พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสุจริตในการครอบครองที่ดินและการพิพากษาคดีอาญาที่ผูกพันคดีแพ่ง
โจทก์จำเลยโต้เถียงสิทธิครอบครองที่ดินกันอยู่ การที่จำเลยเข้าไปไถปรับที่ดินก็ด้วยเชื่อโดยสุจริตว่ามีสิทธิโดยชอบ ที่จะเข้าไปทำได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกและทำให้ เสียทรัพย์ซึ่งคันนาและต้นหว้าที่อยู่ในที่ดินพิพาทที่จำเลย ทำให้เสียหาย คดีอาญาฟังไม่ได้ว่า จำเลยทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 แม้คดีส่วนแพ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40ก็ตาม และศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์แต่เมื่อการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อกฎหมายจึงต้องฟังว่าจำเลยมิได้ทำละเมิดแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808-2809/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินพิพาท, สิทธิของเจ้าหนี้, การครอบครองปรปักษ์, และการฟ้องขับไล่ที่ไม่สุจริต
แม้ว่าตามสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ที่3และจำเลยข้อ3มีว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าที่ดินให้โจทก์ที่3เป็นเวลา2เดือนถือว่าสละสิทธิและเงินที่ส่งมาถือเป็นค่าเช่าก็ตามแต่ตามทางปฏิบัติเมื่อชำระเงินมัดจำให้โจทก์ที่3จำนวน30,000บาทแล้วจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์ที่3เรื่อยมาแต่ไม่ติดต่อกันทุกเดือนและขาดส่งเกินกว่า2เดือนแล้วก็มีหลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระให้โจทก์ที่3ก็รับชำระอีกการซื้อที่ดินแปลงที่3ก็เช่นเดียวกันจำเลยได้ชำระค่าเช่าที่ดินจำนวน140,000บาทเท่านั้นแสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3และจำเลยต่างไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาในสัญญาข้อ3เป็นสาระสำคัญอีกต่อไปดังนั้นการเลิกสัญญาจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387คือโจทก์ที่3จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรหากจำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ที่3จึงจะบอกเลิกสัญญาได้แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่3ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยดังนั้นสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยและโจทก์ที่3จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์ที่3ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินและโอนการจัดสรรที่ดินให้โจทก์ที่1แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ระบุถึงจำเลยหรือผู้ซื้อที่ดินรายอื่นๆว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3ก็ดีแต่ขณะที่โจทก์ที่7ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ที่1นั้นจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยรวมทั้งสร้างอู่ซ่อมรถยนต์ในที่ดินพิพาทก่อนแล้วและโจทก์ที่1ได้เคยเสนอขอแลกห้องแถวสองห้องของตนกับที่ดินพิพาทของจำเลยอีกด้วยแสดงว่าโจทก์ที่1รู้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินและรับโอนการจัดสรรที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3ว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3อยู่ก่อนและการที่โจทก์ที่2รับโอนที่ดินที่จัดสรรแทนโจทก์ที่1ก็ถือได้ว่าโจทก์ที่2ทราบแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับโจทก์ที่3อยู่ก่อนแล้วเพราะโจทก์ที่1เป็นกรรมการของโจทก์ที่2อยู่ด้วยเมื่อโจทก์ที่1และที่2ทราบมาก่อนแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3การที่โจทก์ที่1และที่2ยังซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3เช่นนี้การรับโอนในส่วนที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตการที่โจทก์ที่2นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ที่2ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ จำเลยกับโจทก์ที่3เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญาในการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโจทก์ที่1และที่2มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยด้วยแม้โจทก์ที่1จะเป็นผู้ซื้อที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ที่3โดยโจทก์ที่2เป็นผู้รับโอนแทนโจทก์ที่1โดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ก็หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่3ตกติดไปอันจะมีผลทำให้โจทก์ที่1และที่2ต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์ที่3กับจำเลยด้วยไม่ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่2แบ่งแยกที่ดินพิพาทเพื่อโอนให้แก่จำเลยได้ จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3โดยยังชำระราคาไม่ครบถ้วนและการที่โจทก์ที่3โอนขายที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่1โดยโจทก์ที่1ให้โจทก์ที่2รับโอนแทนนั้นเป็นการโอนโดยไม่สุจริตและเป็นทางให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบคดีของจำเลยจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237แต่จำเลยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างโจทก์ที่3กับโจทก์ที่2จึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้แต่ไม่ตัดสิทธิของจำเลยที่จะนำคดีมาฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3) ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ที่3และจำเลยระบุให้จำเลยผู้ซื้อเข้าปลูกบ้านในที่ดินพิพาทได้ทันแม้ยังอยู่ระหว่างผ่อนชำระราคาก็ตามการที่จำเลยเข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่3ไม่ใช่โดยอาศัยอำนาจของตนเองการครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นปรปักษ์จนกว่าจำเลยจะบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือให้โจทก์ที่3ทราบว่าจะยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนเองเมื่อจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่3แม้จะนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของผู้ครอบครองโดยชอบธรรม vs. ผู้รับจำนองโดยสุจริต: สิทธิครอบครองที่ชอบธรรมย่อมเหนือกว่า
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ส. เมื่อ ส.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตกได้แก่ ช.มารดาของผู้ร้อง ต่อมา ช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอด ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไป การที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตาม ก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่ เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 705 จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแจ้งความเท็จ - ความเชื่อโดยสุจริต - พยานหลักฐานสนับสนุน - ยกฟ้อง
โจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าจำเลยที่2และที่5รู้อยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่1มิได้ชื่อ ป. และมิได้เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งมีชื่อ ป. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามโฉนดทั้งโฉนดที่ดินดังกล่าวมิได้สูญหายไปแล้วยังแจ้งข้อความเท็จดังกล่าวให้ ฉ. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่รับเรื่องราวคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินจดลงไว้ในบันทึกถ้อยคำในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแทน ป. จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่5เจตนาแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีค่ากระแสไฟฟ้า, ความสุจริตในการสู้คดี, และการใช้ดุลพินิจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเนื่องจากเครื่องวัดหน่วยกระแสไฟฟ้าแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าไม่ถูกต้องจึงต้องคำนวณหน่วยการใช้ไฟฟ้าใหม่โดยใช้ค่าตัวประกอบภาระไฟฟ้าในช่วงที่ใช้กระแสไฟฟ้าตามความเป็นจริงคำนวณได้เท่ากับ 0.7369 แล้วใช้ค่าตัวประกอบนี้เป็นฐานในการหาหน่วยกระแสไฟฟ้าที่ใช้ไปแต่ละเดือนคำฟ้องส่วนนี้แม้จะใช้ศัพท์ทางเทคนิคแต่เป็นการบรรยายวิธีคำนวณตามหลักวิชาการไม่ถือว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าของจำเลยที่1หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าแล้วจำเลยที่ 3 ยอมชำระแทนทันทีไม่มีข้อโต้แย้งถึงแม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับใดแต่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันเองย่อมจะตรวจสอบสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับและให้การต่อสู้คดีได้อยู่แล้วคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาครบถ้วนแล้วไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระค่ากระแสไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 รวม 3 ฉบับฉบับที่ 1 ค้ำประกันวงเงินไม่เกิน 260,000 บาทมีผลตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2530 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 ฉบับที่ 2 ขยายเวลาอีก 1 ปีไปจนถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 และฉบับที่ 3 วงเงินไม่เกิน 400,000 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2532 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 แม้หนังสือสัญญาสองฉบับหลังจะสิ้นสุดในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532พร้อมกันแต่ออกจากธนาคารเดียวกันข้อความฉบับที่ 3 ระบุว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าแทนในจำนวนไม่เกิน 400,000 บาทอันเป็นการจำกัดวงเงินที่ต้องรับผิดไว้ไม่มีข้อความตกลงยอมรับผิดในวงเงินเพิ่มขึ้นจากฉบับอื่นอีกจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในต้นเงินเพียง 400,000 บาท เท่านั้น โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภคโจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 (1) เดิม แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดเพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าบกพร่องไปมิใช่ฟ้องเรียกหนี้อันเกิดจากละเมิดจึงฟ้องร้องได้ภายใน 10 ปี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงเมื่อโจทก์ชนะคดีบางข้อและแพ้คดีบางข้อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับแก่ทุกฝ่ายจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: จำเลยที่ 2 มีเจตนาและครอบครองรถที่ถูกขโมย ส่วนจำเลยที่ 1 ซื้อโดยสุจริตและไม่มีส่วนรู้เห็น
จำเลยที่2ครอบครองรถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปแล้วนำไปขายให้จำเลยที่1แต่จำเลยที่2กลับปฏิเสธว่าไม่ได้ขายโดยไม่ยอมเปิดเผยความจริงว่าจำเลยที่2ได้รถยนต์คันดังกล่าวมาด้วยวิธีใดเป็นการผิดปกติวิสัยทั้งไม่มีหลักฐานเอกสารใดๆในการได้รถยนต์นั้นมาเชื่อว่าจำเลยที่2ได้รถยนต์มาโดยรู้ว่าถูกคนร้ายลักมาจึงมีความผิดฐานรับของโจรส่วนจำเลยที่1นั้นซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่2ตามราคาท้องตลาดและได้แสดงความบริสุทธิ์ตั้งแต่แรกโดยแจ้งความจริงแก่จ่าสิบตำรวจ จ.ในทันทีที่เข้าสอบถามอีกทั้งยังใช้รถอย่างเปิดเผยโดยไม่ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพรถเชื่อว่าจำเลยที่1ไม่รู้ว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาส่วนที่จำเลยที่1ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกเอาเอกสารหลักฐานใดๆจากจำเลยที่2จนกระทั่งถูกจับคงเป็นเพราะเชื่อถือจำเลยที่2ซึ่งเป็นคู่เขยว่าเมื่อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่2ก็จะโอนทะเบียนรถให้รวมทั้งจำเลยที่2จะต่อทะเบียนรถประจำปีให้ด้วยไม่พอถือเป็นข้อพิรุธจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานรับของโจรแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1กระทำความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่2ซึ่งฎีกาศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ แม้ผู้รับโอนจะสุจริตและมีค่าตอบแทน
การที่ลูกหนี้ที่1ได้ทำนิติกรรมขายที่ดินและบ้านพิพาทให้ผู้คัดค้านที่1โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา24จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113(มาตรา150ใหม่) การที่ผู้รับโอนจะพิสูจน์แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนอันจะทำให้ไม่ถูกศาลสั่งให้เพิกถอนการโอนได้ก็ต่อเมื่อการโอนได้กระทำในระหว่างระยะเวลา3ปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นซึ่งคำว่า"ภายหลังนั้น"หมายถึงภายหลังจากการขอให้ล้มละลายแล้วจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นแต่ถ้าการโอนได้กระทำลงภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้นั้นคดีก็ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา24หาใช่บังคับตามมาตรา114ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ แม้ผู้รับจำนองจะสุจริต
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ฯลฯ ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 2 จึงหมดอำนาจที่จะจัดการหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจจดทะเบียนจำนองที่ดินแก่ผู้คัดค้านในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การจดทะเบียนจำนองจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22และมาตรา 24 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 แก่ผู้คัดค้านจึงเสียเปล่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันคู่กรณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2ในเวลาที่ยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและผู้คัดค้านไม่ทราบว่า ก.คือ ร. จำเลยที่ 2 ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามประกาศดังกล่าว ผู้คัดค้านก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าวได้
เมื่อการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นโมฆะจึงเป็นความเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก ไม่มีผลใด ๆ เกิดขึ้นตามกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 จำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่ามีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้ จึงไม่มีกรณีที่จะให้ผู้คัดค้านได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้ผู้คัดค้านได้รับการชดใช้หนี้เงินกู้และหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องในฐานลาภมิควรได้ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการจำนองที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2ในเวลาที่ยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและผู้คัดค้านไม่ทราบว่า ก.คือ ร. จำเลยที่ 2 ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามประกาศดังกล่าว ผู้คัดค้านก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าวได้
เมื่อการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นโมฆะจึงเป็นความเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก ไม่มีผลใด ๆ เกิดขึ้นตามกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 จำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่ามีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้ จึงไม่มีกรณีที่จะให้ผู้คัดค้านได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้ผู้คัดค้านได้รับการชดใช้หนี้เงินกู้และหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องในฐานลาภมิควรได้ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการจำนองที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8177/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยสุจริตคัดค้านการรังวัด และอำนาจฟ้องของผู้ที่จะซื้อที่ดิน
ร่องน้ำระหว่างที่ดินของจำเลยและโจทก์ที่ 1 เป็นร่องสวนเดิมที่ขุดขึ้นเพื่อนำน้ำจากคลองสาธารณะเข้ามาใช้ทำสวน ซึ่งมิใช่ลำรางหรือลำกระโดงสาธารณะ แต่สภาพที่ดินพิพาทเป็นร่องสวนที่มีมานานหลายสิบปีน่าจะเป็นร่องน้ำสาธารณ-ประโยชน์ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียง และจากการที่จำเลยได้ตรวจสอบหลักเขตที่ดินเขตติดต่อกันแต่หลักเขตต่างกัน ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินยังแจ้งว่าหลักทั้งสองห่างกัน 3.16 เมตร ย่อมทำให้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเข้าใจว่าระหว่างที่ดินทั้งสองแปลงมีช่องว่างอยู่ และได้คัดค้านการรังวัดแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ดังนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตน มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์อันเนื่องมาจากการคัดค้านดังกล่าว
แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์ที่ 1 ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ทำการรังวัด แต่โจทก์ที่ 2 ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในฐานที่จำเลยทั้งสี่ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย มิได้ฟ้องคดีโดยอาศัยการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ก่อละเมิดให้ตนต้องได้รับความเสียหายได้ หาจำเป็นจะต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยทั้งสี่มาก่อนไม่ โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 หากจำเลยไม่จัดการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ดำเนินคดีต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานที่ดินกำหนด เจ้าพนักงานที่ดินจึงยกเลิกการรังวัดที่ดินไป กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานที่ดินจะต้องมีการดำเนินการต่อไปภายหลังมีคำพิพากษาของศาล ดังนี้คำคัดค้านนั้นย่อมสิ้นสุดไปด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจจะมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ที่ 1 ขอได้
แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์ที่ 1 ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ทำการรังวัด แต่โจทก์ที่ 2 ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในฐานที่จำเลยทั้งสี่ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย มิได้ฟ้องคดีโดยอาศัยการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ก่อละเมิดให้ตนต้องได้รับความเสียหายได้ หาจำเป็นจะต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยทั้งสี่มาก่อนไม่ โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 หากจำเลยไม่จัดการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ดำเนินคดีต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานที่ดินกำหนด เจ้าพนักงานที่ดินจึงยกเลิกการรังวัดที่ดินไป กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานที่ดินจะต้องมีการดำเนินการต่อไปภายหลังมีคำพิพากษาของศาล ดังนี้คำคัดค้านนั้นย่อมสิ้นสุดไปด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจจะมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ที่ 1 ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8177/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่องสวนติดที่ดินพิพาทเป็นร่องสวนเดิม ไม่ใช่ลำรางสาธารณะ จำเลยคัดค้านรังวัดโดยสุจริต ไม่ต้องรับผิด
ร่องน้ำระหว่างที่ดินของจำเลยและโจทก์ที่ 1 เป็นร่องสวนเดิมที่ขุดขึ้นเพื่อนำน้ำจากคลองสาธารณะเข้ามาใช้ทำสวน ซึ่งมิใช่ลำรางหรือลำกระโดงสาธารณะ แต่สภาพที่ดินพิพาทเป็นร่องสวนที่มีมานานหลายสิบปีน่าจะเป็นร่องน้ำสาธารณะประโยชน์ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียง และจากการที่จำเลยได้ตรวจสอบหลักเขตที่ดินเขตติดต่อกันแต่หลักเขตต่างกัน ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินยังแจ้งว่าหลักทั้งสองห่างกัน 3.16 เมตร ย่อมทำให้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมเข้าใจว่าระหว่างที่ดินทั้งสองแปลงมีช่องว่างอยู่ และได้ตัดค้านการรังวัดแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ดังนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตน มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์อันเนื่องมาจากการคัดค้านดังกล่าว แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นเพียงผู้ซื้อที่ดินจากโจทก์ที่ 1ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ทำการรังวัด แต่โจทก์ที่ 2ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในฐานที่จำเลยทั้งสี่ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย มิได้ฟ้องคดีโดยอาศัยการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้โจทก์ที่ 2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ก่อละเมิดให้ตนต้องได้รับความเสียหายได้ หาจำเป็นจะต้อง มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยทั้งสี่มาก่อนไม่ โจทก์ที่ 2จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 หากจำเลยไม่จัดการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ดำเนินคดีต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานที่ดินกำหนด เจ้าพนักงานที่ดินจึงยกเลิกการรังวัดที่ดินไป กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานที่ดินจะต้องมีการดำเนินการต่อไปภายหลังมีคำพิพากษาของศาล ดังนี้คำคัดค้านนั้นย่อมสิ้นสุดไปด้วยศาลฎีกาจึงไม่อาจจะมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ที่ 1 ขอได้