อศาลจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญโดยในคดีอาญานั้น ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมามอบต่อศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับนายประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันมีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ผู้ประกันได้ก็หาจำต้องร้องขอขยายระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ร้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันคดีอาญา: สิทธิบังคับคดีแม้พ้น 10 ปี และผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม
ในคดีอาญา ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันในคดีนี้มีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องในคดีนี้จึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10461/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ก่อเหตุ หลังชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันตามสัญญา
เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้ว ก็ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้และชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้ในนามของตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 และมาตรา 880 มีความหมายว่าเจ้าหนี้มีสิทธิเพียงใด ผู้รับช่วงสิทธิก็ได้รับสิทธิไปเพียงนั้นเสมอเหมือนกันตามความเสียหายที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10207/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าปรับจากการผิดสัญญาประกันหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่สามารถนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 มาตรา 91 และมาตรา 94 นั้น ต้องเป็นเจ้าหนี้ในหนี้เงินที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่ลูกหนี้ทำสัญญาประกันการปล่อยชั่วคราวจำเลยในคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุแห่งหนี้เป็นกรณีให้ลูกหนี้กระทำการคือให้ลูกหนี้ผู้ประกันนำตัวจำเลยในคดีอาญามาศาลตามนัดหรือหมายเรียกของศาลแขวงชลบุรี และเมื่อลูกหนี้ยังมิได้ผิดสัญญาที่ต้องกระทำการดังกล่าว ลูกหนี้ก็ไม่มีความรับผิดใช้เงินค่าปรับตามที่ศาลมีอำนาจบังคับตามสัญญา หนี้ตามสัญญาประกันในส่วนที่ให้ลูกหนี้กระทำการและยังมิได้ผิดสัญญาจึงมิใช่หนี้เงินที่ต้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อต่อมาหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ผิดสัญญาประกันและศาลแขวงชลบุรีมีคำสั่งปรับลูกหนี้ ถือว่ามูลหนี้ค่าปรับซึ่งเป็นหนี้เงินที่ลูกหนี้จะต้องชำระตามสัญญาประกันเกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำสั่งปรับ แต่เป็นหนี้ที่มิได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจนำหนี้ค่าปรับมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้ค่าปรับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง แต่ผู้ร้องก็ยังไม่อาจบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จนกว่าลูกหนี้จะพ้นจากการล้มละลายแล้ว เพราะเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว อำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10072/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประกันในคดีอาญา แม้เกิน 10 ปี ผู้ประกันยังต้องส่งตัวจำเลยต่อศาล
การบังคับตามสัญญาประกันในกรณีที่ผิดสัญญาประกันต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 เป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย แต่ผู้ประกันไม่ส่งตัวจำเลยตามนัดอันเป็นกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกัน การบังคับตามสัญญาประกันจึงเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกันจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญ โดยผู้ประกันมีหน้าที่ต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งต่อศาลตามกำหนด ตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลต้องถือว่าผู้ประกันยังผิดสัญญาประกัน แต่หากผู้ประกันขวนขวายนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งศาลภายในอายุความทางอาญา ศาลก็อาจลดหรืองดค่าปรับแก่ผู้ประกันได้ตามพฤติการณ์แห่งคดี แม้ผู้ประกันนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งต่อศาลเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันมีสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว ผู้ร้องจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งปรับผู้ประกันทั้งสองได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันทั้งสอง โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีอีก ดังนี้ เมื่อผู้ร้องยังมีสิทธิบังคับคดีแก่ผู้ประกันทั้งสอง กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันทั้งสองและคืนเงิน 500,000 บาท แก่ผู้ประกันที่ 1 โดยเหตุอื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 118