พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทำทรัพย์สินส่วนตัวเป็นสินสมรส: ผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
การที่โจทก์จำเลยทำความตกลงในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา โดยจำเลยให้สัญญาว่าบ้านพร้อมที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยให้เป็นสินสมรส จึงเป็นกรณีที่คู่สมรสจดแจ้งข้อความอันเป็นสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อความขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากเหตุทิ้งร้างและสินสมรส: การแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยอ้างเหตุว่าโจทก์จงใจทิ้งร้างจำเลยเกินกว่าหนึ่งปี โจทก์แถลงรับว่าโจทก์มีเจตนาทิ้งร้างจำเลยตามฟ้องแย้งและศาลชั้นต้นได้จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทนายจำเลยลงชื่อโดยไม่โต้แย้งคัดค้าน และต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงรับข้อเท็จจริงนี้อีก แม้จะมิได้ส่งสำเนาให้จำเลยมีโอกาสคัดค้านก็ตาม ข้อเท็จจริงเป็นอันรับฟังได้ตามฟ้องแย้งโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีก โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม แม้ต่อมาจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2512ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 และมาตรา 5การแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับ จำเลยได้ที่ดินมาเมื่อปี 2511 ก่อนโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับ โดยบุตรสาวจำเลยยกให้โดยเสน่หาแต่มิได้ระบุว่ายกให้เป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1464(3) ที่ดินจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ ก็จะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาใช้บังคับไม่ได้เพราะที่ดินตกเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส: เงินสดและที่ดิน โดยสิทธิในสินสมรสเป็นของโจทก์กึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ.ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 และ 224
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, ผู้จัดการมรดก, การทำละเมิด, และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ. ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน 3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 และ 224 โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6291/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าและการแบ่งสินสมรส รวมถึงการกำหนดค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า โดยค่าเลี้ยงชีพเริ่มนับจากวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
จำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 เมื่อมีการหย่ากันแล้วและการหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมหลังหย่า: โจทก์ต้องพิสูจน์การเป็นหนี้ร่วมเพื่อให้บังคับชำระจากสินสมรสได้
หนี้ของจำเลยเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยหย่ากับผู้ร้อง เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าหนี้ของจำเลยรายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเพื่อให้ผู้ร้องต้องรับผิดชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัว โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้างเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้รับฟังได้เช่นนั้น ผู้ร้องย่อมไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าวและผู้ร้องมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนในที่ดินสินสมรสที่โจทก์นำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5846/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภรรยา: โจทก์มีภาระพิสูจน์การเป็นหนี้ร่วมเกี่ยวกับสินสมรส หากพิสูจน์ไม่ได้ ผู้ร้องมีสิทธิขอส่วนแบ่งทรัพย์สิน
หนี้ของจำเลยเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยหย่ากับผู้ร้อง เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าหนี้ของจำเลยรายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเพื่อให้ผู้ร้องต้องรับผิดชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัว โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้างเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้รับฟังได้เช่นนั้น ผู้ร้องย่อมไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าวและผู้ร้องมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนในที่ดินสินสมรสที่โจทก์นำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสจากสิทธิการใช้ที่ดินที่ได้รับอนุญาต สัญญาไม่ขัดกฎหมาย
ถึงแม้ที่ดินที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ใช้ตามหนังสืออนุญาตจะมีข้อความระบุว่าผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515)ข้อ 12 โดยเคร่งครัด คือ ฯลฯ ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นตามประเภทของกิจการด้วยตนเอง ฯลฯ แต่ระเบียบข้อ 13 ก็ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับผ่อนผันให้เข้าอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ปฏิบัติตามข้อ 12 ไม่ว่าจะเป็นกรณีหนึ่งกรณีใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้มีหนังสือแจ้งให้ปฏิบัติให้ถูกต้องและถ้าเห็นว่าไม่สมควรจะให้อยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อไปแล้วให้นำความในข้อ 5 ข้อ 2 ข้อ 7 ข้อ 8 และ ข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" เมื่อปรากฏว่าที่ดินนี้มีผู้อื่นร่วมใช้ประโยชน์อยู่ด้วย และหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินนี้มีการอนุญาตต่อเนื่องกันมาหลายฉบับหลายปีต่อเนื่องกัน โดยไม่ปรากฏว่ามีปัญหาโต้แย้งในเรื่องที่มีผู้อื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินแต่อย่างใดแสดงว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินนี้ไม่จำต้องใช้ด้วยตัวจำเลยเองก็ได้ กรณีจึงมิใช่เรื่องเฉพาะตัว ข้อตกลงตามสัญญาหย่าที่ตกลงแบ่งสิทธิตามหนังสืออนุญาตดังกล่าว ซึ่งจำเลยได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ย่อมเป็นสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิอยู่ด้วย การตกลงจึงหาได้มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายสินสมรส: ผลผูกพันสัญญา, อำนาจฟ้อง, และการชำระหนี้
ฉ. ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสให้แก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามี ซึ่งจำเลยอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 เดิม แต่ตราบใดที่สัญญายังมิได้ถูกศาลเพิกถอนสัญญาย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยเพียงแต่มีหนังสือบอกล้างสัญญาไปยังโจทก์โดยมิได้ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญา สัญญาจึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องโดยแนบสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาการซื้อขายระหว่างโจทก์ กับ ฉ. มาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่า ฉ. มิได้ทำสัญญาตามสำเนาภาพถ่ายดังกล่าวต้องถือว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 ศาลรับฟังสำเนาเอกสารนั้นแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1) โจทก์กับ ฉ. ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบ พยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก เมื่อตามสัญญาเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อตกลงว่าให้ ฉ. เก็บเงินจากโจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าได้ตกลงกันดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง โจทก์ต้องชำระเงิน ณ ภูมิลำเนาของ ฉ. ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 ตามสัญญากำหนดให้โจทก์ส่งเงินเป็นรายเดือนของทุกเดือนภายในกำหนด 2 ปี โดยไม่ได้กำหนดว่าจะต้องส่งเดือนละเท่าใดพฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาถือเอาเงื่อนเวลาที่กำหนดให้โจทก์ชำระให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา 2 ปี เป็นข้อสำคัญ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากเงื่อนเวลาดังกล่าว จะถือเอาว่าจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนเท่ากับราคาที่ซื้อขายหารด้วยระยะเวลา2 ปี หาได้ไม่ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น มิได้หมายความว่าต้องมีใบเสร็จจึงจะรับฟังเป็นหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เพื่อหลักประกันการทำงานต่างประเทศ มิใช่การจัดการสินสมรส
โจทก์มอบเงินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ โดยไม่มีการมอบเงินตามสัญญากู้การทำสัญญากู้ดังกล่าวเป็นการทำนิติกรรมเพื่อเป็นหลักประกันการที่จำเลยจะส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสของโจทก์โดยเฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรส การที่โจทก์นำสัญญากู้มาฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส