คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4898/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การบอกเลิกสัญญาและอายุความของหนี้
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมีว่า ถ้าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็ค โดยปกติธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายให้ไป ผู้ฝากย่อมเป็นอันยอมรับผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้ธนาคารเสมือนหนึ่งได้ขอร้องเปิดเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคาร ในกรณีที่เงินในบัญชีเงินฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คหลายฉบับที่นำมาเรียกเก็บพร้อม ๆ กัน ธนาคารทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะจ่ายเงินตามเช็คฉบับใดก็ได้ และธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ย เงินเกินบัญชีเป็นรายวัน (ดอกเบี้ยทบต้น) และจะนำผลดอกเบี้ยนั้นหักบัญชีเป็นรายเดือน ข้อตกลงนี้จะใช้ในทุกกรณี เห็นได้ว่ามีการตกลงกันซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลย
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ขณะโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและ เบิกเงินเกินบัญชีอยู่เรื่อย ๆ โดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้ง และยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนี้เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้วบัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัด โดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์อีกเลย จนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม กรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับ
การชำระหนี้ตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ เมื่อไม่ปรากฏว่าการเบิกเงินเกินบัญชีได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าในวันที่ 30 มีนาคม 2530 อันเป็นวันหักทอนบัญชี จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ 67,711.90 บาท โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย ฝ่ายจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และ ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยนับแต่วันหักทอนบัญชีกันแล้วเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม 2530 สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันแล้วและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2539 จึงยังไม่ถึง 10 ปี นับแต่วันหักทอนบัญชีกัน ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันบัญชีเดินสะพัดยังผูกพัน แม้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันแล้ว หากยังมิได้ชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดย สิ้นเชิงจะครบกำหนดวันที่ 2 เมษายน 2534 แม้จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันในวันดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่า มีการหักทอนบัญชีและชำระหนี้คงเหลือให้เสร็จสิ้นไป ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีผล ดังนั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังมีผลผูกพันกันอยู่และกลายเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 อยู่ตราบใด จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้บัตรเครดิต: การคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหากไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด
แม้ข้อตกลงในการใช้บัตรหลักและบัตรเสริมจะให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้โดยหักจากบัญชีออมทรัพย์และบัญชีกระแสรายวันที่เปิดไว้เพื่อการนี้ การที่จำเลยขอใช้บัตรเครดิตของธนาคารโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ แทนเงินสดเป็นสำคัญโดยให้โจทก์ออกเงินชำระแทนไปก่อน บัญชีที่เปิดไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หักเงินไปชำระหนี้หาใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างกันอย่างบัญชีเดินสะพัดไม่ เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ด้วย รวมทั้งไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็คแม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตจะมีข้อความตกลงให้บัญชีดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดก็เป็นเพียงความเข้าใจและเป็นไปตามรูปแบบของสัญญาสำเร็จรูปของโจทก์ ไม่เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น เมื่อคำให้การเดิมจำเลยมิได้ยืนยันให้การต่อสู้คดีในเรื่องมีการฉ้อฉลทำรายการเพิ่มเติมในใบแจ้งหนี้ของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่ามีการฉ้อฉลทำรายการเพิ่มเติมในใบแจ้งหนี้ของโจทก์โดยไม่สุจริต จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยไม่ได้ยกเหตุว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมไว้ต่อศาลว่าคดีขาดอายุความ ก็ไม่ทำให้เกิดประเด็นขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ข้อจำกัดเรื่องดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นภายหลัง
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย)ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้(จำเลย)มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้(จำเลย)นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย)เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้(จำเลย)ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้(จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้ที่มีอยู่ ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ปัญหาว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดก่อนแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย)ได้ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้ที่มีอยู่ ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ เป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้ สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้หรือไม่ จะต้อง พิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้ง ดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย) ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้น ภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมา หักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัตรเครดิตกับบัญชีเดินสะพัด: ลักษณะสัญญาที่แท้จริง
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองฉบับพิพาท โจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ชำระเงินแทนจำเลยไป จำเลยยอมให้โจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักทอนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลย และยินยอมให้ถือเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันนั้นต่างมุ่งที่จะผูกพันตามบัตรเครดิตเป็นสำคัญ โดยโจทก์จะอนุมัติต่อเมื่อจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อเดินสะพัดกับโจทก์ แต่การที่โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ได้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันเพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงมิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันขึ้นเพื่อหักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่ในกิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นหักกลบลบกัน แล้วคงชำระส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาคอันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด หนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ตามบัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองจึงไม่ใช่หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้บัตรเครดิตกับสัญญาบัญชีเดินสะพัด: การพิจารณาความสัมพันธ์ของนิติสัมพันธ์และลักษณะของสัญญา
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองฉบับพิพาทโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ชำระเงินแทนจำเลยไปจำเลยยอมให้โจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักทอนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลย และยินยอมให้ถือเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่โจทก์ และ จำเลยปฏิบัติต่อกันนั้นต่างมุ่งที่จะผูกพันตามบัตรเครดิตเป็นสำคัญ โดยโจทก์จะอนุมัติต่อเมื่อจำเลยได้ทำคำขอเปิด บัญชีกระแสรายวันเพื่อเดินสะพัดกับโจทก์ แต่การที่โจทก์ ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ได้มีการใช้เช็ค เบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวัน เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลย ฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงมิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชี กระแสรายวันขึ้นเพื่อหักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่ในกิจการ ในระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นหักกลบลบกัน แล้วคงชำระส่วนที่เป็น จำนวนคงเหลือโดยดุล ภาคอันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด หนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ตามบัตรเครดิตวีซ่าชฎาทอง จึงไม่ใช่หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนจำนองโดยบุคคลที่สามเพื่อรักษาทรัพย์สิน ไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้
จำเลยและสามีถูกธนาคารผู้รับจำนองฟ้องให้ร่วมรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยและธนาคารได้ขอบังคับจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยนำไปจำนองไว้เป็นประกันการกู้ยืม แม้ธนาคารผู้รับจำนองจะฟ้องคดีหลังจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่หนี้ที่จำเลยมีอยู่ต่อธนาคารเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นหนี้ที่มิได้เกิดจากการสมยอมระหว่างจำเลยกับธนาคาร การที่จำเลยตกลงยินยอมให้ พ.เป็นผู้ชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินต่อธนาคารแทนจำเลยและรับโอนที่ดินไป โดยมีข้อตกลงให้จำเลยซื้อที่ดินจาก พ.คืนกลับไปได้ โดย พ.ต้องชำระเงินต้นกับดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมภาษีและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แก่ธนาคารผู้รับจำนอง จึงเป็นกรณีที่จำเลยต้องกระทำเพื่อมิให้ธนาคารเจ้าหนี้ผู้รับจำนองบังคับจำนองแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยถือไม่ได้ว่าจำเลยโอนขายทรัพย์สินของตนไปโดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาและการรับผิดในหนี้เช่าซื้อเมื่อเช็คปฏิเสธการจ่าย
หนังสือสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อภายในกำหนดตามสัญญา และได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้นำเงินที่ค้างมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถามแล้ว ผู้เช่าซื้อยังเพิกเฉยไม่นำเงินที่ค้างชำระทั้งหมดมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อ ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อนี้เป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป ดังนั้น แม้เช็คที่จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อไว้ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกงวดอันถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์ก็มิได้มีหนังสือทวงถามให้นำเงินที่ค้างชำระมาชำระ ทั้งยังคงปล่อยให้จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซื้อต่อไป แสดงว่าโจทก์ยังคงให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญาเพราะสัญญาข้อ 7 ได้กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว หาได้มีผลเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อด้วยดังจำเลยอ้างไม่ เพราะหากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อประสงค์จะเลิกสัญญา ย่อมทำได้โดยง่ายด้วยการส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 573 กำหนดให้เป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อจำเลยยังคงครอบครองรถขุดที่เช่าซื้ออยู่ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ สำหรับเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนที่โจทก์จะยึดรถกลับคืนมา อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน
เมื่อเช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายตามมูลหนี้ค่าเช่าซื้อ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
of 145