พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพื่อพิสูจน์การไม่มีหนี้สินและการเรียกคืนเอกสารหลักประกันหลังชำระหนี้
แม้โจทก์ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากจำเลยทั้งสอง แต่ความจริงหนี้สินดังกล่าวได้ระงับไปแล้วตามเหตุผลในรายละเอียดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ชอบที่จะหยิบยกเป็นข้อต่อสู้หากจะถูกจำเลยฟ้องเป็นคดีขึ้นในอนาคต มิใช่ด่วนมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีหนี้สินใด ๆ ต่อกัน กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันจะถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิในทางศาล
ส่วนข้อที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเอกสาร น.ส.3 ก. นั้น โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่า จำเลยได้ ยึด น.ส.3 ก. ของโจทก์ไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้คืน น.ส.3 ก. ให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอา น.ส.3 ก. ของโจทก์คืน โดยอ้างว่าโจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจยึด น.ส.3 ก. ของโจทก์ไว้ต่อไป ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว
ส่วนข้อที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเอกสาร น.ส.3 ก. นั้น โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่า จำเลยได้ ยึด น.ส.3 ก. ของโจทก์ไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้คืน น.ส.3 ก. ให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอา น.ส.3 ก. ของโจทก์คืน โดยอ้างว่าโจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจยึด น.ส.3 ก. ของโจทก์ไว้ต่อไป ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพื่อแสดงว่าไม่มีหนี้สินและการเรียกคืนเอกสารหลักประกันหลังชำระหนี้แล้ว
แม้โจทก์ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองแต่ความจริงหนี้สินดังกล่าวได้ระงับไปแล้วตามเหตุผลในรายละเอียดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ชอบที่จะหยิบยกเป็นข้อต่อสู้หากจะถูกจำเลยฟ้องเป็นคดีขึ้นในอนาคต มิใช่ด่วนมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีหนี้สินใด ๆ ต่อกัน กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันจะถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิในทางศาล ส่วนข้อที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเอกสาร น.ส.3ก. นั้นโจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่า จำเลยได้ยึด น.ส.3ก. ของโจทก์ไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ได้คืน น.ส.3ก. ให้แก่โจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอา น.ส.3ก. ของโจทก์คืน โดยอ้างว่าโจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจยึด น.ส.3ก.ของโจทก์ไว้ต่อไป ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ก่อนล้มละลาย และการคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ลูกหนี้ชำระค่าภาษีและอากรแสตมป์ตามข้อตกลงผ่อนผันของกรมสรรพากรในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยกรมสรรพากรรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้นั้น เป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริต แม้การตกลงชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
เมื่อศาลสั่งเพิกถอน ก็เท่ากับการรับชำระหนี้ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้กรมสรรพากรต้องคืนเงินที่รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ แต่เป็นการคืนโดยผลของคำพิพากษา กรมสรรพากรจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.(ที่มา-ส่งเสริม)
เมื่อศาลสั่งเพิกถอน ก็เท่ากับการรับชำระหนี้ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้กรมสรรพากรต้องคืนเงินที่รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ แต่เป็นการคืนโดยผลของคำพิพากษา กรมสรรพากรจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้, อายุความ 10 ปี, การเป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์ยอมชำระหนี้แทนมารดาจำเลยโดยในวันทำบันทึกจำเลยได้มอบทั้งเงินสดและ เช็คชำระหนี้ให้โจทก์ ดังนี้บันทึกดังกล่าวเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากมารดาจำเลยเป็นจำเลย การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ตกลงที่จะชำระหนี้ให้โจทก์แทนมารดาจำเลยพร้อมทั้งแนบภาพถ่ายบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย โดยจำเลยได้ออกเช็ครวม 5 ฉบับชำระหนี้ให้โจทก์ ดังนี้ถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในฐานะโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คแต่เป็นการบรรยายถึงมูลหนี้เดิมว่ามีความเป็นมา อย่างไรอันเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ตกลงที่จะชำระหนี้ให้โจทก์แทนมารดาจำเลยพร้อมทั้งแนบภาพถ่ายบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย โดยจำเลยได้ออกเช็ครวม 5 ฉบับชำระหนี้ให้โจทก์ ดังนี้ถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในฐานะโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คแต่เป็นการบรรยายถึงมูลหนี้เดิมว่ามีความเป็นมา อย่างไรอันเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย: การสืบสิทธิในหนี้และขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ให้รับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้รับมรดกผู้ตายไม่มีทรัพย์ตกทอดแก่ทายาทและจำเลยไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อเป็นเหตุตัดอำนาจฟ้องของโจทก์หาได้ไม่เพราะข้ออ้างดังกล่าวหากเป็นความจริงก็เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี ทั้งทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดเมื่อศาลจำหน่ายคดีล้มละลาย แม้หนี้สินจะยังคงอยู่
ในคดีล้มละลายเรื่องก่อนซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง และเรียกผู้รับมอบอำนาจผู้ร้องมาทำการสอบสวนแล้ว ขณะคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีล้มละลายเรื่องก่อน ดังนี้ อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีก่อนย่อมหมดไป กระบวนพิจารณาล้มละลายที่ดำเนินไปแล้วซึ่งมีผลเฉพาะคดีนั้นเป็นอันยุติ แม้จะเป็นมูลหนี้รายเดียวกันหรือผู้ที่จะต้องรับผิดเป็นบุคคลคนเดียวกัน ก็ไม่อาจนำกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปแล้วนั้นมาใช้กับคดีนี้หรือคดีอื่นได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ที่ค้างชำระโดยไม่ได้แจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้ ไม่ให้โอกาสผู้ร้องปฏิเสธหนี้ และไม่มีการสอบสวนโดยถือเอากระบวนพิจารณาที่กระทำไปแล้วในคดีก่อนมาเป็นกระบวนพิพากษาคดีนี้ หนังสือยืนยันหนี้ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจสั่งพิทักษ์ทรัพย์เมื่อมีเหตุล้มละลาย แม้โจทก์มิได้ขอโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อทางพิจารณาปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอันควรตกเป็นบุคคลล้มละลายดังกล่าว ศาลต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลดำเนินไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติหาใช่เป็นเรื่องที่ศาลมีคำสั่งนอกเหนือเกินเลยไปจากคำขอตามฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ค้ำประกันหรือไม่ แม้สัญญาระบุถึงหนี้สินต่าง ๆ ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้
ก. ผู้เป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยได้กู้เงินจำเลยโดยโจทก์ผู้เป็นสมาชิกอีกผู้หนึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจำเลยโดยจำนองที่ดินไว้แก่จำเลยสัญญาจำนองมีข้อความว่า เพื่อประกันเงินซึ่งโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ในขณะทำสัญญาหรือในเวลาหนึ่งเวลาใดต่อไปภายหน้า กับทั้งหนี้สินต่าง ๆ ซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดไม่ว่าในฐานะใด ๆ ต่อจำเลย ดังนี้ สัญญาจำนองย่อมครอบคลุมถึงหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวด้วย แม้โจทก์จะชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, การมอบอำนาจ, การพิสูจน์หนี้สิน, ผู้ทรงเช็คพิพาท, ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7 ฟ้องคดีล้มละลายโจทก์ที่ 7 ในฐานะตัวแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 จึงไม่มีอำนาจมอบให้โจทก์ที่ 10 ฟ้องคดีล้มละลายได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้อุทธรณ์คดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 กับจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยจำเลยผู้สั่งจ่ายนำไปแลกเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คหลายครั้งจำเลยเพิกเฉย แจ้งว่าไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดและเข้าหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดก: อำนาจฟ้องล้มละลาย
โจทก์นำหนี้ของผู้ตายมาฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทให้ล้มละลาย หนี้ดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแม้จำเลยทั้งสามจะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ซึ่งจะต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายที่โดยสภาพไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ด้วยก็ตาม ก็ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่จะตกได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 และตามคำฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นทายาทของผู้ตาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนได้รับมรดกไว้เป็นจำนวนเท่าใด เพียงพอที่จะชำระหนี้แทนผู้ตายหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้