พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องขอให้งดบังคับคดี: ผู้ร้องต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีบังคับคดีนั้น
โจทก์นำยึดที่ดินมีโฉนดของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องได้ฟ้องจำเลยขอให้โอนขายกรรมสิทธิ์ที่ 2 แปลงนั้นตามสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าที่ดินที่ยังเหลืออยู่ไป ขอให้สั่งงดการขายทอดตลาดไว้จนกว่าคดีที่ผู้ร้องได้ฟ้องนั้นจะถึงที่สุด ดังนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิมาร้องขอเช่นนั้นได้ เพราะมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีที่โจทก์นำยึดนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีส่วนได้เสียในการร้องสอดคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ต้องเป็นส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) นั้น ผู้ร้องสอดขอเข้ามาในคดีได้ต่อเมื่อตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนด้วยจึงจะร้องสอดได้มิใช่ว่าเข้าไปเซ็นสัญญากับคนในคดีได้ตามใจชอบแล้วอ้างว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี
(ประชุมใหญ่ ครั้ง 41/2504)
(ประชุมใหญ่ ครั้ง 41/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดี: ส่วนได้เสียตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)นั้นผู้ร้องสอดขอเข้ามาในคดีได้ต่อเมื่อตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนด้วยจึงจะร้องสอดได้ มิใช่ว่าเข้าไปเซ็นสัญญากับคนในคดีได้ตามใจชอบแล้ว อ้างว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก แม้เคยมีคดีความมาก่อน
เมื่อผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก มีผู้คัดค้านว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมฉบับหลังยกทรัพย์มรดกให้ผู้คัดค้านแล้วและอ้างเหตุอื่นอีกหลายประการว่าผู้ร้องไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก
เช่นนี้ถือว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงมีสิทธิที่จะร้องคัดค้านได้ จึงให้ดำเนินคดีไปดังคดีมีข้อพิพาท.
เช่นนี้ถือว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงมีสิทธิที่จะร้องคัดค้านได้ จึงให้ดำเนินคดีไปดังคดีมีข้อพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านการจัดการมรดกของผู้รับพินัยกรรม และการมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
เมื่อผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกมีผู้คัดค้านว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมฉบับหลังยกทรัพย์มรดกให้ผู้คัดค้านแล้วและอ้างเหตุอื่นอีกหลายประการว่าผู้ร้องไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก
เช่นนี้ถือว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงมีสิทธิที่จะร้องคัดค้านได้จึงให้ดำเนินคดีไปดังคดีมีข้อพิพาท
เช่นนี้ถือว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงมีสิทธิที่จะร้องคัดค้านได้จึงให้ดำเนินคดีไปดังคดีมีข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิร่วมในที่ดิน: สันนิษฐานว่ามีส่วนได้เสีย, จำเลยมีหน้าที่พิสูจน์หักล้าง
โจทก์ฟ้องว่า มีกรรมสิทธิในที่ดินร่วมกับจำเลย จำเลยสู้คดีว่าจำเลยเป็นผู้ออกเงินซื้อที่รายนี้แล้วลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิด้วยเพื่อลวงมิให้ญาติอื่นมาแย่งมรดก ดังนี้ในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าโจทก์มีกรรมสิทธิอยู่ด้วยส่วนหนึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินบ้านเรือนมีคำขอให้ใช้ราคามาด้วยเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จำเลยก็ขอให้ใช้ราคาแทนแบ่งเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจพิพากษาให้แบ่งโดยวิธีให้จำเลยใช้เงินราคาก็ได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินบ้านเรือนมีคำขอให้ใช้ราคามาด้วยเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จำเลยก็ขอให้ใช้ราคาแทนแบ่งเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจพิพากษาให้แบ่งโดยวิธีให้จำเลยใช้เงินราคาก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวมและการสันนิษฐานเรื่องการครอบครองที่ดิน ศาลวินิจฉัยตามส่วนได้เสียจริง
ป.พ.พ.ม.1357 เป็นเรื่องของความสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้นคู่กรณีย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างความสันนิษฐานทั้งนี้เสียได้ความว่าความจริงเป็นอย่างไร
โจทย์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยตามส่วนที่มีชื่อในโฉนด เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินมีส่วนไม่เท่ากันมาแต่เดิมและต่างครอบครองเป็นส่วนสัดแต่แรกก่อนออกโฉนดสืบตลอดมาดังนี้ ก็ต้องแบ่งที่ดินตามส่วนที่ผู้ใดเป็นเจ้าของอันแท้จริง เพราะเป็นเรื่องกรรมสิทธิรวมหาใช่เรื่องครอบครองโดยปรปักษ์ไม่
โจทย์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยตามส่วนที่มีชื่อในโฉนด เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินมีส่วนไม่เท่ากันมาแต่เดิมและต่างครอบครองเป็นส่วนสัดแต่แรกก่อนออกโฉนดสืบตลอดมาดังนี้ ก็ต้องแบ่งที่ดินตามส่วนที่ผู้ใดเป็นเจ้าของอันแท้จริง เพราะเป็นเรื่องกรรมสิทธิรวมหาใช่เรื่องครอบครองโดยปรปักษ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายดูแลที่ดินมรดก: สิทธิการแบ่งมรดกเป็นไปตามส่วนได้เสียของผู้มอบหมาย
ทายาทคนหนึ่งมอบหมายให้ทายาทอีกคนหนึ่งดูแลที่ดินอันเป็นมรดกยังมิได้แบ่งกันไว้แทนตนซึ่งในขณะนั้นทราบดีแล้วว่ามีทายาทที่มีสิทธิรับมรดกรายนี้รวมถึง 5 คน สิทธิของทายาทผู้มอบหมายจึงมีอยู่แต่เพียง 1 ใน 5 ส่วน ฉะนั้นการที่มอบให้เขาดูแลแทน จึงเป็นมอบให้ดูแลแทนเพียง 1 ใน 5 ส่วนตามที่ตนมีสิทธิเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวม สันนิษฐานเท่ากัน แต่พิสูจน์ส่วนได้เสียต่างกันได้ การรับโอนรู้ส่วนได้เสียไม่สุจริต
ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1357 เป็นแต่เพียงความสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้นว่า ผู้เป็นเจ้าของร่วมมีส่วนเท่ากันแต่ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันย่อมนำสืบได้ว่า มีส่วนมากน้อยกว่ากันได้ ฉะนั้นผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกันย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แสดงว่าใครมีส่วนเป็นเจ้าของมากน้อยเพียงใดได้
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของคนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น เพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายมีกรรมสิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ดังที่มีชื่อในโฉนดเพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของคนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น เพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายมีกรรมสิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ดังที่มีชื่อในโฉนดเพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของร่วม: การพิสูจน์ส่วนได้เสียและผลของการรับโอนโดยไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 เป็นแต่เพียงความสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้นว่า ผู้เป็นเจ้าของร่วมมีส่วนเท่ากันแต่ผู้เป็นเจ้าของร่วมกัน ย่อมนำสืบได้ว่า มีส่วนมากน้อยกว่ากันได้ ฉะนั้นผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกันย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แสดงว่าใครมีส่วนเป็นเจ้าของมากน้อยเพียงใดได้
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของตนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ไม่ถึงครึ่งหนึ่งดังที่มีชื่อในโฉนด เพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของตนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ไม่ถึงครึ่งหนึ่งดังที่มีชื่อในโฉนด เพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต