คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่ดิน: สัญญาประนีประนอมมีผลผูกพัน ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์จำเลยทำสัญญาต่อกันอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดิน คืนได้ภายใน 10 ปีดังนี้ สัญญาที่ทำต่อกัน ไม่ใช่สัญญาขายฝาก หรือนิติกรรมอำพรางแต่ข้อกำหนดที่ให้ โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจาก จำเลยได้ภายใน 10 ปีเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456วรรคสองจึงมีผลผูกพัน คู่กรณีใช้บังคับกัน ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้ตามยอมและการไม่มีอำนาจฟ้องหลังสัญญาประนีประนอม
ทายาททำหนังสือรับภาระหนี้สินของเจ้ามรดกต่อเจ้าหนี้แล้วไม่ชำระเจ้าหนี้ฟ้องขอให้บังคับตามหนังสือนี้แล้วทำยอมกัน ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดโจทก์ซึ่งได้รับ แต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลจะมาฟ้องขอเพิกถอน หนังสือรับภาระหนี้สินนั้นไม่ได้หนี้ตามหนังสือนี้ได้ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิขึ้นใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่มีหนี้เดิมเหลืออยู่ที่โจทก์จะขอให้เพิกถอนได้
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ขัดประกาศคุ้มครองแรงงาน แม้โจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อโจทก์ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมรับเงินช่วยเหลือจากจำเลย ไปจำนวนหนึ่งแล้ว โดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรจากจำเลยอีก จึงมีผลเป็นว่า โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าชดเชย หรือโจทก์ยอมสละข้อหานี้ โดยโจทก์ ไม่ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับเอากับจำเลยอีกต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงหาขัดต่อ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน อันตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันทำนิติกรรมซื้อขายเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอม ศาลเพิกถอนการโอนได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนหย่ากัน และต่อมาได้ ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งสินสมรสกัน โดยจำเลยที่ 1 ยอมโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่บุตร หลังจากนั้น 7 วัน จำเลยที่ 1 นำที่ดินและตึกแถวพิพาทไปขายฝาก ต่อมาจึงไถ่ถอน การขายฝากแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2 ในวันเดียวกัน ทั้งที่ ยังมิได้รับชำระค่าที่ดินครบถ้วนโดยจำเลยที่ 2 รู้ดีว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ซื้อขาย แต่โจทก์ เป็นผู้ครอบครองและมี ปัญหาพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการสมคบกันทำ นิติกรรมซื้อขายเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมิให้ จำเลยที่ 1 ต้องโอนทรัพย์สิน รายนี้ให้แก่บุตรตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง หาใช่เป็น การซื้อขายโดยสุจริตไม่ ศาลเพิกถอนการ โอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันจำเลย: การชดใช้ค่าเสียหายในนามผู้ค้ำประกัน
บ.ทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในนามของตนเองในฐานะผู้ค้ำประกันลูกจ้างของจำเลยในกรณีที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับ บ. ซึ่ง บ. ได้ทำกับโจทก์โดยคิดว่าตนจะได้หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้แก่จำเลยสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้จึงไม่มีผลระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาตามยอม: อำนาจทนาย, การผูกพันตามสัญญา, และข้อจำกัดในการขอแก้ไข
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันรับสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ ทนายจำเลยซึ่งตามใบแต่งทนายระบุให้มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ด้วย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า จำเลยยอมชำระราคาสินค้าตามฟ้องแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 กันยายน 2525 หากผิดนัดยอมให้บังคับคดีทันทีและยอมเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลแก้ คำพิพากษาตามยอมโดยอ้างว่าทนายจำเลยทำสัญญายอมให้ดอกเบี้ยแก่ โจทก์เกินคำขอหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. และที่จำเลยอ้างว่า จำเลยไม่มีความรู้ไม่ทราบว่าคำพิพากษาชอบหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิเศษที่จะขอให้แก้คำพิพากษาได้นั้น ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า กรณีของจำเลยเป็นกรณีพิเศษที่จะให้แก้คำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำโดยผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์เข้าทำสัญญาดังกล่าวเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในอันที่จะคุ้มครองผู้เยาว์ แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วย การแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 5 ส่วน
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้เยาว์เกี่ยวข้อง โมฆะหากไม่มีอนุญาตศาล
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์เข้าทำสัญญาดังกล่าวเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในอันที่จะคุ้มครองผู้เยาว์ แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วยการแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ1ใน5 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย อายุความ 10 ปี การสำคัญผิดไม่ใช่สาระสำคัญ
เดิมจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์แก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกลงทำสัญญากันขึ้นฉบับหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาเรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ มีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 ยอมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้แก่โจทก์โดยมอบเช็คของบริษัท ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 สลักหลังรวม 20 ฉบับ ถ้าเช็คฉบับใดธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ที่จำเลยที่ 2 แก้ฎีกาว่าทำสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 โดยสำคัญผิดว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อเดิม จึงเป็นโมฆะนั้น การสำคัญผิดเช่นนี้มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 สัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในฐานะทางกฎหมาย vs. คุณสมบัติบุคคล: สัญญาประนีประนอมยอมความ
แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมขายที่ดินคืนแก่โจทก์เพราะเข้าใจผิดคิดว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก ก็เป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดต่อฐานะทางกฎหมายของโจทก์เท่านั้น หาใช่ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลซึ่งตามปกติย่อมเป็นสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120 อันจะทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆียะไม่
of 51